พระราชบัญญัติ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง : แสงสว่างที่ปลายถ้ำจุดเริ่มต้นที่ต้องร่วมไม้ร่วมมือกัน


แม้ว่าในเนื้อหารายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะต้องมีการแก้ไขในอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะในส่วนของ คณะกรรมการการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่ ควรใช้มาตรฐานเดียวกับ คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ที่มีผู้แทนจากทุกฝ่ายครอบคลุมการที่กำหนดไว้ในฉบับร่าง ซึ่งในประเด็นนี้คงต้องใช้เวทีของการเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้

พระราชบัญญัติ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง : แสงสว่างที่ปลายถ้ำจุดเริ่มต้นที่ต้องร่วมไม้ร่วมมือกัน

 

หลังจากที่คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ออกมาตรการจัดระเบียบเมือง โดยตั้งใจจะใช้สนามหลวงเป็นจุดเริ่มต้นประชาสัมพันธ์ ถ้ามองตามแผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ ต้องถือว่าทำได้ประสบความสำเร็จ เพราะพรรคการเมืองพรรคนี้เขารู้จุดเปราะบางของสังคมดีว่า จะทำเรื่องนี้ แตะที่ไหนจะเป็นประเด็น และจะสร้างภาพให้แก่พวกเขาได้ และในขณะเดียวกัน คนทำงานที่จับตาประเด็นเรื่องนี้อยู่ก็รอจังหวะในการใช้สถานการณ์นี้ เร่งรัดให้ รัฐบาลที่อยู่พรรคเดียวกันกับ คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผลักดันและดำเนินการในเรื่องของการเสวนาเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการและระยะยาวให้ครอบคลุมถึงคนไร้ที่พึ่งทุกกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่การนำรพะราชบัญญัติการรักษาความสะอาดฯ 2535 ออกมาใช้เหมือนทุกครั้ง

แม้ว่าในเนื้อหารายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะต้องมีการแก้ไขในอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะในส่วนของ คณะกรรมการการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ที่ ควรใช้มาตรฐานเดียวกับ คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ที่มีผู้แทนจากทุกฝ่ายครอบคลุมการที่กำหนดไว้ในฉบับร่าง ซึ่งในประเด็นนี้คงต้องใช้เวทีของการเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้

แต่ในช่วงเวลาที่คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร พยายามจะใช้สนามหลวงเปิดประเด็นในการจัดระเบียบเมือง โดยมีอำนาจเพียงการจัดระเบียบและเรื่องความสะอาด แต่ไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการคน ? คณะผู้บริหารคณะนี้ โดยนายธีรชน มโมมัยพิบูลย์ อ้างผ่านสื่อหลายครั้งว่า จะดำเนินการกับ ผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่โดยอาศัยหลักสิทธิมนุษยธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการนำเสนอแนวความคิด จะเปลี่ยนสนามหลวงให้เป็นตลาดดอกไม้ไปพร้อมกันด้วย ? คำถามแบบงง ๆ คือ จะเอาอย่างไรกันแน่ ?

ในมุมมองของอิสรชน การจัดระเบียบเมืองครั้งนี้ของกรุงเทพมหานครมีประเด็นซ่อนเร้นแอบบแฝง เพราะ มตรการบันได้สี่ขั้นที่ชัดเจนมาก คือ ขั้นแรก ระหว่างวันที่ 1- 30 กันยายน 2552 คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยสำนัดเทศกิจ จะเป็นผู้เตือนเรื่องการทิ้งจับปรับ ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยใช้อำนาจตาม พรบ.การรักษาความสะอาดฯ 2535 ขั้นที่สอง เริ่ม 1 31 ตุลาคม 2552 ที่จะเริ่มจับปรับโดยจะปรับขั้นต่ำ 100 บาท ทั่วกรุงเทพมหานคร ?? ขั้นที่สาม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 ต้องไม่มีคนเร่ร่อนนอนอยูในที่สาธารณะโดยเฉพาะสนามหลวง และขั้นที่สี่ จะเริ่ม ย้ายแผงค้าบนสนามหลวงออกจากสนามหลวงให้หมดโดยเริ่มวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ?? และ มีแผนว่าอาจจะปรับสนามหลวงให้เป็นตลาดขายดอกไม้ เหมือนในบางประเทศ ?? คำถามคือ นี่หรือ คือความจริงใจของ คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ??

ในขณะเดียวกัน นายธีรชน มโนมัยพิบูลย์ ให้รายละเอียดผ่านสื่อมวลชนว่า จะมีการเชิญหน่วยงานหลายหน่วยงานบ้างว่า กว่า 30 หน่วยงานเข้าร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นและวางแผนจัดระเบียบเมืองในครั้งนี้ร่วกับ คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ไปพร้อม ๆ กันกับการเริ่มใช้มาตรการกดดันแบบนุมนวลให้ คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะออกนอกพื้นที่ โดยที่กลไกของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถรองรับมาตรการดังกล่าวได้??

หากต้องการจัดระเบียบเมืองอย่างจริงจังแล้ว กลไกที่สำคัญประการหนึ่งคือ การคุ้มครองและดูแลคนไร้ที่พึ่ง ที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 55 ที่กำหนดให้ คนกลุ่มนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ โดยที่เมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมาได้มีความพยายามร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เพื่อให้สอดรับกับ มาตรา 55 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำหนดกลไกสำคัญ ๆ หลายกลไกที่จะเป็นกำลังสำคัญในการร่วมแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศไม่ใช่เฉพาะกรุงเทพมหานคร หนึ่งในกลไกดังกล่าวคือ การให้อำนาจองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการให้บริการ การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และเปิดโอกาสให้องค์กรภาคเอกชนสามารถเปิดสถานรับดูแลคนไร้ที่พึ่งได้ รวมถึงการเปิดโอกาสให้คนไร้ที่พึ่งที่มีความสามารถรวมตัวกันเพื่อเปิดศูนย์เพื่อดูแลกันเองได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ และที่สำคัญคือ กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอย่างเป็นระบบ

แม้ว่าในรายละเอียดยังมีปัญหาอยู่ในหลายประเด็นอย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น พระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็ถือได้ว่า เป็นการเปิดมุมมองให้ภาครัฐมองเห็นคนทุกคนเป็นพลเมือง เปรียบเสมือนแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์  เพราะคนไร้ที่พึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามรถเป็นคะแนนเสียงในการเลือกตั้งแต่ละครั้งได้  โดยในรายละเอียดก็ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดเช่นกัน

หากทุกฝ่ายจริงใจกับการจัดระเบียบเมืองโดยคำนึงถึงพลเมืองเป็นศูนย์กลาง ต้องเปิดเผยข้อมูลและแผนการจัดระเบียบเมืองออกมาให้หมดเปลือก อย่าหมกเม็ด และที่สำคัญต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และพลเมืองอย่างแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 295379เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2009 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท