สระไทย เปลี่ยนแล้วค่ะ


 

"สระไทย"  เปลี่ยนแล้วค่ะ..

             จากเดิม    มี  ๒๑  รูป  ๓๒  เสียง

    ปัจจุบันเปลี่ยน เป็น  ๓๖  รูป  ๒๑  เสียง

ของจริงค่ะ..มีหลักฐานยืนยันแน่นอน

 

       จากการทดสอบความรู้ของครูผู้สอนภาษาไทย ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถาบันภาษาไทย  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้เสนอแบบทดสอบความรู้เรื่องหลักเกณฑ์ภาษาไทย   มีอยู่หนึ่งข้อที่คุณครูภาษาไทยก็ยังไม่ทราบ  เป็นที่ถกเถียงกันพอสมควร    จึงขอนำมาบอกกล่าวแบ่งปันเพื่อนบ้านภาษาไทยค่ะ.. 

 

สระในภาษาไทย ในปัจจุบัน 

                    มีการแบ่งรูปและเสียง  ได้ ๒ ลักษณะ  คือ                               

     ๑.หนังสือหลักภาษาไทย ของพระยาอุปกิตศิลปสาร    กำหนดว่าสระในภาษาไทย มี ๒๑ รูป  ได้แก่ 

  • อ ตัวออ

  • ย ตัวยอ

  • ว ตัววอ

  • ฤ ตัวรึ

  • ฤๅ ตัวรือ

  • ฦ ตัวลึ

  • ฦๅ ตัวลือ  

      หากนำมาประกอบกันจะเกิดสระใหม่ได้  เช่น เ- เมื่อนำมาประสมกับรูปสระ -ะ  จะกลายเป็นสระ เ-ะ  เป็นต้น

    เสียงสระ    ในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง ได้แก่สระเดี่ยว ๑๘ เสียง สระประสม ๖ เสียงและสระเกิน ๘ เสียง  ได้แก่

    สระเดี่ยว      คือ สระเสียงสั้นและเสียงยาวคู่กัน  ๙ คู่  ๑๘ เสียง ได้แก่

  • อะ     คู่กับ   อา    
  • อิ      คู่กับ    อี
  • อุ      คู่กับ    อู
  • เอะ    คู่กับ   เอ
  • โอะ   คู่กับ   โอ
  • เออะ  คู่กับ   เออ
  • เอาะ  คู่กับ   ออ
  • อึ      คู่กับ   อือ   

    สระประสม      คือ  สระเดี่ยวประสมกัน  ๖  เสียง  ได้แก่

  • สระอุ    กับ   สระอู        เป็น   สระอัวะ  
  • สระอิ    กับ   สระอะ      เป็น    สระเอียะ
  • สระอึ    กับ   สระอะ      เป็น    สระเอือะ
  • สระอู    กับ   สระอา      เป็น    สระอัว
  • สระอี    กับ   สระอา      เป็น    สระเอีย
  • สระอือ  กับ   สระอา      เป็น    สระเอือ

     สระเกิน     ได้แก่  -ำ  ใ- ไ- เ-า  เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะรวมอยู่ด้วย (เสียง ม ย ว)

ส่วน ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ   มีเสียง  ร  ล  นำหน้าเสียงสระ  เราจึงเรียกรูปสะดังกล่าวว่า "สระเกิน

 

    ๒.หนังสือบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ (กรมวิชาการ : ๒๕๔๕)   พิจารณาจากรูปสระที่ปรากฏในการใช้ในคำ  ประโยค หรือ ข้อความ  จึงทำให้มีรูปสระที่ใช้แทนเสียง มีจำนวน  ๓๖   รูป  ได้แก่ 

  • ๑.       -      เรียกว่า ไม้ไต่คู้                 ๑๙.    โ-ะ     เรียกว่า สระ โอะ 
  • ๒.      -ะ       เรียกว่า สระ อะ                 ๒๐.    โ-       เรียกว่า สระ โอ          
  • ๓.      -       เรียกว่า ไม้หันอากาศ         ๒๑.    เ-าะ    เรียกว่า สระ เอาะ
  • ๔.      -า       เรียกว่า สระ อา                ๒๒.    -อ      เรียกว่า สระ ออ
  • ๕.      -ำ       เรียกว่า สระ อำ                ๒๓.    -็อ      เรียกว่า สระ  ออ กับไม้ไต่คู้
  • ๖.       -ิ        เรียกว่า สระ อิ                 ๒๔.    เ-อะ    เรียกว่า สระ เออะ
  • ๗.      -ี        เรียกว่า สระ อี                 ๒๕.    เ-อ     เรียกว่า สระ เออ
  • ๘.      -ึ        เรียกว่า สระ อึ                 ๒๖.    เ-ิ       เรียกว่า สระ เออ
  • ๙.      -ื        เรียกว่า สระ อือ               ๒๗.    เ-ียะ    เรียกว่า สระเอียะ
  • ๑๐.     -ือ      เรียกว่า สระ อือ - ออ       ๒๘.    เ-ีย      เรียกว่า สระ เอีย
  • ๑๑.     -ุ        เรียกว่า สระ อุ                ๒๙.    เ-ือะ    เรียกว่า สระ เอือะ
  • ๑๒.    -ู        เรียกว่า สระ อู                 ๓๐.    เ-ือ     เรียกว่า สระ เอือ
  • ๑๓.    เ-ะ      เรียกว่า สระ เอะ              ๓๑.    -วะ     เรียกว่า สระ อัวะ
  • ๑๔     เ-       เรียกว่า สระ เอ               ๓๒.    -ว     เรียกว่า สระ อัว        
  • ๑๕.    เ-็       เรียกว่า สระ เอ กับไม้ไต่คู้ ๓๓. -ว  เรียกว่า ตัว วอ
  • ๑๖.     แ-ะ     เรียกว่า สระ แอะ            ๓๔.    ใ- เรียกว่า สระ ใอไม้ม้วน
  • ๑๗.  แ-        เรียกว่า สระ แอ              ๓๕.    ไ- เรียกว่า สระ ไอไม้มลาย                                    
  • ๑๘.    แ-็       เรียกว่า สระ แอ กับไม้ไต่คู้     ๓๖. เ-าเรียกว่า สระ เอา

  เสียงสระในภาษาไทย มี ๒๑ เสียง ดังนี้

  สระเดี่ยว คือ สระที่เปล่งเสียงโดยอวัยวะในช่องปากอยู่ในตำแหน่งเดียวตลอดเสียง เช่น           เสียงสระของคำว่า กา ขอ เจอ ดู ตา นา มือ สี เป็นต้น หน่วยเสียงสระเดี่ยวในภาษาไทยมี ๑๘ หน่วย

  สระประสม คือ สระที่เปล่งเสียงโดยอวัยวะที่ใช้ออกเสียงอยู่ในตำแหน่งมากกว่า ๑ ตำแหน่ง        หน่วยเสียงสระประสมในภาษาไทยมี ๓ หน่วย คือ

    เ-ีย      เช่น     เสียงสระในคำว่า   เลีย เรียน เปียก เรียบ  เงียบ เกี๊ยะ เผียะ เป็นต้น

    เ-ือ     เช่น     เสียงสระในคำว่า   เกลือ  เมื่อ  เชื่อ  เหลือ เป็นต้น

    -ว       เช่น     เสียงสระในคำว่า   ตัว  กลัว  นวล  รวบ  ผัวะ  จั๊วะ เป็นต้น

สำหรับ  -ำ  ใ-  ไ-  เ-า  เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะรวมอยู่ด้วย (เสียง ม ย ว) ส่วน ฤ  ฤๅ  ฦ ฦๅ      มีเสียง ร  ล นำหน้าเสียงสระ เราจึงเรียกรูปสระดังกล่าวว่า สระเกิน

   

     ดังนั้นในการใช้ในสถานศึกษาปัจจุบัน จึงมีคำถามว่าแล้วจะเลือกใช้จากตำราใด  ระหว่างตำราเดิมของพระยาอุปกิตศิลปสาร  กับตำราของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้เขียนก็พยายามหาคำตอบ  โดยการสอบถามจากผู้รู้และผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันภาษาไทย  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับคำตอบว่า ให้ใช้ของกระทรวงศึกษาธิการ                 

      

      แหล่งอ้างอิงสำคัญ (สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจค่ะ) 

      หนังสืออุเทศภาษาไทย  ของ กระทรวงศึกษาธิการ

      เล่ม ๑ ระบบเสียง  อักษรไทย  การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ (เล่มนี้ค่ะ ที่ว่าด้วยเรื่อง สระไทย)

      เล่ม ๒ คำ  การสร้างคำและการยืมคำ

      เล่ม ๓ ชนิดของคำ  วลี ประโยคและสัมพันธสาร

      เล่ม ๔ วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย

      เล่ม ๕ กระบวนการคิดและการเขียนร้อยแก้ว

      เล่ม ๕ กระบวนการคิดและการเขียนร้อยแก้ว

      เล่ม ๖ ฉันทลักษณ์และขนบการเขียนร้อยกรอง

 

..หวังว่าสาระของบันทึกนี้จะพึงบังเกิดประโยชน์สำหรับเพื่อนบ้านภาษาไทยบ้างนะคะ..

สวัสดีค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 298322เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะ

มาอ่านค่ะ

ไว้รอตามต่อค่ะ

ลูกสาวอยู่มอสาม มาถามว่าสระไทย มีกี่รูป กี่เสียงกันแน่ หลายตำราไม่ตรงกัน ผมเองก็ไม่กล้าตอบครับ

สวัสดีอาจารย์ฌัฐรดาเช่นกันค่ะ

อ่านต่อได้แล้วนะคะ..อิอิ

ค่อนข้างต้วมเตี้ยมค่ะ

ระบบการพิมพ์บันทึกเปลี่ยนไป

ขอบคุณมากค่ะ..ที่แวะมาอ่าน

สวัสดีค่ะท่านรอง..

อิอิ..ฟันธงค่ะ

ใช้ของกระทรวงศึกษาธิการค่ะ

กระทรวงให้เริ่มใช้ตั้งแต่ปรับโครงสร้างของกระทรวง ในปี ๒๕๔๖ ค่ะ

แต่ก็ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลาย

แม้แต่คุณครูภาษาไทยก็ยังไม่ทราบค่ะ

เพิ่งมาตื่นตัวก็ในปีนี้ ที่สพฐ.ให้มีการประเมินครูผู้สอนภาษาไทย (กลุ่มตรงวุฒิและไม่ตรงวุฒิ)

เพราะบังเอิญมีคำถามในข้อสอบด้วย  และคุณครูส่วนใหญ่ก็สงสัยว่าเฉลยผิดหรือไม่

สพฐ.จึงเร่งประชาสัมพันธ์ใหม่อีกค่ะ

ท่านรองฯตอบลูกสาวได้นะคะ

และหาแหล่งอ้างอิงได้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ..

 

 

<p>ขอบคุณ ศนม ากนะคะที่ให้ข้อมูลเรื่องนี้แต่ตามความคิดเห็นของดิฉันรู้สึกว่าไม่ค่อยเห็นด้วยกับการแบ่งรูปสระของสถาบันภาษาไทยเพราะเยอะ และลำบากต่อการสอนให้เด็กอ่านออกเขียนได้คะ เพราะถ้าใช้สระแบบสถาบันภาษาไทย เราคงต้องสอนให้เด็กจำเป็นคำ และการสอ นแบบจำเป็นคำนี่แหละคะเป็นสาเหตุให้เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ หรืออ่านได้ก็อ่านแบบเกินไปบ้าง อ่านตกไปบ้าง และเขียนก็เขียนสลับกันไปมา อย่างเช่น ควร เด็กจะจำผิด เขียนเป็น ครว เพราะไม่เข้าใจเรื่องการสะกดคำ แต่ถ้าใช้แบบของพระยาอุปกิต ให้เด็กจำรูปสระทั้ง 21 ตัว และบอกว่า ตัวนั้นกับตัวนี้ประสมกันออกเสียงแบบนี้ หลังจากนั้นก็ให้นำพยัญชนะใส่ตรงกลางแล้วอ่านแบบสะกดแจกลูก แค่นี้หัดทุกวันเด็ก ๆ ก็อ่านได้และก็เขียนได้และเขียนได้ถูกต้องด้วยไม่ใช่อ่านได้เขียนได้เฉพาะคำที่สอนนะคะ คำที่ประสมสระแบบเดียวกันเด็กก็อ่านได้และเขียนได้ด้วย เพราะอาศัยลักษณะคำที่เหมือนกัน ศน ลองสังเกตดูนะคะว่าเด็กสมัยที่ใช้แบบเรียน มานี มานะ กับเด็กที่ใช้แบบเรียน กล้า แก้ว และใช้แบบภาษาพาที วรรณคดีลำนำ เด็กชุดไหนอ่านออกเขียนได้เป็นจำนวนมากกว่ากันคะ จะเห็นได้ว่า เด็กชุดที่ใช้ มานี มานะ ก็คือรุ่นเรา ๆ นี่แหละคะที่อ่านออกเขียนได้ดีกว่า ขอโทษนะคะ พ่อแม่เราที่เรียนจบ ป. 4 สมัยนั้นกับ เด็ก ม.3 สมัยนี้ คนที่ จบ ป. 4 สมัยนั้นยังอ่านเขียนหนังสือได้คล่องบกว่าเด็กม. 3 สมัยนี้อีกคะ อยากขอความกรุณา ศน ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ลองพิจารณาเรื่องนี้ดูหน่อยนะคะ ถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทยก็คงไม่ขึ้นอยู่ดีคะถ้าไม่นำหลักสูตรดี ๆ จากสมัยก่อนมาปรับใช้กับสมัยปัจจุบันคะขอบคุณคะ

นนทน์ เครื่องพนัส

อยากรู้คำอ่านที่ประสมด้วยสระไอไม้ม้วน( ใ )เช่น ดีใจ อ่านว่า ดี - ใจ หรือ ดี - ไจ

นงลักษณ์ ผายพิมาย

สวัสดีค่ะ ศน.อ้วน

สงสัยว่า ศน.อ้วน กับครูภาทิพ ทำไมหน้าตาเหมือนกันเลย ภาพเอียงขวาเหมือนกัน ครูแก่ๆ ก็เลยต้องใช้แว่นสายตา

เข้าช่วย อยากให้ศน.ช่วยเอาข้อสอบมาลงให้ด้วยจะได้รู้แนวทางข้อสอบ

เพลงเพราะมาก ใช่เสียงคุณสุนทรี เวชชานนท์ แม่ของลานนาหรือไม่ อยากให้หาเพลงเพราะๆ แบบนี้มาลงอีกหลายๆเพลง สำเนียงของคนเชียงใหม่เพราะมาก ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียนคุณครูอ้วนค่ะ

ดีใจมากที่หาอ่านเนื้อหาขอครู เด็กสมัยนี้(อาจรวมถึงดิฉันด้วย)ใช้ภาษาไทยไม่ถูก ไม่รู้จักภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาพ่อภาษาแม่โคตรเง้าเหล่อกอ ดีที่ยังมีหลักสูตรสอนเด็กๆ ซึ่งดิฉันเองดูการบ้านวิชาภาษาไทยของลูกๆ (ซึ่งมี 2 คน/ชั้น ป.3 และ ป.5) ก็ปวดหัว เพราะเราอาจเคยเรียนแต่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ เลยทำให้ลืมความรู้เก่าๆ ไปเลย (เป็นสนิมว่างั้น) ดูการบ้านลูกๆ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย ทำให้ได้ความรู้ภาษาไทยไปด้วย และก็ได้เรียนรู้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ง่ายเลยค่ะที่ทุกคนจะรู้จริงเพราะมีความละเอียดอ่อนมากๆ และหาข้อมูลยากมาก ไม่ค่อยมีใครทำ (ตอบการบ้านลูกเป็นหลักค่ะ)ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูให้เด็กไทยรักภาษาไทย รู้ลึกและรู้จริง ใช้ถูกต้องในภาษาไทยนะค่ะ

คุณแม่ลูกสาว 2 คน

อยากทราบว่า ฤกษ์ เป็นสระเดี่ยว สระประสม หรือสระเกิน คะ

ขอบคุณล่วงหน้าเลยค่ะ อ.อ้วน

เห็นด้วยกับ ท่านอดีตครูดอยครับ ขณะนี้ตัวผมเองก็สอนลูกไม่ถูกแล้ว ยกตัวอย่างคำว่า กับ ตัวผมและคุณครูที่สอนผมมาสะกดว่า

ก-ไม้หันอากาศ-บ=กับ แต่สมัยนี้ที่โรงเรียนสอนให้สะกดว่า ก-อะ-บ=กับ ถ้าสะกดแบบที่โรงเรียนสอนทำไมไม่ตัดไม้หันอากาศทิ้ง

ไปให้เหมือน คอ-คน และ ขอ-ขวด ให้สิ้นเรื่องไปเลยล่ะครับ กระทรวงศึกษา

ปล.มาแก้ภาษาอยากเป็นตำนานมั้ง?

ครูจารีย์ บุณยวรรต ครูชุมพรค่ะ

ขณะนี้ทราบมาว่าเพิ่มรูปสระอีก๑รูป คือ ไ - ย รวมเป็นรูปสระทั้งหมด ๓๗ รูป แล้วค่ะ  ส่วนหน่วยเสียงลดลง เหลือเพียง ๒๑ หน่วยเสียงเท่านั้น นะคะ ต้องแจ้งนักเรียนกันใหม่ล่ะค่ะ

ได้ความรู้เกี่ยวกับสระและเสียงของสระดีค่ะ

สระในภาษาไทยมี 21รูป 32 เสียงคะ แต่ถ้าเรียนในระดับอุดมศึกษาเขาจะบอกว่ามี21รูป21เสียงคะ

ดิฉันเพิ่งเข้ามาอ่านดุเพราะกำลังออกข้อสอบหลักภาษา ที่ยืนหยัดสอนมานาน เด็กเคยเบื่ออย่างไรก็เบื่ออย่างนั้นเหมือนที่ดิฉันเคยเบื่อ แต่ก็เปิดดุใหม่ได้ถ้าลืม ค่ะดิฉันงงที่สระมี 37 รูปของคุณครูจารีย์ แต่เห็นคุณวิจิตราตอบก็ใช่ เพิ่มนิดหนึ่งว่า  ครูมัธยมก็ต้องสอนว่าสระเดี๋ยวนี้มี 21 เพราะสระประสมเสียงสั้นไม่่ค่อยมีในภาษาไทย ส่วนรูปก็คงเท่ากัน  และขอช่วยตอบคุณณัฐสินีว่า ฤกษ์ เป็นเสียงพยัญชนะ/ร/ สระเออซึ่งก็มีหลักการใช้ตัวนี้อยู่

ครูสมจิตต์ ณ ลำปาง

งงเหมือนกันค่ะเพราะสอนไปก็ต้องเปิดหนังสืออุเทศภาษาไทยชุดบรรทัดฐานภาษาไทยไปด้วยและที่สำคัญหนังสืออุเทศภาษาไทยมีแค่ เล่มที่1-4  ขาดเล่มที่ 5-6 ตอนสั่งซื้อได้ไม่ครบ แล้วไม่มีจำหน่ายในร้านหนังสือทั่วไปด้วย ท่านศน.อ้วนจะมีอะไรแนะนำบ้างคะยินดีรับฟังค่ะขอบคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูง

งง! มากค่ะ  งั้นก็แสดงว่า ็ เป็นสระแล้วสิคะ เดิมเราเคยสอน เคยจำกันว่า ็ เนี่ย คือ สัญลักษณ์ แทน ะ ในสระ เ-ะ ,แ-ะ เมื่อมีตัวสะกดตามหลัง  นี่นา  แล้วตอนนี้จะอธิบายอย่างไรหนอ ชาวโลก!

หลักการเดิมก็ชัดเจนอยู่แล้ว

ขอบคุณค่ะ


สวัสดีครับ..

ผมคิดว่า ็ คล้ายกับ ้ นะครับ

มันต่างกันอย่างไรเหรอครับ

งง! มากครับ  งั้นก็แสดงว่า ็ เป็นสระแล้วสิครับ เดิมเราเคยสอน เคยจำกันว่า ็ เนี่ย คือ สัญลักษณ์ แทน ะ ในสระ เ-ะ ,แ-ะ เมื่อมีตัวสะกดตามหลัง  นี่นา  แล้วตอนนี้จะอธิบายอย่างไรหนอ ชาวโลก!

หลักการเดิมก็ชัดเจนอยู่แล้ว

ขอบคุณครับ


ไม่เคยเข้ามาอ่านเลยค่ะแต่วันนี้อยากจะมาศึกษาในเรื่องของสระเกินใครมีข้อมูลเยอะๆเกี่ยวกับสระเกินช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ผมสนับสนุน ยึดแนวเดิมของพระยาอุปกิตศิลปสาร เหมือนพี่ๆหลายๆที่ให้ความเห็นครับ....ผมว่าคนที่เสนอเปลี่ยนคงคิดอะไรที่สร้างสรรค์ไม่เป็น เลยมาขุดเปลี่ยนแบบแผนเดิมนี้ เพื่ออยากสร้างผลงานแบบไม่ได้สะท้อนภูมิปัญญาอะไรเลย.....

ไม่แปลกใจที่เด็กไทยปัจจุบัน จบ ม. ๖ แล้วอ่านหนังสือไม่ออก น่าสงสาร

อนาคตประเทศไทย เศร้าๆ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท