การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทำปุ๋ยอินทรีย์ จากวัสดุที่หาได้ง่าย ได้ประโยชน์มากมาย

       

  

 

              ในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงที่ทำนา การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตนั้นก็ต้องปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณน้ำฝน สภาพพื้นดินที่เพาะปลูก ปุ๋ยที่ใช้ และสภาพแวดล้อมรอบๆบริเวณปลูกข้าว วัชพืช และแมลงต่างๆ เป็นต้น ในช่วงการทำนา ครอบครัวของข้าพเจ้าจึงจัดการทำนา  ดูแลด้านต่างๆของการทำนา เพื่อให้ได้ผลผลิตให้ออกมาดีที่สุด ในการทำนานั้นนอกจากจะมีสระน้ำที่กักเก็บน้ำไว้ใช้สูบน้ำเข้านา ถ้าเกิดมีปริมาณน้ำฝนน้อย ทำให้พื้นดินแห้งแล้งเเล้วนั้น ผลผลิตข้าวที่ได้อาจก็อาจจะไม่ดี และมีสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผลผลิตข้าวของเราออกมาออกมาดี นั่นก็คือปุ๋ยนั้นเอง โดยทั่วไปมีปุ๋ยที่ใช้ 2 ประเภทคือ   คือ ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic fertilizers) และปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี (Inorganic fertilizers) ปุ๋ยทั้งสองประเภทนี้ มีคุณสมบัติในการบำรุงและปลดปล่อยธาตุอาหารเพื่อการเจริญ เติบโตของพืชต่างกัน

            1. ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี (Inorganic fertilizers) คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่ไม่มีชีวิต เป็นสารประกอบประเภทอนินทรีย์สาร เช่น จากหินหรือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น หินฟอสเฟตบด ซึ่งสารเหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือสารที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นจากสิ่ง ที่ ไม่มีชีวิต โดยใช้กรรมวิธีทางเคมีโดยนักวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ดังนั้นผลิตภัณฑ์ปุ๋ยที่ได้ จึงนิยมเรียกว่าปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยเคมี ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช ทั้งธาตุอาหารพืชหลัก ธาตุ อาหารพืชรอง หรืออาหารพืชเสริม ทั้งนี้ขึ้นกับกรรมวิธีในการผลิตปุ๋ยนั้นๆ

            2. ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic fertilizers) คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิต ทั้งจาก ซาก พืช ซากสัตว์ทุกชนิด ที่ผ่านการย่อยสลายด้วยการกระทำของจุลินทรีย์รวมไปถึง มูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ และปุ๋ยพืชสดด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึง ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากสิ่งที่มีชีวิตเช่นกัน แต่เป็นวัสดุที่มีจุลินทรีย์เป็นตัวออกฤทธิ์ ในการก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารมากขึ้น โดยทั่วไปปุ๋ยอินทรีย์จะมีธาตุอาหารอยู่ในปริมาณที่น้อย แต่จะมีธาตุอาหารหลายชนิด และมีคุณสมบัติในการปรับปรุง โครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วนซุย ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นสำคัญ ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ 

              จากประสบการณ์ของครอบครัวข้าพเจ้าที่ได้ให้คนอื่นทำนาให้ตลอดเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา โดยพวกเขาเหล่านั้นได้ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ในการเพาะปลูกข้าว เมื่อครอบครัวของข้าพเจ้าได้กลับไปทำนาอีกครั้งพบว่า พื้นดินบริเวณปลูกข้าวที่ผ่านการใช้ปุ๋ยอนินทรีย์มาเกือบสิบปี พื้นดินมีความแห้ง แข็ง และมีความด้านของดินมากกว่าบริเวณพื้นที่นาที่ไม้ได้ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ในการเพาะปลูกเสียอีก และเมื่อครอบครัวของข้าพเจ้าเพาะปลูกข้าว ทำนาโดยหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน  ไม่ได้ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ เหมือนที่คนอื่นเพาะปลูกข้าวให้พบว่า ต้นข้าวของที่นาข้าพเจ้ามีต้นที่แคระแกรน ไม่เจริญเติบโตเท่าบริเวณที่นาของคนอื่นใกล้เคียงที่ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์เหมือนเดิมที่เคยเป็น ทำให้ข้าพเจ้าได้แง่คิดว่า การปุ๋ยอนินทรีย์ถึงแม้ว่าข้าวเจริญเติบโตเร็วกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แต่สิ่งที่ได้ตามมานั้นคือ พื้นดินที่ใช้ปุ๋ยอนินทรีย์มีเป็นดินที่เสีย และถ้าเราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปเรื่อยๆ คุณภาพของดินก็คงแย่ลงกว่าเดิม เพราะสะสมสารเคมีไว้มาก และการใช้ปุ๋ยสารเคมีนั้น เมื่อเรารับประทานข้าวเข้าไป อาจทำให้สุขภาพของเราไม่ดีก็ได้ เพราะข้าวที่เรารับประทานเข้าไปนั้นอาจมีสารปนเปื้อน

  

       การทำนาครั้งนี้ทำให้ครอบครัวองของข้าพเจ้าได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ประเภทปุ๋ยชีวภาพ และข้าพเจ้าก็ได้ศึกษาการใช้ปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้เอง และขั้นตอนการทำนาด้วย

ขั้นตอนการทำปุ๋ยชีวภาพนั้นมีขั้นตอนการทำดังนี้

ปุ๋ยชีวภาพประเภททำจาก เศษอาหาร เปลือกผัก ผลไม้

วัสดุ / อุปกรณ์

ถังมีฝาปิด ถุงปุ๋ย กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง หัวเชื้อจุลินทรีย์ เศษอาหาร เปลือกผัก เปลือกผลไม้

ขั้นตอนการทำ

1. เติมน้ำ 8 ลิตรใส่ถัง

2. เทกากน้ำตาลละลายน้ำ

3. ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 2 วัน

4. น้ำเศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ ใส่ถุงปุ๋ย แล้วนำเชื้อจุลินทรีย์ใส่ในถุงปุ๋ย หากน้ำจุลินทรีย์ไม่มากพอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยให้เติมน้ำเปล่า และกากน้ำตาล (หรือน้ำตาลทรายแดง) ในสัดส่วน น้ำ 8 ลิตร กากน้ำตาล 250 ซี หมักทิ้งไว้เรื่อยๆ จนเต็มทั้งจากนั้น ถ้าเต็มถังแล้วก็เปลี่ยนถังใหม่ โดยแต่ละครั้งปิดฝาถังให้สนิท หมักไปเรื่อยๆ ประมาณ 1 อาทิตย์ ถึง 3 เดือนก็สามารถนำมาใช้ได้

 

             

 

 

                        

         

 เมื่อหมักปุ๋ยชีวภาพได้ระยะเวลาหนึ่งที่สมควรไปใช้งานได้แล้ว เราก็นำไปรด หรือพ่นใส่ต้นข้าวในพื้นที่นาเราได้เลย ถึงแม้ว่าไม่เจริญเติบโตได้รวดเร็วเท่ากับปุ๋ยอนินทรีย์แต่รับรองว่าพื้นดินที่เพาะปลูกของเรานั้น ไม่มีการเสื่อมสภาพ มีเม็ดดินเสียเท่าปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีแน่นอน และไม่มีผลกระทบกับสิ่งเเวดล้อมของเราอีกด้วย

      การเรียนรู้ครั้งดีเป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้า และที่นาของข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าสนุกกับการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้ไปที่นาสัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ได้เห็นชาวนามาดูแลที่นาของตนเอง แล้วรู้สึกว่าการเรียนรู้และอยู่กับธรรมชาติก็มีความสุขเช่นกัน และผลผลิตที่ได้ออกมาก็เป็นความภาคภูมิใจของเรา ที่เป็นข้าวจากที่นาเราเอง

  

                                                                                                                     

 

 

แหล่งอ้างอิง

หนังสือคนทำนา ข้าวอินทรีย์ และเทคนิคการปลูกข้าวแบบปักเดี่ยว จัดทำโดยศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ

หนังสือองค์ความรู้และภูมิปัญญา ของศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน ของกองนโยบายเทคโนโลยีการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://www.organicthailand.com/webboard_364158_1278_th?lang=th

คำสำคัญ (Tags): #learningprocess
หมายเลขบันทึก: 297206เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นี่ๆๆ

น้ำใจชอบธรรมชาติมากเลยนะหนิ

ดีจัง หายาก

ดีๆ อยากทำมานานแล้ว

มาสอนเฮ็ดแหน่เด้อ

เป็นสิ่งที่ดีอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย ลดมลพิษ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท