หัวใจแห่งความเป็นแพทย์ . . . หัวใจแห่งความเป็นมนุษย์


หมอที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ควรรักษาทั้ง คน และไข้

 



 เพราะระบบทุนนิยมที่กำหนดให้ผู้คนในสังคมต้องแก่งแย่งกัน ไม่เว้นแม้แต่นักเรียนที่ต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้อาชีพที่ดี มีรายได้มาก ทำให้เด็กแย่งกันเรียนหมอ โดยไม่ต้องสนว่าชอบหรือไม่ อยากดูแลผู้คนที่ทุกข์ยาก และพร้อมที่จะ เสียสละ อดหลับอดนอนเพื่อความสุขของผู้อื่นหรือไม่

หรือ

เพราะระบบ การเรียนการสอนที่มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการที่ทำให้นักเรียนแพทย์ เรียนเพียงแต่การแพทย์ แต่ขาดหัวจิตหัวใจที่จะดูแลผู้คนอย่างมนุษย์
 คนหนึ่ง

หรือ

เป็นเพราะระบบการบริการสาธารณสุข ที่งานหนัก เงินน้อย ให้บริการฟรี แต่ก็ยังมีการร้องเรียนฟ้องร้องกัน ทำให้หมอขาดซึ่งอุดมการณ์ ลาออกไปทำงานเอกชนกัน จนขาดแคลนแพทย์ในชนบท

 

. . .

 

หนังสือเรื่องเล่า...นักศึกษาแพทย์เล่มนี้จึงเป็นเจตนารมย์ที่มูลนิธิแพทย์ชนบทต้องการส่งผ่านเรื่องดีๆของนักศึกษาแพทย์ ไปยังเพื่อนๆพี่ๆทั้งในวงการแพทย์และนอกวงการแพทย์ เพื่อจะได้เรียนรู้เรื่องราวแห่งชีวิตของผู้ป่วยในฐานะของมนุษย์คนหนึ่งที่ มีความคิด ความเชื่อ ความสุข ความทุกข์ อุปสรรคและข้อจำกัดที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ผมเชื่อว่า หลังจากได้อ่าน 20 เรื่องนี้จบแล้ว ไม่เพียงแต่มุมมองต่อผู้ป่วยจะเปลี่ยนไปเท่านั้น งต่อนักศึกษาแพทย์ และวงการแพทย์ก็อแต่มุมมอาจจะเปลี่ยนไปด้วย

มุมมองที่เปลี่ยนไปอาจทำให้ท่าทีเปลี่ยนไป ในสถานการณ์ที่ดูเหมือนมีปัญหาความสัมพันธ์ระห
ว่างผู้ป่วยและแพทย์ มุมมองและท่าทีที่เปลี่ยนไป

ย่อมส่งดีต่อปัญหาทั้งสำหรับแพทย์ และผู้ป่วยได้ไม่มากก็น้อย

ขอส่งกำลังใจให้แก่น้องนักศึกษาแพทย์ ได้มีโอกาสค้นพบเรื่องราวดีๆ....ค้นพบตัวตนที่อยู่ภายในของเรา ได้ฝึกถ่ายทอดเรื่องราวดีๆที่เราพบเจอ ผ่านเป็นเรื่องเล่าที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นและตนเอง แรงบันดาลใจยิ่
งให้ยิ่งงอกงาม ยิ่งถ่ายทอดยิ่งเพิ่มพูน

ขอให้น้อง ได้ให้และถ่ายทอดเรื่องดีๆที่ได้เรียนรู้ ไม่ใช่เพียงวิชาแห่งการแพทย์ แต่เป็นวิชาแห่งความเข้าใจความเป็นไปของชีวิต และไม่ใช่ด้วยหัวใจของความเป็นแพทย์ แต่ด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์


ตัดมาจาก บทบรรณาธิการ โดย
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์
(หมอบีม)
เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท


 

 

 

 

               ข้าพเจ้าเคยสงสัยว่าขึ้นปีสี่แล้วจะเรียนอย่างไร? หนังสือเล่มนี้ช่วยแก้ไขปริศนาและบอกแนวทางต่างๆที่ควรจะเป็นไป ย้ำเตือนให้เราไม่ละทิ้งอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ และสอนให้มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ .  .  .

 

                “เรื่องเล่า... นักเรียนแพทย์” เป็นหนังสือรวม 20 เรื่องเล่าที่ได้รับรางวัลและส่งเข้าร่วมโครงการเขียนเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของนิสิตนักศึกษาแพทย์ที่มูลนิธิแพทย์ชนบทจัดขึ้นและรวมเล่มจำหน่ายในราคาไม่แพงเพียง 60 บาทเท่านั้น

 

โดย เรื่องเล่าที่ได้รับรางวัลดีเด่น มีสองเรื่อง ได้แก่

 

  • ชิฟฟ่อนเค้ก โดย นศ.พ.รัฐพัฒน์   กลัดแก้ว

 

คนไข้เตียง 8 เป็นหญิงชราอายุประมาณ 80 ปี ใส่ท่อช่วยหายใจต่อกับเครื่องช่วยหายใจ ไม่รู้สึกตัว ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคุณยายขึ้นมาอยู่บอวอร์ดนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคุณยายเป็นอะไรถึงต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะตอบลูกคุณยายอย่างไรถ้าถูกถามว่าอาการของคุณยายเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งๆที่เดินผ่านเตียงคุณยายอยู่ทุกวัน

ชายคนนั้นคุยกับแม่ของเขาอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง และสิ่งที่ผมกลัวที่สุดก็เกิดขึ้น
“คุณหมอครับตอนนี้คุณแม่ของผมอาการเป็นอย่างไรบ้างครับ”
ชายคนนั้นเดินเข้ามาถามผมที่โต๊ะที่ผมนั่งอยู่
“ขอโทษนะครับ หมอไม่ทราบจริงๆเพราะไม่ใช่เจ้าของไข้ แต่เดี๋ยวหมอจะเข้าไปดูบันทึกการรักษามาให้นะครับ”

 

               จากเรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า คนไข้ ไม่ใช่ผู้ป่วยที่เราเป็นเจ้าของไข้เพียงอย่างเดียว แต่คำว่า คนไข้ หมายถึง ผู้ป่วยทุกคน เพราะฉะนั้นเราควนใส่ใจพวกเขา ให้กำลังใจและไถ่ถามอยู่เสมอ ให้คนไข้รู้สึกอุ่นใจ

 

 

  • ทุกข์ในใจ โดย นศ.พ. ธีรเดช เกลือนสิน

 

ทั้งหมอทั้งพยาบาลมีใครสักคนไหมที่รู้ว่า ที่ป้ามาไม่ตรงนัด
แล้วบอกพยาบาลว่าป้าลืมนัด ป้าจำวันผิด ยอมให้พยาบาลดุด่าเพียงเพื่อ
ให้มีคำตอบให้เหตุการณ์ขณะนั้นผ่านพ้นไป ทั้งที่จริงป้าต้องทำเป็นลืม
 เพราะเกรงใจลูกที่ต้องมาส่ง ต้องหยุดกรีดยาง ขาดรายได้
หรือบางครั้งคนมาส่งเมาเหล้าหลับลืมไม่ได้มาส่ง บางครั้งมีปัญหาสามีภรรยาทุบตีกัน
สุดท้ายคำว่า ลืม คำว่า จำวันผิด ก็เป็นวลีเพียงเพื่อลมปาก
ผ่านหูเท่านั้น
. . .
. . . ป้าเล่าให้ฟังว่าเคยน้ำตาร่วงจากเงินติดกระเป๋าต้องหมดไป

จากการต้องจ่ายค่ายา เนื่องจากลืมบัตรทอง ป้าจำไม่ลืม

และที่เสียใจมากกว่าการจ่ายยาคือ เสียงต่อว่าจากห้องบัตรดังกล่าวว่า

“ไม่รู้จักเตรียม มาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว เก็บตางค์เสียมั่งจะได้รู้สึก”

 

               เรื่องนี้เป็นเรื่องสั้นที่ยาวหกหน้า แต่ใช้เวลาอ่านไม่นาน เพราะเรื่องราวชวนติดตาม รู้สึกสงสารเห็นใจป้า พยาบาลที่รับบริการนอกจากจะพูดจาไม่เหมาะสม แล้วยังแสดงทีท่าหงุดหงิดใส่ป้าอีกด้วย ชื่อของป้าไม่มีสักคำ เรียกเพียงหมายเลขบัตรคิว สีหน้าแววตาป้าเป็นอย่างไรก็ไม่ได้รับรู้เลย สิ่งที่เค้าสนใจคือจดบันทึกลงในเวชระเบียนเท่านั้น คำถาม คำตำหนิจากคนชุดขาว จากหมอที่ป้ามาไม่ตรงนัด ความดันไม่ลด น้ำตาลไม่ลด ทำตามที่สั่งไม่ให้กินเค็ม ไม่กินมัน ไม่กินหวานทำตามบ้างหรือไม่ สารพัดคำถาม สารพัดคำตำหนิ แต่ดูเหมือนว่าตั้งแต่เช้ามาป้ายังไม่ได้บอกกล่าวอธิบายเหตุผลใดๆให้ใครฟัง สักคำเลยและดูเหมือนว่าป้าคงไม่จำเป็นต้องพูดอะไรแล้ว เพราะพยาบาลและหมอทำตามขั้นตอนที่วางไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว น่าเศร้านัก อ่านไปข้าพเจ้าก็ร้องไห้ไปด้วย ภาษาที่ผู้เล่าใช้นั้นสะท้อนอารมณ์ออกมาได้ดีมากจริงๆ และรู้สึกอินไปกับผู้เล่า

ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า การเป็นหมอนั้นไม่ใช่แค่เพียงการรักษาเพียงแต่โรคหรือการมีความรู้ที่เก่งเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการรักษาผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่มีความสุข ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ปฏิบัติต่อคนไข้ในฐานะเพื่อนมนุษย์ มีมโนธรรมในการเป็นแพทย์ มีการติดต่อสื่อสารทั้งสองทาง รับฟังความคิดเห็นและความทุกข์ลำบากของคนไข้และตอบสนองด้วยการช่วยเหลือ อย่างเต็มที่

 

                ส่วนเรื่องที่เหลือหากใครสนใจก็สามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บที่อ้างอิงไว้


               หลังจากที่ได้อ่านทั้งยี่สิบเรื่องจบแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกน้ำตารื้นๆ และความรู้สึกต่างๆหลากหลายอารมณ์ประเดประดังเข้ามาในความคิด ประทับใจผู้ป่วย ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากเรื่องเล่าเหล่านี้และอยากให้เพื่อนๆทุกคนได้อ่าน รู้สึกได้ว่าหัวใจความเป็นมนุษย์นั้นยังคงอยู่และจะเพิ่มพูนมากขึ้น อุดมการณ์ที่มีมาก็ไม่ได้ลบเลือนหายจาก มันยังคงตั้งอยู่ที่เดิมและส่องสว่างนำทางให้ก้าวต่อไปอย่างเข้มแข็ง

 

สิ่งที่ได้รับ

 

  • เรื่องราวดีๆเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าสอบเข้ามาเรียนที่คณะนี้ได้และได้ฝังอุดมการณ์ไว้ในใจของข้าพเจ้า เรื่องราวที่ถ่ายทอด ไม่ใช่เพียงวิชาแห่งการแพทย์ แต่เป็นวิชาแห่งความเข้าใจความเป็นไปของชีวิต และไม่ไช่ด้วยหัวใจของความเป็นแพทย์ แต่ด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์
  • แพทย์ที่ดีหรือแพทย์ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์นั้น อุปนิสัยที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นในตัวคือ จะต้องฝึกเป็น “ผู้ที่รู้จักฟังอย่างตั้งใจ” คือการฟังให้ได้ยินเสียงหัวใจของคนไข้ รับรู้ถึงความทุกข์ทั้งปวงของคนไข้ในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีความคิด ความเชื่อ ความสุข ความทุกข์ ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เพื่อให้เห็นปัญหาอย่างรอบด้านและลึกซึ้ง เกิดความเห็นอกเห็นใจ เกิดความเมตตากรุณา เกิดความปรารถนาที่จะปลดทุกข์ให้คนไข้
    นอกจากความรู้และทักษะการฟังแล้ว ควรได้รับการฝึกฝนการติดต่อสื่อสารกับคนไข้และญาติคนไข้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพด้วย
  • หลายคนได้รับรางวัลขอบคุณเล็กๆน้อยๆจากคนไข้หรือได้เห็นคนไข้สบายกาย สบายใจ ก็ทำให้สุขใจ ปลาบปลื้มและอิ่มเอม ต่อ งอยู่และจะเพิ่มพูนมากขึ้น อุดมการณ์ที่มีมาก็ไม่ได้ลบเลือนหายจาก มันยังคงตั้งอยู่ท เปรียบเสมือนอิ่มทิพย์ จิตใจเราก็ดีไปด้วย การช่วยคนมันดีอย่างนี้นี่เอง
  • อย่าทอดทิ้งเขาเพียงเพราะความกลัวของตัวเรา กลัวว่าจะช่วยไม่ได้ เลยไม่ได้ลงมือช่วย ไม่ได้อยู่ดูแลเขาเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือ
  • จงอย่ากลัวที่จะทำความดี อย่ากลัวที่จะอยู่นั่งลงเป็นเพื่อนคนไข้ อย่ากลัวที่จะพูดคุยกับเขาเพราะกลัวว่าจะทำอะไรผิดพลาด

 

               สุดท้ายนี้ ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆจากพี่ๆนักศึกษาแพทย์ ข้าพเจ้าพอจะรู้แล้วว่าชีวิตการเรียนแพทย์นั้นจะไปในทิศทางใด

 

 

 

 เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

http://kmcenter.rid.go.th/kmc14/book&movie/book_person4.html

 

http://www.mediafire.com/imgbnc.php/b3d22664ebfdeb40a8fca1c4fe405e444g.jpg
คำสำคัญ (Tags): #learning process
หมายเลขบันทึก: 296958เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากบทความนี้ข้าพเจ้าอ่านแล้วได้คิดไรเยอะ

มีประโยคที่ข้าพเจ้าชอบอยู่ประโยคนึง

"อย่าทอดทิ้งเขาเพียงเพราะความกลัวของตัวเรา กลัวว่าจะช่วยไม่ได้ เลยไม่ได้ลงมือช่วย "

เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากๆ เลยล่ะ ^^

ทำไมถึงเรียนหมอ? คนไข้หวังอะไรกับหมอ?

ก็เพราะ

หมอที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ รักษาได้ทั้ง คน และไข้

หนังสือนั้นอ่ะอยากได้มาอ่านซักเล่ม

เผื่อจะมีอุดมการณ์อะไรกับเขาบ้างงง

ดีนะ...มีหมอที่เก่งๆและดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท