ธรรมะรักษา


วันนี้ขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวเนื่องจากอดีตกาลมาจนถึงปัจจุบันที่ว่า "เรื่องธรรมะเป็นเรื่องไกลตัวไหม???"

   มนุษย์ทุกคนในโลกล้วนแต่ต้องการความสุข ไม่ต้องการความทุกข์ คือรักสุข เกลียดทุกข์ กันทั้งนั้น แต่การดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายที่ต้องการนั้น คนทั้งหลายมีวิธีดำเนินชีวิตไปตามแนวหรือวิถีทางที่ตนคิดเห็นว่าถูกต้องบางคนดำเนินชีวิตด้วยการเบียดเบียนตน คือการทำให้ตนลำบากเดือดร้อนด้วยการกระทำของตน เช่น การดื่มน้ำเมา และเสพย์ของเสพติดให้โทษ หรือการทรมานตนด้วยการอดอาหาร บางคนดำเนินชีวิตด้วยการเบียดเบียนคนอื่น หรือสัตว์อื่น บางคนดำเนินชีวิตด้วยการเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น การดำเนินชีวิตประเภทนี้ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการดำเนินชีวิต ไม่ประเสริฐ เพราะเป็นการทำตน และสังคมส่วนรวมให้เดือดร้อน

   การดำเนินชีวิตที่ประเสริฐนี้พระพุทธเจ้าตรัส เรียกว่า "พรหมจรรย์" ดังพระองค์ตรัสแก่พระสาวก 60 รูป ในพรรษาแรกที่ตรัสรู้ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ในการส่งพระสาวก 60 รูป ออกไปประกาศพระพุทธศาสนาตอนหนึ่งว่า "เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลฺยาณํ (กลฺยาณํ - ไพเราะ ดี งาม ) พระพุทธโฆษจารย์อธิบายไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า งานเบื้องต้นหมายถึง ศีล งานในท่ามกลางหมายถึง สมาธิ งานในที่สุด หมายถึงปัญญา (วุสุทธิมรรค 1/1) มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยณฺชนํ เกวลปริปุณณํ ปริสุทธํพรุหมฺจริยํ ปกาเสถ แปลว่า ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งานในท่ามกลาง งานในที่สุด จงประกาสพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงเถิด"

   คำว่า "พรหม" แปลว่า "สูงสุดหรือประเสริฐ" ส่วนคำว่า "จรรย์หรือจริยา"แปลว่า ความประพฤติการกระทำ หรือการดำเนินชีวิต" คำว่า"พรหมจรรย์"หมายถึงความประพฤติหรือการทำสิ่งที่สูงหรือประเสริฐ หรือแบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐนั่นเอง

   เพราะฉะนั้นการประพฤติพรหมจรรย์ ก์คือการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ หรือแบบการครองชีวิตที่ประเสริฐ ประเสริฐอย่างไร คือ ประเสริฐด้วยแบบแห่งการดำเนินชีวิตที่ดีงาม 3 อย่าง คือ

   1. ประเสริฐด้วยอำนาจ ศีล คือทำตนให้ประกอบไปด้วระเบียววินัย และมารยาทอันดีงาม ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบอันดีงามของสังคม

   2. ประเสริฐด้วยอำนาจสมาธิ คือ ทำจิตให้มีสมรรถภาพ สามารถใช้อะไรได้ตามความต้องการ มีจิตใจมั่นคง

   3. ประเสริฐด้วยอำนาจปัญญา คือมีความรู้สูงสุดเท่าที่มนุษย์ควรจะรู้ไม่มีจิตใจฟูขึ้น หรือยุบลงในเมื่อตนประสบโลกธรรมคือไม่ตื่นเต้นดีใจเมื่อประสบกับลาภ ยศ สรรเสริญ สุขที่น่าจะปรารถนา และไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อประสบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทาทุกข์ อันไม่น่าปรารถนา แต่มีจิตสงบเยือกเย็น รู้เท่าทีนความเป็นจริงของชีวิต

   ใครก็ตามหากดำเนินชีวิตโดยใช้แบบหรือหลักการดำเนินชีวิต 3 ประการ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าดำเนินชีวิตแบบประเสริฐ ไม่ทำตน หรือผู้อื่นเดือดร้อน แต่นำความสงบสุขมาแก่ตน และสังคมได้มาก เป็นชีวิตที่มีคุณค่า เป็นหลักการดำเนินชีวิตแบบพุทธศาสนิกชนเป็นแบบที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และทรงพิสูจน์มาแล้วว่าดีที่สุด ประเสริฐที่สุด ไม่ก่อเวรไม่มีภัยทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น พระองค์จึงเรียกแบบการครองชีวิตอย่างนี้ว่า "พรหมจรรย์"

 

   หนังสืออินไซด์ มจธ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หน้า 20 ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 1-30 มิถุนายน 2552

 

      ขอจบการคัดลอกเพีงแค่นี้ก่อนน่ะค่ะ.....ธรรมะรักษา สวัสดีคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เฌ

คำสำคัญ (Tags): #สมปรารถนา
หมายเลขบันทึก: 297111เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท