กว่าจะมาเป็น Master Plan (แสนเหนื่อย)


การทำงานที่ต้องเดินทาง แสนจะเหนื่อยล้า แต่ความโชคดีก็แฝงอยู่ในการทำงานเสมอ เนื่องจากที่ที่ไป ยังคงเป็นสถานที่ที่เป็นธรรมชาติ ได้พบ ได้เห็น ความเป็นธรรมชาติ ทั้งของผู้คน วิถีชีวิต และธรรรมชาติอย่างแท้จริง

วันที่ 19 พฤษภาคม 2549 มีโอกาสได้ออกสำรวจพี้นที่หนองหาน เพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดทำแผนแม่บท

        อาจจะเนื่องจากอาทิตย์ก่อนเดินทางตลอด ร่างกายก็เลยไม่ค่อยจะสุขภาพ ช่วงนี้ค่อนข้างเบื่อการเดินทางมากๆๆๆ และวันที่จะไปหนองหาน ก็ต้องตื่นเช้ามากๆ อีกเหมือนกัน ซึ่งปกติก็ทำไม่ค่อยได้ การตื่นเช้านี้นะ

        แต่การไปถึงหนองหานแต่เช้า ก็ทำให้พบความเป็นธรรมชาติของพื้นที่นี้ ได้เห็นบัวแดง กำลังบานอย่างสวยงาม (ถึงแม้จะเห็นน้อยไปนิดนึง เนื่องจากเริ่มจะสายแล้ว บัวเริ่มหุบแล้ว)  ชาวบ้านขนานนามที่แห่งนี้ว่า "ทะเลบัวแดง" เห็นหมู่นกมากมาย มองเห็นไกลลิบลับสุดสายตา และก็เห็นชาวบ้าน ชาวประมงที่กลับจากหาปลา  บางคนกลับจากไปหาหอยเชอร์รี่ (Gloden apple snail) และเก็บสายบัว เนื่องจากเย็นวันนี้จะมีตลาดชุมชนในตำบล ชาวบ้านหลายคนจึงมาหาอาหารเพื่อนำไปขายในตลาด  วิถีชีวิตรอบหนองหาน กุมภวาปี  มีอีกหลายอย่าง แล้วจะทยอยเล่าให้ฟังเรื่อยๆ นะคะ เพราะคงต้องออกสำรวจสนามอีกหลายรอบพอสมควร

      ข้อมูลพื้นฐานและความป็นมาที่ต้องทำงานนี้ (master plan)

      หนองหานกุมภวาปี  มีพื้นที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพงหญ้าชื้นแฉะ  มีเกาะ 2 เกาะคือดอนแก้วและดอนป่า  เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รองจากหนองหาร สกลนคร) เป็นแหล่งอพยพนกในฤดูหนาวจากยุโรป  จีน  และตะวันออกกลางที่สำคัญ  สถานภาพเดิม (ปี 2542) พบนกน้ำกว่า 74 ชนิด  พันธุ์ปลาอย่างน้อย 39  ชนิด ที่เป็นสายพันธุ์เฉพาะถิ่น ซึ่งกำลังอยู่ในสถานภาพถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ  อันเนื่องมาจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุ่มน้ำโดยขาดการวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
           และผลจากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ (อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ) ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541  ปี 2542  สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินโครงการสำรวจทำบัญชีรายชื่อ สถานภาพ และฐานข้อมูลพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (National Inventory of Natural Wetland in Thailand)   และพิจารณาจัดกลุ่มลำดับความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็น  พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ  พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ   พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่น  และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญเร่งด่วน  สมควรได้รับการเสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site)    9 แห่ง    ทั้งนี้ หนองหานกุมภวาปี ได้ถูกจัดให้อยู่ในประเภทพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ  ทั้งนี้คณะอนุกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำได้กำหนดมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติ ประเด็นหนึ่ง คือ ให้มีการจัดทำแผนแม่บทการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

  

หนองหานยามเช้า

บัวหลวง (บน)  วิถีชีวิตการหาอยู่หากินของชาวบ้าน รอบหนองหาน(ล่าง)

สายบัว ช่างขาวจั๊วเสียจริง               ปลาตัวเล็กตัวน้อยที่ชาวบ้านเอามาทำปลาแดดเดียว

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29543เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากกินแกงสายบัวจัง มันน่าหร่อย...

  • บรรยากาศดีมากเลยครับ
  • รูปภาพก็สวย
  • เปลี่ยนรูปใหม่แล้ว...อึ้งไปเลย

 

ยิ้ม และยิ้ม  .........แปลว่า อะไรน้อ  แต่ก็ขอบคุณนะคะ

เรียนอ.กัลยาขณะนี้ดิฉันทำวิจัยเรื่องหนองหาน ไม่ทราบว่า สถานภาพเดิมปี 2542 เป็นข้อมูลที่หน่วยงานใดเป็นผู้ศึกษาคะ

ขอความกรุณาตอบด้วยนะคะ นักศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท