ทฤษฎีดอกไม้หลากสี


ความหลากหลายของคนในสังคมเดียวกัน หากมองว่าเป็นดอกไม้หลากสีในแจกันใบเดียวกัน ความสวยงามของแจกันนั้นย่อมมีคุณค่าที่มากกว่ามีเพียงดอกไม้สีเดียวกัน

   แม้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม หรือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างหมู่ชนจะยังคงมีอยู่ เช่นความแตกต่างทางภาษา การแต่งกาย ศาสนา สีผิว ฐานะทางสังคม และประเพณีก็ตาม แต่ในความแตกต่างที่หลากหลายในสังคมต่างๆ ก็ยังปรากฏให้เห็นความคล้ายในตัวของสังคมที่หลากหลาย คือแนวคิดทางศีลธรรมและวิธีที่กลุ่มชนในสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โจ เนลสันจากแสตมฟอร์ดเป็นผู้ทำให้วลี "วัฒนธรรมและความหลากหลาย" เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

   ในสังคมไทยทุกพื้นที่ย่อมคละไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายไม่ว่า ไทยจีน ไทยซ่ง ไทยดำ ไทยมุสลิม  ไทยพื้นเมือง ฯลฯ  โดยเฉพาะในพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นตัวอย่างหนึ่งเห็นถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างชัดเจน แต่สาเหตุหนึ่งที่มองว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นต้นเหตุที่ให้เกิดความขัดแย้งและความรุนแรงในที่สุด และทุกฝ่ายก็ยอมรับแล้วว่า การใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาความรุนแรงไม่ใช่ทางออกที่ดี  การไม่ใช่ความรุนแรงเป็นวิธีการแก้ปัญหาได้ผลทีละน้อยแต่ต้องใช้เวลานาน วิธีหนึ่งที่เราได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ คือ สันติภาพ   หรือเรียกว่า Peace แปลว่า วิธีไม่ใช้ความรุนแรง หรือ nonviolent

   ทั้งนี้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ยังมีหนทางแก้ไขได้ หากสามารถสร้างกลไกจัดการเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของความจริงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยอมรับ แต่ทว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้ทุกฝ่ายพอใจ เป็นความโชคร้ายหรือโชคดีไม่ทราบที่คนไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า แต่ชอบนินทาลับหลัง สังคมไทยไม่มีวิธีแก้ไขความขัดแย้ง กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบตะวันตกใช้ไม่ได้กับสังคมไทย จึงพอจะเห็นได้ว่า ยากที่จะทำให้ทุกคนพอใจ ความขัดแย้งจัดการได้ถ้า.. ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและร่วมหาทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ให้เวลาเจรจาแบบมีหลักการ ประสานความร่วมมือ ลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

เราจะเป็นหนึงใน "ดอกไม้หลากสี" ท่ามกลางสังคมความหลากหลายได้อย่างไร ?

    ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นข้อแรกที่ทุกคนควรเริ่มทำคือการเปิดหัวใจ (Open heart) ไม่ยึดติดสิ่งที่ตนเองเชื่อมากเกิน มองว่า สิ่งอื่นก็สวยงามเหมือนกัน ตัวฉันก็ดี ตัวเธอก็ดี เหมือนดอกไม้ดอกนี้สีสวย ดอกนี้กลิ่นหอม ดอกนี้กลีบหนา ดอกนี้บานในตอนเช้า ดอกนี้บานในตอนเย็น ฯลฯ เมื่อมองลักษณะภายนอกเห็นชัดแล้วว่าทุกอย่างดี อยู่รวมกันก็ดี เพราะหากมีแค่พันธุ์ดอกชนิดเดียว ดอกที่มีบานในตอนเช้าทั้งหมด พอเย็นไม่มีดอกใดบานเลย แค่นี้ก็เห็นแล้วว่า ตอนเย็นเราไม่ควรจะเดินมาดูสวนดอกไม้แปลงนี้เลย ใช่ไหมครับ สิ่งที่เห็นก็ควรเก็บในรายละเอียด ไม่ควรเพิ่มเติมความรู้สึก อารมณ์ และตัดสินข้อมูลทันที เพราะทุกครั้งที่เราตัดสินเรามักจะเอาอารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปใส่ในนั้นด้วย จริงไม่จริงก็ลองมองเวทีประกวดนางงามซิครับ ส่วนใหญ่เรามักจะตัดสินความสวยงามของหญิงที่อยูบนเวทีว่า สาวงามในประเทศตนนั่นแหละสวยที่สุด เรามองความสวยผ่านอะไร ผ่านความคุ้นเคย ผ่านประสบการณ์ ผ่านวัฒนธรรมหรือเปล่า เมือผลการตัดสินรอบสุดท้ายปรากฎ จะมองเห็นชัดเจนว่า ทุกคนตัดสินไม่ตรงกันทุกคน ดังนั้นไม่ควรตัดสินใจเมื่อได้รับข้อมูลทำใจให้เป็นกลาง ควรเห็นว่า มันเป็นอย่างนั้นเอง
    ขั้นตอนที่ 2 เมื่อทุกคนเปิดใจยอมรับความเป็นลักษณะของสิ่งนั้นและมีความเป็นกลาง ไม่ตัดสินข้อมูลใด ๆ จากนั้นจึงต้องเปิดใจ (Open Mind) ไม่อคติ  ไม่มองว่าตัวกูเก่ง ของกูดี  ของกูดีที่สุด  ในขั้นนี้เราต้องหลุดจากตัวเอง กลุ่มตัวเอง พรรคพวกตัวเองให้ได้ เหมือนลดอคติของตัวเอง "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"  หรือใจสัมผัสใจ โดยเริ่มจากการฟังอย่างลึกซึ้ง  (deep listening) อ่าน เข้าใจอย่างลึกซึ้ง  (deep understanding) เป็นการรับข้อมูล (receiver) ด้วยใจสัมผัสใจ เข้าใจความรู้สึกเขามากกว่าการแสดงออกด้วยคำพูด หรือ พฤติกรรม
     ขั้นตอนที่ 3 หลังจากรับข้อมูลด้วยใจแล้ว เราสามารถจะแสดงความเป็นมนุษย์ออกมาได้หลังจากที่เรากลั่นกรองแล้ว พูดออกไปด้วยใจที่แคร์กัน หรือแสดงออกไปอย่างความเป็นมนุษย์ที่เอื้ออาทรกัน (open will) โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า "คุณรู้สึก...........ใช่มั้ย?" เช่น "คุณรู้สึกเสียใจที่เพื่อนคุณทำอย่างนี้ใช่มั้ย?"   หรือถ้ามีใครทำให้คุณโกรธ คุณเจ็บ คุณดีใจจนเป็นบ้า  ก็บอกหรือให้ข้อมูลเกิดขึ้นกับเขาแล้วบอกความรู้สึกไปโดยไม่ตัดสินเขา เช่น "พี่เปิดโนต้บุ๊คของผมโดยไม่ขออนุญาตผมสักครั้ง พี  ผมรู้สึกว่าพี่ไม่ให้เกียรติผมเลย"  อย่าลืมนะครับว่าไม่ตัดสินเขา

   บทสนทนาของดอกไม้สองพันธุ์ต่างแบ่งปันน้ำและอาหารร่วมกัน หากดอกไม้ต้นใกล้ ๆ ทำเหมือนกันเช่นนี้ ดอกไม้ทั้งแปลงก็เป็นเช่นนี้ สวนดอกไม้นานาพันธุ์สวนนี้ก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างเป็นอมติ เหมือน ความเป็นอมตะขององค์กรสันติสุข

    ป.ล. คุ้น ๆ นะครับ Open heart - Open Mind - Open will ทฤษฎี U ไงครับ โอ้โห! ไม่น่าเชื่อว่า ทฤษฎีนี้สอดคล้อง มีความเป็นไปได้ในทิศทางเดียวกัน


จากเวปhttp://1.bp.blogspot.com/_2nncbQYkaxk/Safl4UO2hVI/AAAAAAAAA-4/EA2TdpnvDNo/s1600-h/TheoryU.gif

 

   ทฤษฎีดอกไม้หลากสีของผมน่าจะเป็นไปได้ไหมที่จะทำให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสุข สงบ ถึงจะนานไปหน่อย แต่ขอให้เราเริ่มปลูกต้นไม้ในใจเราก่อนที่จะเริ่มต้นที่คนอื่นนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 297221เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เปิดหัวใจ และยอมรับ ใจสู่ใจ ใฝ่สันติสุข

เป็นกำลังใจให้เสมอ

ขอบคุณครับ ครูอ้อย

ผมมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดครับว่า....

เดิม พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธเจ้าของทฤษฎีดอกไม้หลากสี ให้คำจำกัดความว่า

ทฤษฎีดอกไม้หลากสี หมายถึง การทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้แม้จะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เพราะสังคมของคนสามจังหวัดภาคใต้ในอดีต คือสังคมของความเป็นมิตร ความปรองดอง ไม่ว่าจะเป็นไทยพุทธหรือมุสลิม ซึ่งวันนี้ต้องเรียกกลับมาให้ได้

อ้างอิงจาก http://kobkob034.multiply.com/reviews

สวัสดีค่ะ อ.ชวลิต(พี่ไก่)

มาให้กำลังใจค่ะ

ด้วยความระลึกนึกถึงค่ะ

และ ลปรร.

ดอกไม้หลากสีสัน

 

ศิษย์เก่า(ยะหริ่ง)

เป็นกำลังใจให้อาจารย์เสมอนะคะ

อ่านทฤษฎีดอกไม้หลากสีแล้ว

มีความรู้สึกว่า สังคมเราตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แตกต่าง รวมทั้งแตกแยก

หวาดระแวงซึ่งกันและกัน

แต่อย่างน้อยก็ยังมีเจ้าของบันทึกทฤษฎีดอกไม้หลากสีที่ยังเข้าใจในความแตกต่าง

สวัสดีครับอาจารย์....

สบายดีไหมครับอาจารย์...แวะมาทักทายกันน่ะครับ...เพิ่งเปิดมาเจอบล็อคของอาจารย์...ชอบใจมากกับทฤษฎีดอกไม้หลากสี รู้สึกว่าเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันจริงๆ.....ไม่ว่าในสามจังหวัดหรือในพื้นที่อื่นๆที่กำลังเผชิญหน้ากันอยู่ในขณะนี้....ว่าแต่ว่า..อาจารย์จำผมได้หรือเปล่าครับนี่....ลูกศษย์บริหารมอ.ป.โท รุ่นจบปี52น่ะครับ....ตอนนี้ผมเป็นรองผู้อำนวยการอยู่ที่รรในอำเภอมายอน่ะครับ......มีความสุขตลอดไปน่ะครับ.....สวัสดีครับ

นายแวอูเซ็ง อาเก๊ะ

ในฐานะที่ทำงานเป็นครู คิดว่าแนวทางของทฤษฎีนี้ สามารถนำไปใช้

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้นักเรียนอ นักศึกษา โดยเฉพาะงาน กศน.

ซึ่งมีเนื้องานและกิจกรรมที่หลากหลาย คงจะเป็นแนวทางหนึ่งที่นำสันติสุขกลับคืนมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท