การบริหารงานวิชาการ 3


การบริหารงานวิชาการ

การบริหารงานวิชาการ

     ขอบข่ายและภารกิจการบริหารงานวิชาการตามหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
     5.  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          5.1  จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
          5.2   ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
          5.3  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
          5.4  จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
          5.5  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
          5.6  จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ กับบิดามารดา  และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
          5.7  ศึกษาค้นคว้าพัฒนารูปแบบหรือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ก้าวหน้า เพื่อเป็นผู้นำการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับสถานศึกษาอื่น
      6.  การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          6.1  กำหนดระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาโดยให้สอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ
          6.2  จัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
          6.3  วัดผล ประเมินผล เทียบโอนประสบการณ์  ผลการเรียนและอนุมัติผลการเรียน
          6.4  จัดให้มีการประเมินผลการเรียนทุกช่วงชั้น และจัดให้มีการซ่อมเสริมกรณีที่มีผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
          6.5  จัดให้มีการพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผล
          6.6  จัดระบบสารสนเทศด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนเพื่อใช้ในการอ้างอิง ตรวจสอบและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน
          6.7  ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมิน การเรียนด้านต่าง  ๆ รายปี/รายภาคและตัดสินผลการเรียนการผ่านช่วงชั้นและจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          6.8  การเทียบโอนผลการเรียนเป็นอำนาจของสถานศึกษาที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ได้แก่  คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบและตามอัธยาศัย  คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน และเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการพร้อมทั้งให้ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติการเทียบโอน
      7.  การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          7.1  กำหนดนโยบายและแนวทางการใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการทำงานของนักเรียน  ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา
          7.2  พัฒนาครูและนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับ  การปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นสำคัญในการเรียนรู้ที่ซับซ้อนขึ้นทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิด การจัดการ  การหาเหตุผลในการตอบปัญหา การผสมผสานความรู้แบบสหวิทยาการและการเรียนรู้ในปัญหาที่ตนสนใจ
          7.3  พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัย
          7.4  รวบรวม และเผยแพร่ผลการวิจัยเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งสนับสนุนให้ครูนำผลการวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนา  การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
      8.  การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้  กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของสถานศึกษา  ดังนี้
          8.1  จัดให้มีแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้พอเพียงเพื่อสนับสนุนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองกับ    การจัดกระบวนการเรียนรู้
          8.2  จัดระบบแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น พัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้   จัดให้มีห้องสมุดหมวดวิชา ห้องสมุดเคลื่อนที่ มุมหนังสือในห้องเรียน  ห้องพิพิธภัณฑ์  ห้องมัลติมีเดีย  ห้องคอมพิวเตอร์  อินเตอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ  ศูนย์วิทยบริการ  Resource Center สวนสุขภาพ  สวนวรรณคดี สวนหนังสือ
          8.3  จัดระบบข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนของสถานศึกษาของตนเอง เช่น  จัดเส้นทาง/แผนที่และระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุดประชาชน  ห้องสมุดสถาบันการศึกษา  พิพิธภัณฑ์  พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
          8.4. ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้  ทั้งในและนอกสถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้  และนิเทศ  กำกับติดตาม  ประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 295429เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท