choothong (ชูทอง)
ครู thammarat (ธรรมรัตน์ ) choothong (ชูทอง)

โลกาภิวัตน์ศึกษา


โลกาภิวัตน์ ศึกษา...

ความหมาย  ความเป๋นมาของโลกาภิวัตน์

                  โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ  การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก

โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542   หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก

โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง

คำว่า โลกาภิวัตน์ในภาษาอังกฤษคือ “Globalization” สามารถสืบย้อนไปได้ถึง พ.ศ. 2487 แต่ได้นำมาใช้โดยนักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 มานี้เอง อย่างไรก็ดี แนวคิดยังไม่แพร่หลายและเป็นที่นิยมจนกระทั่งหลัง พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา แนวคิดแรกสุดและการพยากรณ์ถึงการหลอมรวมของสังคมของโลกเกิดจากข้อเขียนของนักประกอบการที่ผันตัวเป็นศาสนาจารย์ชื่อ ชารลส์ ทาซ รัสเซลล์ (Charles Taze Russell) ผู้ใช้คำว่า บรรษัทยักษ์ใหญ่” (corporate giants) เมื่อปี พ.ศ. 2440 นักวิทยาศาสตร์สังคมหลายท่านได้พยายามแสดงให้เห็นความต่อเนื่องระหว่างแนวโน้มร่วมสมัยของโลกาภิวัตน์กับยุคก่อนหน้านั้น[3]ยุคแรกของโลกาภิวัตน์ (ในความหมายเต็ม) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344 พ.ศ. 2443) เป็นการเติบโตที่รวดเร็วมากในด้านการค้านานาชาติระหว่างจักรวรรดิอำนาจในยุโรป อาณานิคมของยุโรปและสหรัฐฯ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โลกาภิวัตน์ได้เริ่มขึ้นใหม่และถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าใหญ่ๆ ที่ช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าลงได้มาก

 โลกาภิวัตน์ถูกมองว่าเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาเป็นศตวรรษ     ที่ติดตามการขยายตัวของประชากรและการเจริญเติบโตทางอารยธรรมที่ถูกเร่งในอัตราสูงมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา   รูปแบบโลกาภิวัตน์ยุคแรกๆ มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน จักรวรรดิพาเธีย (จักรวรรดิอิหร่านระหว่าง พ.ศ. 296 พ.ศ. 763)  และสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อเส้นทางสายไหมที่เริ่มจากจีนไปถึงชายแดนของจักรวรรดิพาเทียและต่อเนื่องไปสู่กรุงโรม    ยุคทองของอิสลามนับเป็นตัวอย่างหนึ่งเมื่อพ่อค้า      และนักสำรวจชาวมุสลิมวางรากฐานเศรษฐกิจของโลกยุคแรกไปทั่ว โลกเก่ายังผลให้เกิดโลกาภิวัตน์กับพืชผล การค้า ความรู้และเทคโนโลยี

ต่อมาถึงระหว่างยุคของจักรวรรดิมองโกล   ซึ่งมีความเจริญมากขึ้นตามเส้นทางสายไหม การบูรณาการโลกาภิวัตน์มีความต่อเนื่องมาถึงยุคขยายตัวทางการค้าของยุโรป เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษ ที่ 16 และ17 (ระหว่าง พ.ศ. 2043 พ.ศ. 2242) เมื่อจักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิสเปนได้แผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลกหลังจากที่ได้ขยายไปถึงอเมริกา

โลกาภิวัตน์กลายเป็นปรากฏการณ์ทางธุรกิจในคริสต์ศตวรรษที่ 17 (พ.ศ. 2143 พ.ศ. 2242) เมื่อบริษัทดัทช์อินเดียตะวันออก ซึ่งถือกันว่าเป็น บรรษัทข้ามชาติ แรกได้รับการจัดตั้งขึ้น แต่เนื่องจากการมีความเสี่ยงที่สูงมากในการค้าระหว่างประเทศ บริษัทดัทช์อินเดียตะวันออกได้กลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ใช้วิธีกระจายความเสี่ยง ยอมให้มีการร่วมเป็นเจ้าของด้วยการออกหุ้น    ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์

การปล่อยหรือการเปิดเสรีทางการค้าในคริสต์ศตวรรษที่ 19   ซึ่งบางครั้งเรียกกันว่า ยุคแรกแห่งโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของการค้าและการลงทุนของโลกในอัตราที่รวดเร็วระหว่างจักรวรรดิอำนาจยุโรปกับอาณานิคมอละต่อมากับสหรัฐฯ   ในยุคนี้เองที่พื้นที่บริเวณใต้สะฮาราและหมู่เกาะแปซิฟิกถูกจัดรวมเข้าไว้ในระบบโลก ยุคแรกแห่งโลกาภิวัตน์เริ่มแตกสลายเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้น และต่อมาได้ล่มสลายในช่วงวิกฤติมาตรฐานทองคำในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2468 พ.ศ. 2478

               โลกาภิวัตน์สมัยใหม่

โลกาภิวัตน์ในยุคตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลที่ตามมาจากการวางแผนของนักเศรษฐศาสตร์และผลประโยชน์ทางธุรกิจ รวมทั้งนักการเมืองได้ได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับลัทธิคุ้มครอง (Protectionism) การถดถอยของการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ผลงานของพวกเขาได้นำไปสู่การประชุม เบรทตัน วูด” (Bretton Woods) ที่ทำให้เกิดสถาบันนานาชาติหลายแห่งที่มีวัตถุประสงค์คอยเฝ้ามองกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ฟื้นตัวใหม่ คอยส่งเสริมการเจริญเติบโตและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา สถาบันดังกล่าวได้แก่ ธนาคารสากลเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนา" (ธนาคารโลก) และ กองทุนสากลว่าด้วยเงินกองทุน” (IMF) ทั้งสองสถาบันแสวงหาเทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าต่างๆ มาใช้ เพื่อการลดต้นทุนการค้า มีการเจรจาทางการค้า ที่เดิมอยู่ภายใต้ความอุปถัมภ์ของ GATT ซึ่งจัดการให้มีการประชุมเพื่อเจรจาตกลงยกเลิกข้อจำกัดที่กีดขวางการค้าโดยเสรีอย่างต่อเนื่อง การประชุมรอบอุรุกวัย (พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2538) นำไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อใช้เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางการค้า และเพื่อจัดวางพื้นฐานให้การค้าเป็นในบรรทัดฐานเดียวกัน ข้อตกลงทวิภาคี และพหุภาคีทางการค้า รวมถึงส่วนของ สนธิสัญญามาสทริชท์” ( Maastricht Treaty) ของยุโรป และมีการตกลงและลงนามใน ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ” (NAFTA) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราภาษีและการกีดกันทางการค้า ผลของการตกลงนี้ทำให้สินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอเมริกันไหลบ่าท่วมท้นตลาดต่างประเทศการวัด ความเป็นโลกาภิวัตน์

               Japanese อาหารจานด่วน แมคโดแนลด์ ของญี่ปุ่นนับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นนานาชาติ  เมื่อมองโลกาภิวัตน์เฉพาะทางเศรษฐกิจ การวัดอาจทำได้หลายทางที่แตกต่างกัน โดยดูจากการรวมศูนย์การเคลื่อนไหลทางเศรษฐกิจที่อาจบ่งชี้ความเป็นโลกาภิวัตน์เห็นได้ 4 แนวดังนี้:

  • สินค้าและบริการ   เช่น ดูการส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ต่อหัวของประชาชาติ
  • แรงงานและคน  เช่น อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้า - ออกโดยชั่งน้ำหนักกับประชากร
  • เงินทุน เช่น การไหลเข้าและไหลออกของเงินลงทุนทางตรงที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติและรายได้ต่อหัวของประชากร
  • เทคโนโลยี เช่น การเคลื่อนไหวของงานวิจัยและพัฒนา สัดส่วนของประชากร (และอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา) ใช้เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้า เช่นการใช้โทรศัพท์ รถยนต์ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฯลฯ)

นั่นคือ เป็นการวัดดูว่าชาติ หรือวัฒนธรรมนั้นๆ มีความเป็นโลกาภิวัตน์ตั้งแต่ต้นมาถึงในปีที่ทำการวัดล่าสุด โดยการใช้ตัวแทนง่ายๆ เช่น การเคลื่อนไหลของสินค้าเข้า-ออก การย้ายถิ่นฐาน หรือเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น

เนื่องจากโลกาภิวัตน์ไม่ใช่ปรากฏการณ์อย่างเดียวทางเศรษฐกิจ การใช้การเข้าสู่ปัญหาด้วยวิธีแบบหลายตัวแปรมาเป็นตัวชี้วัดความเป็นโลกาภิวัตน์จึงเกิดขึ้นโดยการเริ่มของ ถังความคิด” ([Think tank) ในสวิสเซอร์แลนด์ KOF

ดัชนีมุ่งชีวัดไปที่มิติหลัก 3 ตัวของโลก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นอกจาการใช้ตัวชี้วัดหลักทั้งสามตัวนี้แล้ว ดัชนีรวมของโลกาภิวัตน์และตัวชี้วกึ่งดัชนีโยงไปถึงการเคลื่อนไหลจริงทางเศรษฐกิจ ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อของบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหลของข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลของความใกล้ชิดติดต่อกันทางวัฒนธรรม เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณด้วย มีการเผยแพร่ข้อมูลนี้เป็นรายปี เป็นข้อมูลรวมของประเทศต่างๆ 122 ประเทศดังในรายละเอียดใน “Dreher, Gaston and Martens (2008)

จากดัชนีดังกล่าว ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุดในโลกได้แก่เบลเยียม ตามด้วยออสเตรีย สวีเดน สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุดตามดัชนี KOF ได้แก่ไฮติ เมียนมาร์ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และบูรุดี[4] การวัดอื่นๆ มองภาพโลกาภิวัตน์ในฐานะเป็นกระบวนการที่เป็นปฏิสัมพันธ์ ของการหลอมกระจายเพื่อหาระดับของผลกระทบ (Jahn 2006)

เอ.ที เคียร์นี ( A.T. Kearney) และวารสารนโยบายต่างประเทศ ( Foreign Policy Magazine) ได้ร่วมกันตีพิมพ์ ดัชนีโลกาภิวัตน์” ( Globalization Index) ขึ้นอีกแหล่งหนึ่งจากดัชนีเมื่อ พ.ศ.2549

ผลปรากฏว่า   สิงคโปร์   สาธารรัฐไอร์แลนด์   สวิตเซอร์แลนด์   สหรัฐฯ  เนเธอร์แลนด์  แคนาดา เดนมาร์ก

             เป็นประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุด อียิปต์ อินโดนีเซีย อินเดียและอิหร่านเป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุด ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 45 และจากดัชนีในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2550 อับดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของไทย ตกลงไปอยู่ที่อันดับที่ 59

       ผลกระทบของโลกาภิวัตน์

โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายแง่มุม เช่น

  • อุตสาหกรรม การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท
  • การเงิน การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศและรัฐต่ำกว่าประเทศที่ประสงค์ของกู้ยืม
  • เศรษฐกิจ - การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน
หมายเลขบันทึก: 294280เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2009 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท