ไรน้ำนางฟ้า สัตว์ชนิดใหม่เพื่อการพัฒนาฐานเศรษฐกิจอาหารสัตว์น้ำ


การผลิตเพื่อทดแทนอาร์ทีเมียร์และการนำไปใช้ประโยชน์

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าไข่อาร์ทีเมียร์เพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้งลูกปลา รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และที่ต้องนำเข้าก็เพราะเรายังไม่สามารถผลิตได้เอง จึงมองหาสัตว์น้ำอื่นเพื่อทดแทนและเห็นว่า ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกันกับอาร์ทีเมียร์ แต่ไรน้ำนางฟ้าอาศัยอยู่ในน้ำจืด ส่วนอาร์ทีเมียอยู่ในทะเลสาบน้ำเค็ม

จากผลการศึกษาพบว่าไรน้ำนางฟ้าไทย เป็นสัตว์น้ำชนิดที่โตเร็วและมีขนาดใหญ่กว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดอื่น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจากตัวอ่อนถึงวัยเจริญพันธุ์เพียง 9 วัน ก็สามารถวางไข่ครอกแรกได้ จากนั้นจะวางไข่อีกทุก ๆ 26-30 ชั่วโมง จำนวน 11-16 ครั้ง ในช่วงชีวิตของตัวเมียจะวางไข่ทั้งหมด 9,306-13,536 ฟองต่อตัว โดยจากการทดลองเลี้ยง น้ำ 1 ลิตรต่อไรน้ำนางฟ้าไทย 50 ตัว ใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ จะได้ผลผลิต 1.5-2.0 กก./น้ำ 1 ลบ.ม. เวลานี้สามารถเลี้ยงให้มีอัตรารอดตายกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำนางฟ้าชนิดนี้มีโปรตีนสูงถึง 64-69 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่อาร์ทีเมียร์มีแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกจากนี้ไข่ไรน้ำนางฟ้ายังสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งเป็นระยะเวลานาน เหมาะที่จะนำไปเพาะฟักเอง

คณะนักวิจัยได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการใช้ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและอาร์ทีเมียร์เป็นอาหารเสริมสำหรับปลาหมอสี ผลการทดลองพบว่าปลาหมอสีที่ได้รับไรน้ำนางฟ้าเป็นอาหารเสริมมีสีสวยเด่นชัดมากกว่าปลาหมอสีที่ได้รับการเสริมอาร์ทีเมียร์ หรือได้รับอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

การนำไปใช้ประโยชน์

1. มีศักยภาพที่จะใช้ทดแทนอาร์ทีเมียร์ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด

2. ผลิตเป็นอาหารของสัตว์สวยงามน้ำจืดที่มีราคาแพง

3. สามารถนำไรน้ำนางฟ้ามาเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามในอ่างเลี้ยงได้

4. ใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาด้านพิษวิทยา (Toxicology)

5. ใช้เป็นตัอย่างสำหรับการเรียนการสอน เช่นการศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า

6. เป็นอาหารของคนอีสาน ที่มีโปรตีนสูงถึง 64-69 % โดยนิยมใส่ในห่อหมก แกงอ่อมและแกงหน่อไม้ดอง เป็นต้น

ขณะนี้ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ได้ทำการศึกษาและวิจัยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้จัดการอบรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้กับผู้ที่สนใจจากทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินการจัดอบรมไปแล้ว 4 รุ่น  และคาดว่าในอนาคต "ไรน้ำนางฟ้า" จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจสัตว์น้ำของคนไทยได้ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29390เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เคยเห็นแต่ในธรรมชาติ สามารถเลี้ยงได้มูลค่าขนาดนั้นเลยหรือ และประโยชน์ก็มากมาย น่าสนใจดี ถ้าทดแทนอาร์ทีเมียได้คนไทยก็ควรที่จะหันมาเลี้ยงไรน้ำนางฟ้านะ ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยลดการนำเข้า

การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า ถ้าเกษตรกรผู้ที่เลี้ยงกุ้งหรือเลี้ยงปลา ห้นมาเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าจะเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารได้ส่วนหนึ่ง  เพราะการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าสามารถที่จะเลี้ยงในบ่อดิน เป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่า ถ้าเราเลี้ยงผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์น้ำก็จะลดต้นทุนอาหารไรน้ำนางฟ้าเช่นกัน

อยากทำวิจัยกับคณะด้วยครับ

 

รายได้ต่อเดือนเท่าไรคับ สนใจมากคับ

อยากรู้วีธีเลี้ยงคับ ให้ผลตอบแทนดีไหมคับ

ขอดูรูปแบบโคร่งร่างการวิจัยเพื่อทำรายงานสำมะนาหน่อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท