ศิลปะแกะสลักผักผลไม้..ได้ใจ..แต่ผลงานต้องใช้เวลา..


ศิลปะการแกะสลักเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องเอกภาพความกลมกลืนของเรื่องราวในงานปั้นหรืองานสื่อผสม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในส่วนของงานปั้นนั้นได้สอนเรื่องการปั้นภาพเรื่องราวนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว ด้วยการปั้นจากเยื่อกระดาษใช้แล้ว กับหนังสือพิมพ์ผสมกาวในงานปั้นนี้ต้องสอนควบคู่กับการแกะสลักด้วย การแกะสลักในสมัยก่อนนิยมสอนการแกะสลักไม้ ไม่ว่าจะเป็นกระดานฉลุ หรือกระดานไม้อัดก็ตาม แต่ในกิจกรรมนี้ครูผู้สอนได้ประยุกต์ให้เรียนการแกะสลักจากวัสดุอ่อน คือผักผลไม้ ขั้นแรกเลือกผักผลไม้เนื้อหนาและค่อนข้างแข็งอย่างเช่น ฟักทอง การแกะสลักฟักทองเป็นพื้นฐานของแกะสลกผักผลไม้อื่นได้เช่นเดียวกับ หัวแครอท หรือหัวไชเท้า กิจกรรมการเรียนการสอนนี้ใช้วิธีการสาธิตให้เด็กดูและทำตามค่ะ...

 

สาธิตขั้นการแกะสลักใช้แตงโมเพราะกลีบดอกเห็นชัดดีค่ะเวลาสาธิตเพราะถ้าใช้ฟักทองเด็กตะไม่เห็นเด่นชัดเพราะสีของฟักทองเป็นสีเหลืองสีเดียวแต่เวลาแกะให้นักเรียนแกะฟักทองก่อนเพราะมีลักษณะเนื้อที่เหนียวค่ะ

 

ผลงานสำเร็จค่ะ..

 

นักเรียนเขาจะเริ่มลงมือแกะสลักอย่างตั้งใจ นีคือที่มาของคำว่าได้ใจคือมีความนิยมชมชอบที่ครูสามารถแกะสลักออกมาได้สวย(ในสายตาเขานะคะ)เขาก็จะมีความรู้สึกว่าอยากแกะได้อย่างครูบ้าง..เมื่ออยากได้อย่างครูก็ต้องตั้งใจค่ะ..

 

ทำงานอย่างตั้งใจและมีความสุขค่ะ..

 

เศษฟักทองเช่นเปลือก ไส้ของฟักทองเราจะไม่ทิ้งนะคะเราจะเอาไปเลี้ยงไส้เดือนที่โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเขาเลี้ยงไว้ค่ะ..

 

สรุป 2 ชั่วโมงได้ผอบฟักทองคนละลูกและสาวน้อยจารุวรรณ บุญรอดได้ดอกกุหลาบมาส่ง..เท่านั้น..นอกนั้นต้องรอค่ะ..เขาจะทยอยมาส่งเรื่อยๆเขากลัวฟักทองเขาเน่าค่ะ..

 

วิธีสอนโดยใช้การสาธิต sep 19, '07 1:54 am

for everyone

Category: Books

Genre: Professional & Technical

Author: วิธีสอนโดยใช้การสาธิต

เขียนโดย Administrator

จันทร์, 30 ตุลาคม 2006

วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration Method)

 

1. แนวคิด

เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล ได้กล่าวไว้ดังนี้

2. ลักษณะสำคัญ

วิธีสอนแบบสาธิตเป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนรู้ ประสบการณ์ แนวทาง เช่น การฟัง การดู การสัมผัสแตะต้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ค่อนข้างสมบูรณ์

3. วัตถุประสงค์

1. ให้ผู้เรียนได้รับรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ทางตา หู จมูก ลิ้น และการสัมผัส

2. มุ่งให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์กว้างขึ้น

3. ให้ผู้เรียนได้เข้าใจลำดับขั้นต่าง ๆ และสามารถสรุปผลได้

4. เป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติไปพร้อมกับวิธีการสอนวิธีอื่น ๆ ด้วยได้

 

4. จำนวนผู้เรียน

 

การสาธิตเป็นการแสดงให้ดู การลองทำหรือผู้เรียนได้มีโอกาสปฏิบัติ ดังนั้นการจัดกลุ่มผู้เรียนต้องไม่มากเกินไป เช่น 5-7 คน หรือน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มผู้เรียนจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย วิธีการสาธิต สถานที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสาธิต

 

5. ระยะเวลา

ระยะเวลาของการสาธิตขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการจัดเนื้อหา เรื่องราวที่จะสาธิตเป็นสำคัญหากมีขั้นตอนและเนื้อหามาก การสาธิตก็ต้องใช้เวลานาน หรืออยู่ที่วิธีการสาธิต บางอย่างผลของการสาธิตต้องอาศัยเวลานานจึงจะเห็นผลที่เกิดขึ้น แต่กิจกรรมสาธิตบางเรื่องสามารถเน้นผลได้ในทันที

 

6. ลักษณะห้องเรียน

การสอนแบบสาธิต อาจจะแบ่งลักษณะของห้องเรียนหรือสถานที่ได้ 3 รูปแบบ คือ

6.1 การสาธิตในห้องทดลอง กระบวนการสาธิตในลักษณะนี้จะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ในห้องทดลอง เช่น การสาธิตเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ การผสมสารเคมี ซึ่งต้องใช้ความละเอียดอ่อนและขั้นตอน ผู้สาธิตต้องรู้และเข้าใจกระบวนการสาธิตเป็นอย่างดี เพราะรูปแบบการสาธิตวิธีนี้บางครั้ง หากทำผิดพลาดอาจจะเกิดเรื่องเสียหายได้

6.2 การสาธิตในห้องเรียน รูปแบบการสาธิตวิธีนี้อาจจะเป็นการสาธิตเรื่องราวต่าง ๆ ของบทเรียนที่มี ไม่จำเป็นต้องทำในห้องทดลอง และบางครั้งก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เช่น การสาธิต วิธีการ การสาธิตท่ายืน เดิน นั่ง การสาธิตท่ากราบไหว้ที่ถูกต้อง เป็นต้น

6.3 การสาธิตนอกห้องเรียน การสาธิตรูปแบบนี้อาจจะต้องใช้สถานที่นอกห้องเรียน เช่น สนามกีฬา หรือในแปลงสาธิตทางการเกษตร เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยสถานที่ หรือบริเวณกว้างขวางกว่าห้องเรียน

 

7. ลักษณะเนื้อหา

รูปแบบการสอนแบบสาธิตสามารถใช้ได้กับเนื้อหาในทุกวิชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการสอน และผู้สอนวิเคราะห์แล้ว การใช้กิจกรรมการสาธิตจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เช่น การทดลองวิทยาศาสตร์ การสาธิตวิธีการประกอบอาหาร หรือการสาธิตการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายในท่าที่ถูกต้อง ฯลฯ จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายของการสอนแบบสาธิตคือ ต้องการให้ผู้เรียนได้เน้นกระบวนการของเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปฏิบัติได้

 

8. บทบาทผู้สอน

วิธีสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของผู้สอนมากกว่าผู้เรียน ทั้งนี้การสอนแบบสาธิตจะมีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโดยต้องการทำให้ดู และการบอกให้เข้าใจ บางครั้งเรื่องที่สาธิตนั้นอาจจะมีขั้นตอนหรือต้องอาศัยความชำนาญการในการทำ หรือบางครั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตนั้นมีราคาแพง หรือแตกหักชำรุดง่าย ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำเสียเอง อย่างไรก็ตามการสาธิตที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมด้วย โดยเฉพาะหากการเรียนการสอนเน้นอยู่ที่ตัวผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีโอกาสได้สาธิตด้วยตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรง

 

9. บทบาทผู้เรียน

วิธีสอนแบบสาธิตโดยทั่วๆ ไป ผู้เรียนจะมีบทบาทน้อยเป็นเพียงผู้ดูและผู้ฟัง อาจจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย เท่านั้น แต่การสาธิตที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด ยิ่งถ้ามีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงด้วยคือ มีโอกาสได้ปฏิบัติภายหลังการสาธิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

 

10. ขั้นตอนการสอน

ก่อนการสาธิต มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

1. การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่างเป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน เช่น การสาธิต ขั้นตอนการยิงลูกโทษ การสาธิตการเตะตะกร้อ และการสาธิตบางเรื่องต้องการสาธิตให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น การสาธิตในห้องทดลอง

2. การเตรียมการ ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน

ขณะทำการสาธิต

ผู้สอนควรอธิบายหรือบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจเสียก่อน โดยเฉพาะควรจะบอกวัตถุประสงค์ของการสาธิตให้ผู้เรียนได้ทราบ หลังจากนั้นจึงนำเข้าสู่การสาธิต โดยการอธิบายให้ฟังหรือใช้สื่อต่าง ๆ อาจจะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยายหรือวีดิทัศน์ หรือวิธีการที่ผู้สอนทั่วไปใช้คือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อน โดยให้ไปอ่านเอกสาร หนังสือ หรือค้นคว้าเรื่องราวที่สาธิตนั้นก่อน ก็จะทำให้การสาธิตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจน

ในขณะสาธิตผู้เรียนสาธิตต้องดำเนินการสาธิตไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อาจจะสลับด้วยการบรรยายแล้วสาธิต วิธีที่จะทำให้บรรยากาศการสาธิตเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิตตลอดเวลา อาจจะเป็นการถามนำ กระตุ้น หรือให้ผู้เรียนช่วยสาธิตเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้สาธิตก็ต้องสาธิตหลาย ๆ ครั้ง หรือให้ผู้เรียนทำตามไปด้วยเป็นขั้น ๆ ผู้สอนจะต้องชี้แนะหรือเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนสาธิตจำเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี

ภายหลังการสาธิต

เมื่อการสาธิตจบลงแล้ว การย้ำเน้นเรื่องราวที่สาธิตไม่ว่าจะเป็นการสาธิตกระบวนการหรือสาธิตผู้สอนก็ต้องให้มีการสรุป ทั้งนี้ผู้ดูหรือผู้เรียนเป็นผู้สรุปเอง โดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน หรือบางครั้งการจัดอาจจะจบลงด้วยการสรุปโดยวีดิทัศน์ หรือสไลด์ประกอบเสียง โดยการสอบถาม แจกแบบสอบถาม แบบทดสอบ ทั้งนี้อยู่ที่ระยะเวลาที่เหลือ

 

11. สื่อการสอนแบบสาธิต

การสอนแบบสาธิตก็เช่นเดียวกับวิธีการสอนแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่การสาธิตนั้นหากเป็นการสาธิตที่ไม่ใช้วัสดุ อุปกรณ์ใด ๆ ตัวผู้สอนจะเป็นสื่อที่สำคัญ ดังนั้นผลของการสาธิตจะบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับผู้สอน แต่แนวทางที่จะให้การสอนแบบสาธิตเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบการสอนแบบสาธิตซึ่งต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ก่อนการสาธิตจนกระทั่งหลังการสาธิต

 

12. การวัดและประเมินผล

การสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมิน อาจจะโดยการสังเกต วิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม

 

13. ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี

1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง

2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน

3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง

4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา

5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

ข้อจำกัด

1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง

2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี

3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย

4) บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา

 

14. การปรับใช้การสอนสาธิตโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขั้นเตรียมการสาธิต

ผู้สอนต้องเตรียมการให้ดี ไม่ว่าการเตรียมเนื้อหา บทบาทการสาธิตส่วนใหญ่จะเป็นของผู้สอนแต่เนื้อหาหรือจุดมุ่งหมายในส่วนใดที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ทัศนคติ บทบาทในส่วนนั้นจะเน้นที่ผู้เรียนมากกว่าผู้สอน การเตรียมกระบวนการ เตรียมสื่อที่จะสาธิต และเตรียมกิจกรรมที่จะสาธิตต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เมื่อสาธิตจบแล้วควรมีการวางแผนว่าจะทำกิจกรรมอะไรต่อไปโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด

ขั้นการสาธิต

ผู้สอนควรใช้วิธีการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้สาธิตเป็นคนทำ แต่ในบางครั้งก็ให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยสาธิต อธิบายหรือตอบคำถาม ผู้สาธิตควรใช้สื่ออื่น ๆ ที่เร้าความสนใจได้มากกว่าคำพูดประกอบ เช่น ของจริง ของตัวอย่าง แผ่นโปร่งใส สไลด์ หรือภาพฉาย ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวบนจอ ในขณะสาธิตจะต้องเน้น ต้องย้ำ การที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง (Feedback) ตลอดเวลา เช่น การซักถาม การอธิบายเสริม การได้มีกิจกรรมเสริมอื่น ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมุติ สถานการณ์จำลอง การเล่นเกม ผู้สาธิตพยายามให้ผู้ดูมีส่วนร่วมมากที่สุด ที่สำคัญผู้สาธิตต้องมีความสามารถที่จะต้องจูงใจให้ผู้เรียนติดตามตลอดเวลา การจูงใจทำได้หลายวิธี เช่น การถามตอบ การให้เพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน เป็นต้น

ภายหลังการสาธิต

ผู้เรียนควรมีโอกาสทำกิจกรรมเสริมอื่น ๆ ที่จะช่วยเน้นย้ำ เรื่องราวที่ได้เห็นการสาธิตมาเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในเรื่องที่เรียนและจำได้นาน ส่วนการประเมินการสาธิตถ้ามีโอกาสก็ควรให้ผู้เรียนได้รู้ว่ามีความเข้าใจหรือรู้เรื่องที่ได้เห็นการสาธิตมาเพียงใด ซึ่งการวัดและประเมินในส่วนนี้ถ้าทำได้ทุกครั้งก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่มีเวลาอาจจะไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง แต่ในส่วนของผู้สอนนั้นอาจจะประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่าสนใจ หรือเอาใจใส่เพียงใด การประเมินจะเป็นวิธีการพัฒนาการสาธิตของผู้สอนได้เป็นอย่างดี

ที่มา...http://jerasuk.multiply.com/reviews/item/4

 

หมายเลขบันทึก: 296493เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

มาดูวิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration Method) "ปฏิบัติให้เห็น...ดีกว่าบอกให้ทำ"

Pใช่จ้า..เด็กชอบดูเขาแกะล่ะตะเอง..ดูจนกว่าจะอิ่มเลยล่ะ..หารู้ไม่ครูมือจะหงิก..ทุกผอบต้องมีฝีมือครูขึ้นต้นไว้ให้ทุกอัน..พวกพ่อคุณแม่คุณทั้งหลายจึงจะมีกำลังใจแกะ..ขี้อ้อนจริงๆเด็กเทศบาลอิๆๆๆ

น้องอ้อยเล็กคะ  นักเรียน คงได้ใจกันมากเลย น้องอ้อยเก่งจังเลย คงจะได้นัก แกะสลักรุ่นเยาว์ ไปเรื่อยๆ จนถึงรุ่นใหญ่ รุ่นเล็กแกะสลักผลไม้  รุนใหญ่แกะสลักหิน สลักไม้ สลักเหล็ก  สลักแหวน ก็คงจะมาจาก นักเรียน แต่ละรุ่นที่ ผ่านมาให้ครูออ้อยได้ใจ อยู่

ขอชมชเยมากมายเลยนะคะ พี่สุแกะสลักไม่เป็นเลย มีแต่ชื่นชมคนที่มีความสามารถ เมื่อพี่สุไม่เป็น  พี่สุก็ต้องชมเชยคนที่เป็น เพราะเขาทำได้ ทำได้เยี่ยมยอดด้วยคะ 

ขอบคุณน้องอ้อยเล้กที่นำภาพ พระจันทร์สวยมาให้ เดี๋ยวพี่สุแต่งกลอนเพราะๆ แล้วจะเอาประดับบทความคะ ขอบคุณมากมายเลย ไปหละ ดีใจที่หากันพบ และคิดถึงกันคะ

Pขอบคุณพี่สุค่ะ..เช่นกันค่ะการชื่นชมเป็นสิ่งที่เราแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา..ขอบคุณดกทูโนและพี่สุนะคะ..หรือจะขอบคุณวาสนาที่นำพาเรามาพบกันเป็นเพื่อนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยใจจริงค่ะ..

ทั้งสามสาวเรียนแกะสลักพร้อมอ้อยค่ะ..อ้อยมาเรียนแกะสลักกับครูรุ่นพี่ที่โรงเรียนในตอนเย็นค่ะ...ชื่ออาจารย์ วรรชย์ฤณ สุขเกษม ปัจจุบัน 2 คนแรก ได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันแกะสลักระดับประเทศที่เมืองทองธานีเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมาค่ะ..ส่วนอ้อยได้นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนสอนสืบต่อมาค่ะ.. ต้องขอบคุณคุณครูวรรชย์ฤณ สุขเกษมไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ..

 

มาทักทายและดูกิจกรรมดีๆ อะไรสวยๆค่ะ

รักษาสุขภาพนะคะ

ขอบคุณพี่มากมายนะคะ  ที่แวะไปทักทาย

Pขอบคุณสายธารเช่นเดียวกันค่ะที่มาเยี่ยมกันนะคะ..

  • เอามาฝากน้องอ้อยจ้ะ
  • ผ่านไปเจอมา จึงเก็บภาพมาฝาก
  • ขอบใจที่เข้าไปทักทายพี่เสมอ ๆ จ้ะ
  • เรียนใกล้จบหรือยัง

เรื่องแกะสลักผักผลไม้นี่ ค่อยคุยกะน้องแมวชาติหน้าเลย 55 ไม่ได้ใจก็ไม่เอาก็ได้ อิอิ น้องๆเขาเก่งกันจัง นับถือๆจริงๆ เยี่ยมมาก

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียแวะมาเรียนรู้ ศิลปะแกะสลักผักผลไม้อีกครั้งค่ะ..
  • ตอนเรียนก็ลองทำอยู่นาน ลองแล้วลองอีก และลองอยู่หลายชนิด ทั้งแตงโม ฟักทอง มะละกอ
  • ปรากฏว่าผักผลไม้เหล่านั้นไม่ค่อยทนค่ะ เพราะกว่าจะเสร็จทั้งดำด่าง และช้ำเละๆพอสมควร..ที่จริงฝีมือก็ดีค่ะ อิอิ ผักผลไม้ไม่ทนเอง..

P..น้องซิลเวียร์แกะสลักรับปีใหม่อีกครั้งก็ได้นะคะ...สวยดีค่ะ...

ภาพกิจกรรมการแกะสลักในบล็อกหาย..ปีหน้ามีเวลาจะกลับมาแก้ไขใหม่นะคะ..ขออภัยทุกท่านๆที่เข้ามาเยี่ยมชม ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ...

rhdyjru gf keyfmehbgkiery,kghl08rygol8p;jhrelgykmegf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท