ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient : E.Q.)


“E.Q.” คือ ชื่อย่อของ Emotional Quotient หรือ เชาว์อารมณ์ (Emotional Intelligence) ซึ่งหมายถึง ความสามารถใน การตระหนักรู้ถึง ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น เพื่อการสร้างแจงจูงใจในตนเองบริหารจัดการอารมณ์ต่าง ๆ ได้ (Goleman, 1998)

วันนี้ ผู้เขียนมานั่งทำสื่อการเรียนรู้ เรื่อง วามฉลาดทางอารมณ์ เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลในด้านเหล่านี้เป็นข้อมูลในการคัดกรองนักเรียน ำไปสู่การจัดการเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลมากขึ้น...เลยถือโอกาสเขียนเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไว้พอสังเขป...

ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ E.Q. ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อและมุมมองต่อสูตรแห่งความสำเร็จ ในเรื่อง การเก่งคน เก่งคิด และเก่งดำเนินชีวิต (Cooper, and Sawaf, 1997) คนที่คิดแก้ปัญหาเฉพาะทางได้ดี หรือ มี I.Q. (Intelligent Quotient) สูง หรือวามเฉลียวฉลาดทางสติปัญญาสูงอาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจหรืองานทางด้านบริหาร (Gibbs, 1995) ก็ได้

วามฉลาดทางอารมณ์   คืออะไร
         ความฉลาดทางอารมณ์ หรือเชาวน์อารมณ์ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Emotional Quotient หรือ EQ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ได้รับ ความสนใจจาก นักการศึกษาและนักจิตวิทยาอย่างมาก ใน ค.ศ. 1990 Peter Salovey และ John Mayer กล่าวถึง วามฉลาดทางอารมณ์ว่า เป็นรูปแบบ หนึ่งของความฉลาดทางสังคม ที่ประกอบด้วยความสามารถในการรู้อารมณ์และความรู้สึกของ ตนเองและผู้อื่น สามารถแยก ความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้นและใช้ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้ นำในการคิดและการทำสิ่งต่าง ๆ

ต่อมา Danial Goleman (ค.ศ.1995) ได้เขียนหนังสือเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความฉลาดที่เกิดจาก การประสานงานระหว่างอารมณ์ (Emotional) กับเหตุผล (Rational) หรือ การทำงานของ จิตใจ (Heart) กับสมอง (Head) ประกอบด้วย ความสามารถในการควบคุมตนเอง การมีใจ จดจ่อและความเพียร และความสามารถจูงใจตนเอง

ำหรับประเทศไทย  กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข  ได้ให้ความหมายของ “ความฉลาดทางอารมณ์” ว่า ระกอบด้วย เก่ง ดี มีความสุข

ก่ง ายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและ แสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยความสามารถ ต่อไปนี้

1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
- รู้ศักยภาพตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย

2. ตัดสินและแก้ปัญหา
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
- มีความยืดหยุ่น

3.  มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความเห็นที่ขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

  หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองรู้จักเห็นใจ ผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้

1.   ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
- แสดงออกอย่างเหมาะสม

2.   เห็นใจผู้อื่น
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจและยอมรับผู้อื่น
- แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม

3.   รับผิดชอบ
- รู้จักให้ / รู้จักรับ
- รับผิด/ให้อภัย
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประกอบด้วย

1. ภูมิใจในตนเอง
-
เห็นคุณค่าตนเอง
- เชื่อมั่นใจตนเอง

2. พึงพอใจในชีวิต
- มองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่

            3. มีความสงบทางใจ
          - มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
          - รู้จักผ่อนคลาย
          - มีความสงบทางจิตใจ

       เป็นความหมายง่ายๆ ที่เข้ากับวิถีชีวิตของคนไทย หลักการที่อาจจะมากมาย แต่หากเราทำได้ นั่นคือ สิ่งที่มีหลักชัยสำหรับความสำเร็จที่รออยู่ข้างหน้า

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 295893เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2009 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีคะ

* ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ แบบนี้

* ว่าแต่ว่า ทำความดี กับการรักษาความดี อย่างหลังน่าจะต้องใช้ความเพียรอย่างสูงทีเดียว?

* รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

อีฟ

  • สวัสดีคะ miss phatpanich eve timsakul
  • ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • ผู้เขียนก็เห็นด้วยกับ สิ่งที่คุณอีฟ เขียนคะ
  • "ความเพีัยร" จะชนะทุกสิ่ง...
  • ดังเช่น "พระมหาชนก" ท่าน คะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท