ค่าวิทยฐานะกับคุณภาพการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน....ทำไม่มันถึงสวนทางกันจริง


เงินเงินเงิน

เลาะเลียบคลองผดุงฯ
ตุลย์ ณ ราชดำเนิน [email protected]
สัดส่วนของผู้เรียนต่อประชากรทุกระดับการศึกษาในปี 2552 ผลสรุปจากสภาการศึกษา (สกศ.) ระบุว่า ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชากรวัยเรียนเพิ่มจาก 79.89% เป็น 81.29% แยกเป็นระดับการศึกษาปฐมวัย ประชากรวัยเดียวกัน มีถึง 61% และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีถึง 64% ที่ไม่ได้เรียน
ที่ไม่ได้เรียน เพราะค่าใช้จ่ายสูง และผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญ
หันมาดูการจัดการศึกษา ไม่น่าแปลกใจกับการพบว่า สถานศึกษาภาครัฐจะมีจำนวนมากกว่าภาคเอกชนถึง 80.9 : 19.1 ชั้นมัธยมสายสามัญสูงกว่าอาชีวะ 61 : 39 และอุดมศึกษาสายสังคมสูงกว่าสายวิทย์ 70 : 30 เพราะเป็นเรื่องที่พูดกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้วที่ยังคงต้องดำรงคงอยู่คู่การศึกษาไทย
ที่ประหลาดใจ เพราะตัวเลขของผู้เรียนก่อนประถมฯ ที่จัดในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มจาก 1.57 ล้านคน เป็น 1.87 ล้านคน ส่วนการศึกษานอกระบบโรงเรียนจาก 3.89 ล้านคน เป็น 3.92 ล้านคน นิดเดียวจริงๆ
ในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานผลประเมินจาก สมศ. และ สกศ.พบสถานศึกษาส่วนใหญ่มีคุณภาพดีน้อยในทุกระดับและมีความแตกต่างกันสูง จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ วัดจากผลคะแนนทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 ม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่า 50% และตกต่ำลงจาก 5 ปีก่อน
สำทับซ้ำจากประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบ 2 แม้จะได้คะแนนดีกว่ารอบแรก แต่ความสามารถ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ ของผู้เรียนยังคงมีคะแนนต่ำอยู่
งบประมาณทั้งหมดของประเทศในปี 2552 ทุ่มให้การศึกษาสูงถึง 20% แต่ประสิทธิภาพการใช้จ่ายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ไม่สอดคล้องกับการปรับเพิ่มเงินเดือนและเงินวิทยฐานะค่าตอบแทนที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับต่อเดือนในแต่ละระดับ ถ้าผ่านการประเมิน
ครูชำนาญการ 3,500 บาท ครูชำนาญการพิเศษ 11,200 บาท ครูเชี่ยวชาญ 18,000 บาท และครูเชี่ยวชาญพิเศษ 26,000 บาทต่อเดือน และถ้าพ.ร.บ.ปรับเงินเดือนครูมีผลบังคับใช้ ผู้ที่ได้รับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษจะเพิ่มเป็น 31,000 บาทต่อเดือน
เม็ดเงินที่ทุ่มลงมหาศาลไม่มีใครว่าหรอก ถ้าคุณภาพการศึกษาไทยไปโลดอย่างที่คาดหวัง

ที่มา - ข่าวสดรายวัน หน้า 30 - วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6833

หมายเลขบันทึก: 295238เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อืม น่าคิดนะคะ สิ่งที่ทำกันอยู่นี้ถูกทางหรือเปล่า

อาจจะเป็นเพราะว่ามัวแต่ทำผลงาน มั้ง!

หลังจากที่หายไปนาน Speed เร็วดีมากเลย

คนส่วนใหญ่ก็มุ่งผลงานกันทั้งนั้น เพระเชื่อว่าอุดมการเลี้ยงชีวิตทั้งชีวิตไม่ได้

ครูที่มีอุดมการณ์ก็มาก ที่ไม่ต้องการผลตอบแทน

ครูที่หวังผลตอบแทน พอได้แล้ว ก็ไม่ทำสมกับสิ่งที่ได้

เราจะทำยังไงกันดี  กับ คนที่พูดว่า  ถึงฝั่งแล้ว  ฉันไม่ทำอีกต่อไปแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท