การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนบ้านพุดหง(3)


การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนบ้านพุดหง

          ขั้นตอนที่  4  การประเมินผล

                    โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงได้ดำเนินการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539  เป็นต้นมาและพยายามที่จะพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพทุกภาคเรียน ทั้งในด้านสื่อ/อุปกรณ์ การปรับระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวปฏิรูปการศึกษา และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542

4           ผลการดำเนินงาน .

4.1      ด้านผู้เรียน 

-          รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไป นักเรียนมีความสนใจมากขึ้น จากภาพและเสียง

-          ผู้เรียนได้รับความรู้ และประสบการณ์อย่างกว้างขวางจากเนื้อหาสาระในดาวเทียมที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ

-          นักเรียนกล้าแสดงออกและมีความเชื่อมันในตัวเองมากขึ้น

4.2      ด้านครู

-          มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอนมากขึ้นจากเดิม เพราะได้เรียนรู้จากครูในดาวเทียม

-          ประหยัดงบประมาณในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ซึ่งครูที่สอนในดาวเทียมได้ผลิตมาแล้ว และบางอย่างก็แนะนำที่โรงเรียนมีอยู่แล้วให้ใช้ให้ถูกวิธี เช่น อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์

-          ครูมีความรู้ ทันเหตุการณ์อยู่เสมอมีการพัฒนาการสอนของตนเองอย่างต่อเนื่อง

       จากการอบรมทางไกล

-          แก้ปัญหาครูที่ต่ำกว่าเกณฑ์ได้ในระดับหนึ่ง เพราะใช้ดาวเทียมสนับสนุน

4.3      ด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

-          เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ/นักศึกษากศน./ครูโรงเรียนอื่นๆ/ชุมชน/ผู้ปกครอง  มีความรู้  มีการพัฒนาตนเอง  ที่สามารถนำไปใช้ในหน้าที่การงานหรือในชีวิตจริงมากขึ้น

-          ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน  มีความสัมพันธ์อันดีกับโรงเรียน มีส่วนช่วยเหลือและ

       พัฒนาโรงเรียนที่ตนเองมาใช้บริการให้มีศักยภาพสูงขึ้น

-          ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนมีความกระตือรือล้นในการแสวงหาความรู้มากขึ้น

5           ปัจจัยความสำเร็จ

5.1      หาบุคลากรที่เต็มใจ ทุ่มเท เสียสละ ให้ความสนใจนวัตกรรมชิ้นนี้

5.2      ผู้บริหารต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง กำกับ ติดตาม  อย่างต่อเนื่อง

5.3      ครูผู้สอนต้องปรับทัศนคติยอมรับว่าการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมสามารถแก้ปัญหาและสนับสนุนการเรียนการสอนได้

5.4      ครูต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอจากการประชุม อบรม สัมมนา

5.5      อุปกรณ์ทุกชิ้นต้องได้รับความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ

5.6      ต้องได้รับการสนับสนุนจากชุมชนโดยเฉพาะงบประมาณ

6           บทเรียนที่ได้รับ

         ปัญหา(ข้อจำกัดที่ทำให้โรงเรียนต่างๆที่จัดไม่ประสพความสำเร็จ)

1.       ผู้บริหารไม่สนใจ

2.       ครูผู้สอนไม่ยอมใช้ (ใช้ไม่เป็น,ไม่อยากมีภาระเพิ่ม)

3.       ไม่มีผู้รับผิดชอบที่มีความเข้าใจ เอาใจใส่ ทุ่มเท เสียสละ อย่างจริงจัง

4.       อุปกรณ์ขาดการดูแล รักษา

5.       ไม่มีหน่วยงานใดกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

7.      การขยายผลและเผยแพร่ผลการพัฒนา

7.1     นวัตกรรมชิ้นได้รับได้รางวัลดีเด่นระดับประเทศ ประเภท โรงเรียนประถมศึกษาใน

เขตชนบท ปี 2542 และได้ดำเนินการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเป็นตัวอย่างของโรงเรียนต่างและหน่วยงานอื่นๆ

                       7.2  ได้รับการบันทึกเทปโทรทัศน์ จากศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 และจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้(สงขลา) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2542 ออกอากาศทั่วประเทศ

                       7.3  นายวิโรจน์  ฤกษ์ศิริ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ได้รับเชิญจากศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน ให้ไปบรรยาย ณ โรงแรมอริสตั้น  สุขุมวิท 24  กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547

                       7.4  โรงเรียนได้รับเชิญจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ให้ไปจัดนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อวันที่ 16-17 มกราคม 2547

                       7.5  นายวิโรจน์  ฤกษ์ศิริ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง  เป็นคณะกรรมการร่วมประชุมในการกำหนดกรอบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ณ โรงแรมแม่น้ำ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3-5 กันยายน 2546

                       7.6  นายวิโรจน์  ฤกษ์ศิริ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง  ได้จัดทำผลงานทางวิชาการ เพื่อขอกำหนดตำแหน่ง เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ระดับ 8 เรื่อง การพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโดยได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2545 และได้เผยแพร่ไปยังโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ

                       7.7  นายวิโรจน์ ฤกษ์ศิริ  รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง  ได้นำเสนอบทความทางวิชาการลงใน blog   ทาง  Internet  โดยใช้ชื่อ blog  ว่า  http://gotoknow.org/blog/viroaj02 ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2550 จนถึงปัจจุบัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 293195เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้ท่านนำเกร็ดความรู้เหล่านี้ไปวางไว้ที่ เว็บ KM ของ สพท. บ้างจัง...โดยเฉพาะการจัดการความรู้ตามแนวดำเนินการของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งปีนี้ สพฐ. กำหนดดำเนินการจัดการความรู้ใน 3 เรื่อง คือ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก เยี่ยมดูเว็บตัวอย่างที่นี่ค่ะ...http://km.obec.go.th/

นำเสนอเนื้อหาสาระได้ดี สอดคล้องกับแนวคิด ของสพฐ. โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก ดำเนินการต่อไปเถอะให้เป็นบทเรียนสำหรับโรงเรียนอื่นๆต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท