การดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและออทิสติก


ออทิสติกไม่ได้สร้างความแตกต่าง แต่เป็นเพราะเด็กทุกคนแตกต่างกัน เราจึงควรเรียนรู้และเข้าใจ ในความแตกต่างกันของเด็กแต่ละคน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับออทิสทิก
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค
                A:เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่า จากข้อ 1,2 และ 3 โดยต้องมีอย่างน้อย 2 ข้อ จากข้อ 1 และจากข้อ 2 และ 3 อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
  1. มีคุณลักษณะการเข้าสังคมที่ผิดปกติ
  2. มีคุณลักษณะการสื่อสารที่ผิดปกติ
  3. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่ซ้ำและลักษณะเป็นเช่นเดิม
B: มีความช้าหรือผิดปกติด้านต่างๆต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อก่อนอายุ 3 ปี
1.ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
2.ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
3.เล่นสมมุติตามจินตนาการ
สาเหตุของโรค
                ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่ในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนน่าจะมีสาเหตุจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ (Brain dysfunction)
อาการและอาการแสดงของโรค
                1.ความผิดปกติด้านการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น
                    ในช่วง 2-3 ปีแรกของชีวิต  เด็กจะชอบอยู่คนเดียวในห้องหรือบนที่นอน
                     ลักษณะที่ typical คือ ไม่สบตา ถ้ามองก็เป็นแบบมองทะลุผ่านไป ขัดขืนเวลาอุ้มหรือจับต้องตัวเด็ก
                  ในช่วง preschool  ไม่สนใจที่จะมีเพื่อน กระทำกับบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆคล้ายกับสิ่งของ ไม่รู้ความแตกต่างระหว่างสิ่งไม่มีชีวิต
                  เมื่อเด็กโตขึ้น  การสบตาอาจดีขึ้น สนใจทำในสิ่งที่ซ้ำซาก
                2.ความผิดปกติทางการใช้ภาษาติดต่อกับบุคคลอื่น
                    มีความสับสนในการใช้คำสรรพนาม
                    มีการใช้คำพูดที่เป็นแบบเฉพาะของเขาเอง
                3.พฤติกรรมทำอะไรซ้ำ หรือมีความสนใจจำกัด
                    คิดหมกหมุ่นหรือสนใจส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งของ แสดงความคับข้องใจอย่างมาก ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
โดยสรุปพบว่า   เด็กออทิสติกมักจะเสียการรับรู้ในการได้ยินและการสัมผัส มากกว่าการเห็นและการได้ยินและได้กลิ่น
การให้ความช่วยเหลือ
                พัฒนาการช่วยเหลือโดยทีมสหวิชาชีพ
                การช่วยเหลือครอบครัว
                การจัดการศึกษาเฉพาะตัว
                แจ้งสิทธิและปกป้องสิทธิเด็ก
                ติดตาม ประเมินผลและให้ความช่วยเหลือเป็นระยะ
แนวทางการช่วยเหลือ
                1.อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงโรค
                2.พัฒนาการบำบัดและการฝึกอาชีพ
                3.พฤติกรรมบำบัด
                4.การรักษาด้วยยา
                5.การฝึกพูด
                6.การศึกษา
                7.การรักษาด้านอื่นๆ
เป้าหมายของการรักษา คือการกระตุ้นและฟื้นฟูพัฒนาการด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นจนใกล้เคียงกับเด็กปกติมากที่สุดและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก
                การช่วยเหลือที่ดีที่สุด คือ การช่วยเหลือเมื่อเด็กอายุน้อย  เวลาที่รอ คือ เวลาที่เสียไป
เทคนิคการช่วยเหลือในการฝึก
                1.ช่วยจับทำ
                2.แตะนำ
                3.เลียนแบบ
                4.ทำตามคำสั่ง
วิธีที่จะนำเด็กออกจากเด็กออกจากโลกของตนเองสู่สังคมในบ้าน
                1.การกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5
                2.การจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
                3.การหันตามเสียงเรียก
                4.การสอนให้เด็กรู้จักตนเองและสมาชิกในครอบครัว
ข้อควรระวัง
                -ไม่เร่งรีบและบังคับเด็กจนเกินไป
                -เด็กออทาติกระดับสติปัญญา
                                -ระยะ 2-3 ปีแรก ไม่ค่อยมีปัญหาอารมณ์ นั่งเรียนได้ พูดน้อย ความจำในบทเรียนดี
                                - ป. 2-3 มักจะเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น ถูกล้อเลียน
                                -เมื่อเรียนสูงขึ้นจะติดตามบทเรียนไม่ทัน ทำให้ท้อทอย
 
ออทิสติกไม่ได้สร้างความแตกต่าง
แต่เป็นเพราะเด็กทุกคนแตกต่างกัน
เราจึงควรเรียนรู้และเข้าใจ
ในความแตกต่างกันของเด็กแต่ละคน
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 297458เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านข้อ A แล้วไม่เข้าใจ ตกลงเข้าเกณฑ์เป็นอย่างไร กี่ข้อจากกี่ข้อ เปลี่ยนประโยคเด่นกับคำสำคัญให้ครับ แต่ใครบันทึกละเนี่ย / boss

ที่บ้านมีอยู่หนึ่งคน มีแบบแผนพฤติกรรม มีความสนใจซ้ำๆ ชอบอยู่คนเดียว,ชอบซื้อและนั่งดูหัวการ์ตูนมากเป็นมานาน(ที่รู้ๆก็17ปีแล้ว) เข้าข่ายอะไรดี แก้ไขอย่างไรดีคะ ใครบันทึก ช่วยตอบที/วิลาวรรณ์ อิอิ...

ช่วยลงเกณฑ์เพิ่มให้ด้วยค่ะ By Jan

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท