ประชุมระดมสมอง:พัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพื่อคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


ทำอย่างไร?...เราจะได้คนดี....คนเก่ง....มาเป็นครู....หากเพียงเรายอมแบ่งปันคนดี...คนเก่ง ...ของเรา มาเป็นครู...บ้างเราก็น่าจะได้ครูที่ดี...ครูที่เก่งเพิ่มไปเรื่อยๆแน่ๆ....แต่อยู่ที่ว่า ...เราจะยอมแบ่งปัน.....หรือไม่...เท่านั้น....?

               วันที่ 11-12 กันยายน 2552 สภาการศึกษาจัดประชุมเชิงนโยบายเพื่อระดมความคิด การพัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทย ณ ห้องนภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน จังหวัดเพชรบุรี  บรรยากาศการประชุมเป้นไปแบบกัลยาณมิตร เป็นกันเอง  ปลายเปิดที่มีขอบเขต การเสนอข้อคิดแนวทางหลากหลาย ข้อมูลแน่น น่าสนใจมาก หากจะบอกว่า " ตั้งแต่เป็นข้าราชการมาได้เห็นการประชุมแบบสบายๆ ในชุดทั้งกระทรวงก็คราวนี้ แปลว่า "ที่ประชุมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม / ปลัดกระทรวง/ เลขาธิการของทั้ง 5 สำนักในกระทรวงฯ /ผู้ตรวจราชการ/รองเลขาธิการ /ผู้แทนผู้อำนวยการสำนัก/ผู้แทนที่ปรึกษา / ผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียน ....รวมประมาณ 100 คน โดยมีรมต.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์ เป็นประธานการประชุม และมีเลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกองเลขานุการฯ ประธานรองฯมาจากผู้แทน กพฐ. ต้องบอกว่ามิติใหม่ แห่งการจัดเก็บความคิดจากทั้งต้น แถมเริ่มต้นการประชุมด้วยคำถาม .... 6 คำถาม เพื่อหาผลปรากฏจากที่ประชุม คำถามมีว่า......

             1) การเรียนการสอนในปัจจุบัน สอนเด็กให้คิดวิเคราะห์หรือไม่? หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นอย่างไร?

             2) การออกข้อสอบในปัจจุบัน O-net , GAT ,PAT สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่?

             3) เด็กเรียนในห้องเรียนมากไปหรือไม่? และการเรียนนอกห้องเรียนควรทำอย่างไร?

             4) ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา /GAT/PAT เหมาะสม

หรือยัง สอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็นหรือยัง ? (ลดอัตราการออกกลางคัน)

             5) สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตมีคุณภาพตามความต้องการของประเทศหรือยัง?

             6) ระบบการวัดผล ประเมินผลในทุกมิติ เป็นระบบหรือกระบวนการที่เที่ยงตรง แม่นยำ เหมาะสมหรือไม่?  

              ที่ประชุมประกอบด้วยผู้แทน สพฐ. สกศ. สมศ. สกอ. กศน. สอศ.สทศ. สช.และผู้แทนภาคเอกชน  ซึ่งช่วงแรกเป็นการนำเสนอสถานการณ์ปัจจุบัน และปัญหา จึงมีการอภิปรายประเด็นหลัก เพื่อหาเส้นทางเดินสู่คำตอบแห่งคำถาม 6 ข้อ 6 ประเด็น ในการพัฒนาเร่งด่วนและระยะต่อไป

              ตลอดการประชุม  ประธานการประชุมไม่ไปไหนเลย นั่งฟัง บันทึก  ถามเมื่อไม่แน่ใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และก็สรุปความเข้าใจเป็นระยะๆ และใครจะพูดเสนอแนวทางและความคิด ก็ใช้วิธีเขียนชื่อส่งไปลงทะเบียนไว้ ประธานรองจัดลำดับการพูดเสนอความคิด ต่อเนื่องหลักการรับทราบสถานการณ์ของแต่ละประเด็นหลัก แต่ละคนใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที  ต้องบอกว่าบรรยากาศดีมาก เปลี่ยนแปลงการจัดเก็บข้อคิดในอีกรูปแบบ krusiriwanลงทะเบียนไว้กับเขาด้วย และได้รับความสนใจโดย ประธานฯบันทึกไว้ 2 รายการ คือ เรื่อง การเก็บข้อมูล ณ ฐานห้องเรียน โดยการศึกษาห้องเรียน และวิเคราะห์กระบวนการสอน ของครูรายคนในโรงเรียน  การพัฒนาครูด้านการไต่คำถามเพื่อออกแบบสอนการคิดวิเคราะห์  การประชุมครังนี้ ผู้แทนจากนอกวงการศึกษา มองมาที่ " คุณภาพของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความสามารถในการคิด  ยังไม่ได้ " ถามต่อว่า " ความสามารถในการคิด " เป็นเช่นไร?  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ( นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์) สรุปไว้ว่า เป้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์  การคิดสังเคราะห์  การคิดอย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดที่เป็นระบบ

 

                          

              การประชุมวันแรกตั้งแต่ 09.00น.จนกระทั่งถึง 21.00 น. (พักรับประทานอาหารกลางวันและเย็น ช่วงละ 1 ชั่วโมง) วันที่สอง ดำเนินการประชุม 08.30-12.30น. นับว่า " เป็นเวทีสู่โจทย์ที่ละเอียดยิ่งกว่าคำถามประเด็นหลักที่ รมต.กระทรวงศึกษาธิการ( นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์) เปิดไว้ก่อนเมื่อเริ่มประชุม

                           

           บทสรุป ....รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ( นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์)ประมวลโจทย์ที่ละเอียด จากเวทีสุนทรียะเสวนา เพิ่มจากคำถามหลักมากมาย  หลายประเด็น เช่น

           1) การสอบ GAT & PAT ต่ำเพราะอะไร? สอบ GAT ในชั้นม.3 ด้วยดีไหม?ทำไม? ควรสอบ GAT&PAT กี่ครั้ง? และจำเป้นต้องสอบโดยใช้เกณฑ์ 50% หรือไม่ เป็นต้น

           2) ระบบการสอบ Addmission  สัดส่วนของ Gpax หากต้องลดลงจะเหมาะสมหรือกระทบเรื่องความสนใจห้องเรียนของนักเรียนหรือไม่? ระบบการรับตรงของมหาวิทยาลัยควรออกมาในรูปแบบใดบ้าง ?นำความดีมาประกอบการคัดสรรโควต้าตรงจะเป็นอย่างไร?

          3) ระบบการแนะแนวควรพัฒนาอย่างไร?

          4) PAT ของผู้เข้าเรียนครูตรงประเด็นหรือไม่?

          5) การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยตรงตาม ความต้องการของประเทศหรือยัง?

          6) การเรียนฝึกทักษะในสถานประกอบการของอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย ควรเป็นอย่างไร? ใช้เวลามากน้อยเพียงใด?

         7) สัดส่วนการเรียนสายอาชีพ และสายสามัญทำอย่างไร?ในปี 2554 จะอยู่ที่สัดส่วน 50:50

         8) อาชีวศึกษานำเรื่อง TQF และ TBQ ที่เน้นสมรรถนะเป็นฐานเข้ามาใช้ ควรได้กำหนดมาตรฐานโดยเร็ว

         9) ทำอย่างไร?จะได้ คนดี  คนเก่ง มาเป็นครู ....มีทุน  ประกันงาน / ประกันงาน ไม่มีทุน ....นำมาใช้ได้หรือไม่?

              ทุกประเด็นที่ประชุม โจทย์ที่ได้ถูกมอบหมายเป็นการบ้านให้สภาการศึกษา จัดกลุ่ม ส่งยังผู้ประชุมเกี่ยวข้องและให้เวลา 1 เดือน ประมวลคำตอบ/แนวทาง พบกันอีกครั้งภายใต้เงื่อนไขที่ว่า " คนเดิม  ชื่อเดิม หน้าเดิม...สังกัดเดิม....มาประชุมอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2552 เมื่อครบ 1 เดือน "

              นี่คือ...บรรยากาศการประชุมเพื่อระดมความคิดการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบวันนี้ ที่ ห้งนภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี  หัวหิน.......

              ได้อะไร....จากการเล่า ....ไม่รู้เหมือนกัน  แต่ได้นะ...ได้จริงๆกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ....ที่สำคัญใครคิดอย่างไร? เสนอความคิดฝากได้เลย ในประเด็นหลักและโจทย์ละเอียด ทุกรายการ

     

หมายเลขบันทึก: 296864เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครูมัธยมไม่มีความสามารถในการออกข้อสอบ แล้วคนที่มีความสามารถออกข้อสอบได้ดี ทำไมถึงมีปัญหารุงรังตามมาให้คนอื่นเขาแก้ล่ะ บริบทของแหล่งเรียนรู้ และสภาพความเป็นอยู่ของนักเรียนที่แตกต่างกัน จะให้ได้ผลผลิตออกมาเท่ากัน ย่อมเป็นไปได้ยาก

อย่าโทษแต่ครูอย่างเดียว แล้วระบบต่างๆที่คิดกันขึ้นมา ก็มาจากคนเก่งๆกันทั้งนั้นมิใช่หรือ ใครเรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ อย่าให้มาเดือดร้อนครูเขาอีกเลย เขาดูแลตัวเองให้รอดจากวิบากกรรมความคิดของพณฯท่านทั้งหลายอยู่ทุกวันนี้ก็บุญแล้ว

ขอบคุณมาก คุณอนงค์ ที่ให้มุมมอง อยากได้ข้อเสนอแนะในการปรับกระบวนการทั้งระบบการศึกษา ในแง่ของครูผู้สอนบ้างจังเลย

เด็กไทยในยุคปัจจุบันควรได้รับการแลกปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาสังคม เพื่ออนาคตของชาติได้ โดยเฉพาะระบบการศึกษาไทย ทุกวันนี้ก็ถือว่าจัดดีอยู่แล้ว แต่ปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดก็คือครู ครูต้องมีการพัฒนาตนเอง และพัฒนาทุก ๆ ด้าน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของชาติบ้านเมืองต่อไป และขอเป็นกำลังใจให้ท่าน ผอ. ที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมเวทีสุนทรียะเสวนาเพื่อระดมความคิดการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบวันนี้ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท