คุณค่าของการบรรยาย


คุณค่าของการบรรยาย

หลังจากที่เมื่อคืนวานผมได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ การเล่นเกมส์ Winning ของผม และคิดว่าหลาย ๆ ท่านก็คงเคยลองสัมผัสกับเกมส์นี้มาบ้างแล้ว หรืออย่างน้อย ๆ ก็คงเคยได้ยินชื่อเสียงอันโด่งดังของเกมส์ๆ นี้... ผมเป็นคนนึงที่นอนดึกและตื่นเช้าเป็นประจำ ร่างกายช่วงนี้ก็เลยค่อนข้างจะทรุดโทรม แต่ด้วยความที่ยังหนุ่มยังแน่นของผม ก็เลย สามารถพักฟื้นได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ
 ปัจจุบัน ผมเป็นเจ้าของกิจการจำหน่ายอะไหล่รถยนต์แห่งหนึ่งใน อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นกิจการที่สืบทอดต่อๆ กันมาภายในครอบครัว อันที่จริง อยากจะบอกว่า ผมเป็นลูกจ้างของคุณพ่อมากกว่า.. ถึงแม้ว่าผมจะเรียนจบ วิศวะไฟฟ้า มา แต่ต้องมาทำงานเกี่ยวกับ เครื่องกล อันนี้หลาย ๆ คน จะมองว่าไม่ตรง Field บ้าง เรียนทำไมให้มันยากบ้าง ทำไมไม่ไปเรียนบริหาร
 ผมคิดว่า คำพูดที่หลาย ๆ คนกล่าวไว้แบบข้างต้น ก็มีส่วนถูก นะ ครับ แต่ ถ้ามองลึก ๆ แล้ว การเรียนรู้ การอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขัน การแบ่งปัน หรือ การเอารัดเอาเปรียบกัน และ อื่น ๆ  ทำให้คนเราฉลาดขึ้น ....อันนี้ก็ต้องขอขอบพระคุณ ที่ทำให้ผมมีความรู้พอที่จะเอาตัวรอดได้ในสังคมทุกวันนี้
สมัย ม.ต้น ผมมีโอกาสได้เรียนรู้วิชาช่างยนต์ และช่างไฟฟ้า ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องเลือกเรียน ตามหลักสูตร  ซึ่ง ก็เรียนไปอย่างนั้น แหละครับ แต่ไม่นึกว่า ในอนาคต วิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจะได้ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ณ ทุกวันนี้  หากลองมองย้อนกลับไป สมัยนั้นถึงแม้ตามหลักสูตรที่เรียนจะมีวิชาแนะแนว .. แต่ทว่า ผมคิดว่า มันล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ในด้านการเรียนการสอน และการปฏิบัติ อาจจะเนื่องด้วย สาเหตุหลาย ประการ ..
 ดังนั้น ผมจึงคิดว่า ความรู้ที่ผมได้ เป็นความรู้ที่ถูกซึมซับ ถ่ายทอดมา ทั้งที่โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตามที ......ผม ทำงานในหน้าที่บริหาร ไปจนถึง ลูกจ้าง .. เรียกว่า ทำงาน คุ้มค่ากับเงินเดือนอันน้อยนิดที่ได้ แต่ช่วงหลัง ๆ ก็มีการเกเรบ้าง  อู้งานบ้าง เพราะ ไหน จะ มีเรียนชดเชยในวันเส่าร์- อาทิตย์  หรือ บางครั้ง มีการสอบในวันปกติ ซึ่ง ต้องโดดงาน เพื่อมาอ่านหนังสือ  แถมรายงานการบ้านก็เยอะมากๆๆๆๆ  ...  ก็เลยเป็นที่มาของการอู้งาน
 ดังนั้น ณ ตอนนี้ ผมมีความรู้ด้านอะไหล่รถยนต์ ที่ได้จากประสบการณ์การทำงาน การเรียน  การจดจำ จากการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ
 พูดถึงความรู้จากการเล่าเรื่องหรือ การบรรยาย  ผมคิดว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดจากการเล่าเรื่อง เพื่อนๆ เคยสังเกตไหม เวลาที่คนเราเค้าคุยกัน เรื่องที่คุยกัน ไม่ว่าเรื่องดี เรื่องร้าย เรื่องไร้สาระ ฯลฯ คนเรามักจะจำได้ ... โดยเฉพาะเรื่องการนินทาผู้อื่น  ...(ต้องยอมรับความจริงว่า โลกนี้ คงไม่มีทางที่จะปราศจากการนินทา)  แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็มีความเชื่ออยู่อย่างนึงว่า คนเราไม่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ถ้าไม่ได้พูดจาภาษาเดียวกัน อย่างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ยังมีภาษาเฉพาะของมันเลยครับ ไม่งั้นก็สื่อสารกันไม่ได้ ... มาต่อเรื่อง ความรู้จากการบรรยายกันต่อดีกว่า ...ผมคิดว่า คนที่มีความสามารถด้านการพูด การเจรจา หรือมีศิลปะในการใช้ปาก (วาทศิลป์) คน ๆ นั้น เป็นคนที่น่าอิจฉาที่สุด ... เพราะการจะได้ได้อย่างนั้น ผมคิดว่า มัน ต้องมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวง และ องค์ประกอบอื่น ๆ อีกมากมายมารวมกันอยุ่ในคนๆ เดียว .. ทั้งความคิด ท่าทาง ความรุ้สึก จะต้องทำงานประสานกัน ... น่าอิจฉาคนเหล่านั้น จริงๆ  (เพราะผมคนนึงที่เป็นคนที่พูดไม่ค่อยเก่ง ... แต่รักหมดใจ...อย่างหลัง แถมให้ครับ ) ผมมีเพื่อนๆ หลาย คนที่มีความสามารถด้านการใช้ปาก แต่ด้วยจรรยาบรรณ่ ผมจึงไม่สามารถเอ่ยนาม ณ ที่นี้ได้ ครับ
 ผมคิดว่าเรื่องเล่าดี ๆ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการสื่อความหมายของความรู้  ...ประสบการณ์ในการทำงานส่วนหนึ่งของผมได้จาก การฟังการเล่าเรื่อง เช่นเรื่องในอดีต ที่เคยเกิดขึ้นมา จากคุณพ่อ คุณแม่ คุณอา คนรู้จักในแวดวงเดียวกัน ฯลฯ
 พยายามอ่านกันนิดนึงนะครับ อาจจะได้สาระ หรือ ไม่ได้บ้าง แต่วันนี้ ผมตั้งใจพิมพ์ มาก  ๆ เลย
 ความรู้บางอย่างมีความซับซ้อนและซ่อนเร้น ในเบื้องต้น แต่ถ้าเราสามารถดึงมันออกมาภายนอกแล้วปลูกฝังให้คนในองค์กรได้รับรู้ ต่อไปมันจะกลายมาเป็นความรู้ที่มั่นคงขององค์กร เพราะ  ทุก ๆ คนสามารถใช้องค์ความรู้ได้อย่างดี และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน หากมีพนักงานคนใดคนนึงในองค์กรต้องออกไป แต่ก้อยังมีพนักงานคนอื่น ๆ ทีมีความรู้ในลักษณะเดียวกัน จะทำให้กระบวนการทำงาน การบริหารงานของบริษัท ไม่หยุดชะงัก ...มันจะกลายเป็นความรู้ที่หยั่งรากลึกที่ไม่สูญหายไป
 หลังจากนั้น เราจะต้องมีการประมวลความรู้อย่างเป็นระบบ อาจจะนำระบบ Expert System มาใช้ หรือ บางคนอาจจะรู้จักใน ชื่อ AI :Artificial Intelligent หรือ ปัญญาประดิษฐ์
 สุดท้าย จากคำกล่าวที่ว่า No Measurement, No Improvement ดังนั้น จึงต้องมีการทำการประเมินคุณค่าของความรู้ที่เปิดเผยออกมา เช่น สิทธิบัตร  เป็นต้น ที่เป็นตัวอย่างกรณีอย่างดี
 การถ่ายทอดความรู้ก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญ ..ผมยังเชื่อเหมือนที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า การพูดคุยกัน การเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นต่อกัน เป็นวิธีการที่ดีในการถ่ายทอดความรู้ ... ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องพูดคุยกับคนที่เก่งที่สุดในด้านนั้น ๆ หรอก ครับ เพราะโดยมาก คนที่เก่งมาก ๆ มักจะพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ทราบว่าเคยเจอเหมือนกัน รึป่าว .... บางคนอาจจะคิดว่าการที่คุยกันไม่รู้เรื่องนั้น เป็นเพราะว่าเค้า ฉลาดเกินไป หรือว่า เราโง่กันแน่
 กิจการของผม ไม่ได้มีการจัดการองค์ความรู้ที่เป็นระบบหรอก ครับ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีการจัดการความรู้ที่แทรกเข้ามาในชีวิตประจำวัน ในองค์กรอยู่เป็นระยะ ๆ  เพียงแต่เราไม่ค่อยได้สังเกต หรือเก็บรวมรวมเท่านั้น เอง ...ไว้ผมค่อย รวบรวมแล้ว มาเล่าสู่กันฟังอีก นะครับ
วันนี้ เมื่อยมือ แล้วละครับ .... ขออนุญาติ ออกไปหาประสบกาณ์ในด้านอื่นๆ บ้าง โดยเฉพาะ ประสบการณ์ในการใช้ชีวิต ...

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 294เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2005 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท