การจัดการรายกรณีในงานสังคมสงเคราะห์ราชทัณฑ์


การจัดการรายกรณีในงานราชทัณฑ์

               

                การจัดการรายกรณีในงานราชทัณฑ์ (CORRECTIONS CASE MANAGEMENT ) หมายถึงการให้บริการแบบบูรณาการโดยมีผู้จัดการวางแผนการจัดการรายบุคคล และประสานเชื่อมโยงช่วยเหลือผู้กระทำผิดให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกระทำผิด และเตรียมตัวคืนกลับสู่ชุมชนอย่างปกติสุข    หัวใจที่สำคัญของ การจัดการรายกรณีคือ ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างผู้ต้องขังกับเจ้าพนักงานในชุมชน และพนักงานในเรือนจำ โดยผ่านกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ต้องขังดำเนินตามแผนงานของแต่ละคนที่วางไว้ (แผนการจัดการรายบุคคล)

วัตถุประสงค์ของการจัดการรายกรณี

1.       ติดตามสนับสนุนให้ผู้ต้องโทษปรับพฤติกรรม

2.       ปรับปรุงความมั่นคงและการควบคุม

3.       ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องโทษกับเจ้าหน้าที่

4.       ปรับปรุงและการติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ต้องโทษ

5.       ตัดความซ้ำซ้อนด้วยให้บริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

6.       ปรับปรุงการดูแลจากหน่วยงานสู่หน่วยงานจาก เรือนจำสู่เรือนจำ และจากผู้ต้องโทษสู่ชุมชน

แผนการจัดการายบุคคล (IMP)

แผนรายบุคคลจะต้องประกอบด้วย การจำแนกผู้ต้องขังและโครงการบำบัดฟื้นฟูที่จะช่วยให้ผู้ต้องขังปรับตัวอยู่ในเรือนจำและชุมชนได้อย่างสงบสุขภายหลังพ้นโทษโดยไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ แผนรายบุคคลจะต้องสะท้อนให้เห็นแนวคิด การพัฒนาสังคมของผู้กระทำผิด สวัสดิการสังคมและการควบคุมทางสังคม

                แผนการจัดการรายบุคคลเป็นเอกสาร/ข้อมูลที่มีแนวทางในการจัดการช่วยเหลือผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษในด้านต่างๆ ดังนี้

§         อัตราความมั่นคง (Security Rating)

§         การจำแนกผู้ต้องขังในเรือนจำ (Placement)

§         โครงการที่ผู้ต้องขังต้องการจำเป็นเข้ารับบริการ

§         ความต้องการจำเป็นด้านสุขภาพ

§         การศึกษา การฝึกอาชีพ

§         การจ้างงาน/การทำงาน/การมีรายได้

§         กำหนดการปล่อยตัว/พักการลงโทษ/การเยี่ยมบ้าน

§         การทบทวนระยะเวลาการต้องโทษ

               

                แผนการจัดการส่วนบุคคล มุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องขัง/ผู้ต้องโทษกับผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ช่วยเหลืออื่นๆ แผนจะต้องเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่จะทำให้ผู้ต้องโทษก้าวหน้า ผ่านระบบการช่วยเหลือ ซึ่งระบุความต้องการจำเป็นที่ต้องการดูแลใส่ใจในกระบวนการบำบัด/ฟื้นฟูหรือการศึกษา/การฝึกอบรม

                ในระหว่างการช่วยเหลือผู้จัดการ และผู้ต้องโทษต้องพัฒนาความสัมพันธ์อันก่อให้เกิดความรับผิดชอบอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ต้องโทษจะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการติดตามประเมินผล และทบทวนแผนตลอดเวลา

 

กระบวนการของการจัดการรายกรณี

1.       การประเมิน เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาความต้องการจำเป็นเพื่อจัดทำแผนการช่วยเหลือรายบุคคล

2.       การประชุมรายกรณี เป็นการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ต้องขังเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของผู้ต้องขัง

3.     แผนรายบุคคล เป็นแผนปฏิบัติการในการพัฒนาบำบัดฟื้นฟูผู้ต้องขังทั้งในเรือนจำและการแก้ไขในชุมชนโดยวางแผนกิจกรรมหรือบริการให้ตรงตามความต้องการจำเป็นตามที่ประเมินไว้หรือตามที่การประชุมรายกรณีได้เสนอแนะไว้

4.     การประสานเชื่อมโยงและการทบทวนแผน เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ให้ผู้ต้องขังได้รับบริการหรือเข้าร่วมโครงการต่างๆแล้วมีการติดตามผลความก้าวหน้าหรือทบทวนแผนหากมีข้อบกพร่องหรืออุปสรรคอันจะทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนที่วางไว้เดิม

5.     การพิทักษ์สิทธิ เป็นการสนับสนุนให้ผู้ต้องขังได้รับบริการตามความต้องการจำเป็นและผู้ต้องขังมีส่วนร่วมในกิจกรรมโครงการอย่างมีนัยสำคัญ

6.       ยุติบริการเมื่อผู้ต้องขังครบวาระต้องโทษและกลับคืนสู่ชุมชน

 

หน้าที่ของผู้จัดการรายกรณี ( นักสังคมสงเคราะห์ )

1.     สัมภาษณ์รวบรวมข้อมูลและประเมินระดับความมั่นคงและความเสี่ยงของผู้ต้องขังรวมทั้งความต้องการจำเป็นเข้าร่วมโครงการปรับพฤติกรรม เตรียมจัดทำรายงานประวัติผู้ต้องขังและโปรแกรมที่ผู้ต้องขังต้องเข้าร่วม

2.     ทบทวนและพิจารณางานที่มอบหมายผู้ต้องขังเข้าร่วมและจัดทำความก้าวหน้าในการปรับพฤติกรรม หรือเปลี่ยนโครงการหรืองานที่มอบหมายให้ผู้ต้องขัง

3.     ให้คำแนะนำผู้ต้องขังในปัญหาส่วนตัว  ปัญหาครอบครัว  และการปรับตัวในเรือนจำ  แหล่งงาน  การฝึกทักษะอาชีพ  การศึกษา  และการฝึกอบรม

4.       จัดโปรแกรมให้แก่ผู้ต้องขัง สามารถคืนกลับสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถติดตามหลังพ้นโทษ

5.       พิจารณาความเหมาะสมของจดหมายเข้าและออกของผู้ต้องขังที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล

6.       ช่วยเหลือหรือจัดทำรายงานการพักการลงโทษหรือตามคำสั่งของศาล

7.       พัฒนา  ติดตาม  ปรับปรุง  แผนการเปลี่ยนผ่านของผู้ต้องขังในการคืนกลับสู่สังคม (ปรับการให้บริการและโครงการ)

8.     จัดตั้งเครือข่ายสังคมเพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ต้องขังทั้งในระยะเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและหลังปล่อย  ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว  ชุมชน  และองค์กรบริการสังคม

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 296295เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2009 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท