เรื่อง แจ้งแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนง.ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วม

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องรวมพลังทุกภาคส่วนในสังคมทั้งหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาชนมาร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปภายในปี พ.ศ.๒๕๕๑ โดยนำปรัชญาพระราชทาน “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานภายใต้หลักการลดรายจ่าย สร้างรายได้ ขยายโอกาส ให้แก่ประชาชนบนพื้นฐานความสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

                กระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะทำให้การแก้ปัญหาความยากจนประสบความสำเร็จได้โดยเร็ว จึงมีแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาดำเนินการ

๑.       หลักการดำเนินการ

การแก้ปัญหาความยากจนเป็นภารกิจที่สำคัญของชาติ โดยมี ศตจ. ,ศตจ.จ. และ ศตจ.อ./กิ่ง อ. เป็น

องค์กรรับผิดชอบการปฏิบัติงานในแต่ละระดับ และมีผู้ว่าฯ นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ รับผิดชอบการดำเนินงานในระดับจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอตามลำดับ ขอให้พิจารณาให้ความร่วมมือ ดังนี้

                ๑.๑  กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเอง มีหลักการดังนี้

                       (๑)  นำข้อมูลผู้จดทะเบียนปัญหาความยากจนของศูนย์อำนวยการหรือ ศตจ.จ. อำเภอ/กิ่งอำเภอ มาจัดทำเป็นฐานข้อมูลของ อปท. เพื่อกำหนดบุคคล/ครัวเรือนเป้าหมายใฝนการแก้ไขปัญหา โดยประสานกับจังหวัดและอำเภอ เพื่อให้การแก้ไขปัยหามีความสอดคล้องกัน

                        (๒)   จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและจัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาท้องถิ่น

                        (๓)    เมื่อ อปทงมีแผนการดำเนินการแล้วรวบรวมส่งให้ จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ

               ๑.๒  กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานสนับสนุน มีหลักการดำเนินการดังนี้

                       (๑)   ให้การสนับสนุนหรือร่วมดำเนินการกับศูนย์อำนวยการหรือ ศตจ.จ. ศตจ.อ./กิ่งอ.

                       (๒) สนับสนุนหรือร่วมมือกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ดำเนินการแก้ปัญหาความ

ยากจนในพื้นที่

                       (๓)  สนับสนุนหรือร่วมดำเนินการกับ ศตจ.ปชช. องค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน

๒.     แนวทางและวิธีการดำเนินงาน

        ๒.๑  ด้านการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

               (๑)    ด้านการลดรายจ่าย  ระดับบุคคลและครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนดำรงอยู่อย่างพอเพียงทำเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และส่งเสริมให้เด็กเล็ก เข้ารับการดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นต้น  ระดับชุมชน ส่งเสริมการจัดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรดำเนินกิจกรรมจัดตั้งโรงปุ๋ยอินทรีย์  ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อการผลิตสินค้าที่จำเป็น เป็นต้น

              (๒)  การเพิ่มรายได้ ส่งเสริมให้รายได้เพิ่มขึ้นโดยการประกอบอาชีพ  ระดับบุคคลและครัวเรือน จัดการฝึกอบรมความรู้วิชาชีพตามความต้องการที่สอดคล้อง จัดหาเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ให้ประชาชนรับงานจากสถานประกอบการมาทำที่บ้าน โดย อปท.ประสานขอความร่วมมือจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ระดับชุมชน ส่งเสริมกลุ่มอาชีพที่มีการผลิตเกื้อกูลกัน รวมกลุ่มอาชีพที่ตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เช่นการจัดตั้งดรงสีชุมชนในพื้นที่ เป็นต้น

             (๓)  การขยายโอกาส สนับสตนุนกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงปัจจัยในการประกอบอาชีพ เช่น ระดับบุคคลและครัวเรือน มีการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ระดับชุมชน ก็จัดหาที่ดินทำกิน ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตหรือการจ้างงาน

                ๒.๒  ด้านการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางสังคม ดำเนินงานเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่พร้อมรับผลการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ รวมทั้งการสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต เช่น รณรงค์ให้ประชาชนลด ละเลิก อบายมุข การแก้ปัยหายาเสพติด จัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชน ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ จัดหาอุปกรณ์ดำรงชีพสำหรับผู้พิการ เช่น รถเข็น ไม้ค้ำ หรือเครื่องมือในการประกอบอาชีพ การสงเคราะหืเบี้ยยังชีพ เป้นต้น

๓.      ระยะเวลาดำเนินการ

๓.๑  ปี ๒๕๔๙ เป็นระยะเร่งด่วนและเป็นช่วงมหามงคลเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี

๓.๒  ปี ๒๕๕๐-๒๕๕๑  ระยะสร้างความมั่นคงยั่งยืน

๔.      การนำแผนสู่การปฏิบัติ

ให้ อปท.กำหนดยุทธศษสตร์การแก้ไขปัยหาความยากจนไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่

กระบวนการจัดทำงบประมาณ

๕.     งบประมาณการดำเนินการ

        ๕.๑  พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบรายจ่ายเพิ่มเติม

        ๕.๒  ให้พิจารณา โอน แก้ไข เปลี่ยนแปลงรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๙ รายการที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้

        ๕.๓   อปท.อาจใช้จ่ายจากเงินสะสม เพื่อสนับสนุนการบริการชุมชนและสังคม

๖.  การติดตามและรายงานผล  ให้จังหวัดติดตามและให้คำแนะนำ

หมายเลขบันทึก: 29526เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท