ก้าวข้ามปลายปีก เรียนรู้อย่างนางนวล


การเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนด้วย ใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน

 

 

 

 

จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล โดย Richard Bach แปลโดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

เรื่องย่อ  นกนางนวลตัวหนึ่งมีนามว่า จอนะธัน ลิวิงสตัน มีรูปร่างเหมือนนกนางนวลทั่วไป หากแต่ จอนะธัน กลับไม่พึงพอใจในวิถีชีวิตของนางนวลทั่วไป ที่มีชีวิตอยู่เพื่อกิน นอน และสืบพันธุ์  จอนะธัน หลงรักในศาสตร์แห่งความเร็ว เขาใช้เวลาในท้องฟ้านับวันโดยไม่กินอะไร เพื่อเรียนรู้และคิดค้นวิธีที่จะทำให้เขาบินได้เร็วมากกว่านางนวลตัวใดที่บินมา กระทั่งในที่สุดเขาก็ถูกขับออกจากฝูงนางนวล สำหรับหลายนางนวลแล้ว การโดนขับออกจากฝูงถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงและน่าอับอายยิ่งนัก แต่สำหรับ จอนะธัน นี่คือโอกาสที่จะได้เรียนรู้อย่างอิสระ เพื่อก้าวข้ามความเร็ว อันเป็นข้อจำกัดของนางนวลทั้งหลาย เมื่อสามารถก้าวพ้นขีดจำกัดของนางนวลเป็นผลสำเร็จ เขาได้เปลี่ยนระดับของการรับรู้ (level of conciousness) ไปยังระดับที่สูงขึ้น  จอนะธันได้พบว่าแท้จริงแล้วความเร็วอันเกิดจากกายนั้นไม่ใช่ความเร็วที่สูงที่สุด หากแต่เมื่อใดที่เขาสามารถก้าวข้ามความเป็น ตัวกูแห่งกู (อัตตา) เขาก็จะสามารถไปที่ไหนก็ได้ตามใจปรารถนา แต่ในสุดท้ายจอนะธันได้ค้นพบว่า นี่ไม่ใช่จุดสุดท้ายแห่งการรับรู้ เพราะเป้าหมายสุดท้ายที่แท้จริงแล้ว คือการ "หยุดบิน" ซึ่งก็คือการหลุดพ้นจากสังสารวัฏทั้งปวง

  

การเปลี่ยนแปลงของข้าพเจ้า  ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้ ทัศนคติของการเรียนรู้ของผมคือ การอ่าน สอบ และมีคำตอบที่ตายตัว แต่ภายหลังจากที่ผมได้ปิดหนังสือเล่มนี้ลง ผมได้ตระหนักว่าแท้จริงแล้วการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เรียนด้วย ใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน ซึ่งตรงกับหลัก อิทธิบาท ๔ ที่ว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งประสบการณ์การอ่านครั้งนี้มีคุณค่าต่อชีวิตของผมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ผมเข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้น

  

การสะท้อนความคิด เมื่อดูที่ประวัติของผู้เขียนคือ Richard Bach ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่าเขาเคยศึกษาพุทธศาสนามาหรือไม่ แต่การที่ข้อความในหนังสือเล่มนี้คล้ายกับหลักธรรมของพุทธศาสนา ยิ่งทำให้ผมรู้สึกอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่งว่าธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกาลเวลา วิญญูชนพึงรับรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด แม้แต่การบินในขั้นสุดท้ายก็ย่อมแลเห็นธรรมะได้ในที่สุด

 

 

 .. ร่างกายของเธอทั้งหมดจากปลายปีกหนึ่งสู่อีกปีกหนึ่งไม่ใช่อะไรอื่น
นอกจากความคิดของเธอเอง
….

 

อ้างอิง จอนะธัน ลิวิงสตัน นางนวล : ดอกหญ้า 2000,2544 ,ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แปล 

 

หมายเลขบันทึก: 296677เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เนื้อหาลึกซึ้ง ให้แง่คิด

ดีมากๆ ไว้จะไปหามาอ่านบ้าง

  • มาชื่นชมค่ะ
  • เคยอ่านแล้ว   แต่ยังมองไม่ลึกซึ้งเท่านี้
  • ขอบคุณค่ะ

เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากเล่มนึงคับเกี๊ยก

เห็นเกี๊ยกถ่ายทอดออกมาแล้ว ไว้เสอบเสร็จจะไปหามาอ่านบ้างครับ

(เอามาให้ยืมก็ดีนะเพื่อน)

สุดยอดไปเลยย

น่าสนใจม๊ากกก

เป็นปรัชญาที่ดี คล้ายๆเหมือนกับปรัชญาของทางรัฐศาสตร์ด้วยมั้ง เหมือนจะเคยเห็น

น่าสนใจมากๆครับ

เป็นหลักที่ดีของชีวิตเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท