เมื่อแม่ (แรงงานข้ามชาติ) จดทะเบียนการเกิดให้ลูกสาว


โรคหัวใจที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและสุขภาพที่อ่อนแอของตินนิลามิน คนที่เป็นแม่และเมียของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระนอง ได้แปรเป็นความตั้งใจที่อยากให้ลูกสาวของเธอ-มะเฮตีไท้ซานมีบัตรประกันสุขภาพ ..เวลาที่ผ่านมา เธอทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ความพยายามของตินนิลามินเพื่อมะเฮตีไท้ซาน ได้กลายเป็นต้นแบบของความเชื่อมั่นในกฎหมาย และการมีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องของการจดทะเบียนการเกิดไปแล้ว
เมื่อแม่ (แรงงานข้ามชาติ) จดทะเบียนการเกิดให้ลูกสาว
*ขอบคุณ ชาติชาย อมรเลิศวัฒนา เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น จังหวัดระนอง

๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๒

แม้จะยังไม่เข้าวัยเบญจเพส ทั้งยังมีโรคประจำตัวที่ฟังดูน่ากังวล แต่ตินนิลามิน (Tin Ni Lar Myint) ก็หัวเราะอายๆ เมื่อเล่าว่าเธอมีลูกถึงสองคนแล้ว มะเฮติไท้ซาน ซึ่งเพิ่งครบขวบแรกไปเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคมที่ผ่านมา

ตินนิลามินและลูกสาว-มะเฮตีไท้ซาน

และลู

กสาวคนเล็กนี้เองที่ผลักดันให้ตินนิลามินลุกขึ้นมาจดทะเบียนการเกิด เธอได้กลายเป็นกรณีศึกษาในฐานะตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายไทยที่ยืนยันว่า การจดทะเบียนการเกิดให้กับเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย มิได้เป็นเพียงหลักกฎหมายบนแผ่นกระดาษ ต้นแบบนี้เริ่มต้นที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอ

 

 

ตินนิลามิน เกิดที่ร่างกุ้ง พ่อของเธอรับราชการ จนเหตุการณ์ทางการเมืองในปี ๑๙๘๘ พ่อจึงพาครอบครัวล่องเรือมายังเกาะสอง (ใช้เวลา ๒ คืน ๓ วัน) และข้ามมาฝั่งไทย มาเป็นแรงงานรับจ้างรายวัน ตอนนั้นตินนิลามินอายุ ๑๑ ปี ด้วยเพราะโรคหัวใจ เธอจึงได้รับการสนับสนุนให้เรียนและเรียน ตินนิลามินเรียนเป็นภาษาพม่า โดยข้ามไปเรียนที่เกาะสอง เธอพูดปนหัวเราะว่า เอาผัว ตอนเรียนจบม.๖ ได้ ๓ เดือน และย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่กับบ้านสามีที่เกาะสอง ทั้งคู่มีชื่อในทะเบียนราษฎรของพม่า และมีบัตรประจำตัวประชาชนของพม่า

 

ลูกชายคนโตเป็นโรคหัวใจเหมือนเธอ ระหว่างตั้งท้อง เธอต้องข้ามมาฝั่งระนอง เข้า-ออกโรงพยาบาลจังหวัดระนองบ่อยมาก เธอต้องจ่ายเงินสำหรับการตรวจคลื่นความถี่หัวใจ (ครั้งละ ๖๐๐ บาท/ครั้ง) รับยาบำรุง (ไม่ถึงร้อยบาท/ครั้ง) ค่าทำคลอดลูกคนแรก (๓,๐๐๐ บาท)

แต่สำหรับท้องที่สอง เธอมีอาการซีดและเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ สามีเธอตัดสินใจข้ามมาเป็นแรงงานรายวันที่ฝั่งไทย เพื่อให้เธอใกล้หมอคนไทย พี่ชายเธอตัดสินใจทำงานเป็นลูกเรือประมงออกทะเลถึง ๘ เดือน แลกกับเงิน ๕,๐๐๐ บาทสำหรับค่าใช้จ่ายของน้องสาวและหลานคนที่สอง  คราวนี้ค่ายาบำรุงสำหรับท้องที่สองนั้นถูกกว่า (๗๐ บาท/ครั้ง) แต่ค่าทำคลอดขึ้นราคา (๕,๐๐๐ บาท)
 

หลังคลอดมะเฮตีไท้ซาน-ลูกสาวคนที่สอง สามีตัดสินใจหางานทำที่ฝั่งระนอง โดยไปขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงาน ส่วนตินนิลามิน เข้าเมืองโดยถือเอกสารผ่านแดนจากพม่าของพี่สาว (border pass)
 

มะเฮตีไท้ซาน คลอดที่โรงพยาบาลระนอง โดยมีเอกสารการเกิดจากโรงพยาบาล คือ ท.ร.๑/๑ เอกสารจากโรงพยาบาลฉบับนี้ (ไม่ว่าจะออกโดยสถานพยาบาลรัฐหรือเอกชน) ในระดับหนึ่งมันได้รับการยอมรับโดยราชการไทยในฐานะพยานเอกสารที่แสดงว่าเด็กคนดังกล่าวเกิดในดินแดนของรัฐไทย

ก่อนหน้านี้ แม้ว่าเด็กจะเกิดในประเทศไทย แต่หากว่าพ่อและแม่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เด็กจะไม่สามารถจดทะเบียนการเกิด (หรือการได้รับการบันทึกชื่อและรายการของเด็กในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของประเทศไทย โดยจะได้รับสูติบัตรเป็นหลักฐาน)

แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมือง และอนุสัญญาสิทธิเด็ก ที่กำหนดว่ารัฐภาคีมีพันธกรณีจะต้องจดทะเบียนการเกิดเด็กทุกคนที่เกิดในดินแดนของรัฐภาคี อันส่งผลให้การจดทะเบียนการเกิดให้กับเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย (Universal Birth Registration) ถูกระบุไว้ในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๑(มาตรา ๑๘, ๑๙, ๑๙/๑, ๑๙/๒, ๑๙/๓, ๒๐ และ ๒๐/๑)

แม้หมอจะยืนยันว่ามะเฮตีไท้ซาน ไม่เป็นโรคหัวใจเหมือนเธอและลูกชายคนโต แต่หลังจากฟังเรื่องเล่าความรู้ที่ปากต่อปากในกลุ่มคนพม่าที่เข้ามาเป็นแรงงานในอำเภอเมืองระนอง ที่ว่าหากเด็กที่เกิดในไทยมีสูติบัตรแล้ว จะทำให้มีสิทธิซื้อบัตรหลักประกันสุขภาพ

(ด้วยความเป็นเมืองชายแดน และการมีวิสัยทัศน์ของบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่เล็งเห็นว่า การป้องกันโรค คืองานความมั่นคงทางสาธารณสุข อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการรักษา  โรงพยาบาลจังหวัดระนองจึงดำเนินการให้มี “หลักประกันสุขภาพทางเลือก ให้กับแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาต กลุ่มคนไทยถิ่นพลัด รวมถึงคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยนานมาแล้วและได้รับการสำรวจ-จัดทำและบันทึกทางทะเบียนในฐานข้อมูลราษฎรไทย ในราคา ๑,๙๐๐ บาท/คน/ปี)

เธอตั้งใจแล้วว่า จะเก็บเงินซื้อหลักประกันสุขภาพให้กับมะเฮตีไท้ซาน และเธอเริ่มคิดว่า จะต้องทำอย่างไร มะเฮตีไท้ซานจึงจะมีสูติบัตรได้
 

หลังจากได้รับคำปรึกษาจากชาติชาย อมรเลิศวัฒนา เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น ในจังหวัดระนอง ที่ยืนยันว่า “กฎหมายใหม่” รับรองสิทธิในการจดทะเบียนการเกิดสำหรับเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทย รวมถึงมะเฮตีไท้ซาน แต่ก็ยังมีข้อกังวลใจร่วมกัน
 

เพราะเอกสารผ่านแดนนั้นไม่ได้ต่ออายุวีซ่า ทำให้เธอ ‘หลุด’ จากสถานะอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย หากเธอลุกขึ้นมาดำเนินการให้มะเฮตีไท้ซานมีสูติบัตร อาจทำให้เธอตกอยู่ในความเสี่ยง? เธออาจถูกจับ? แต่ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจ..
 

“ไม่ได้” คือคำตอบด้วยวาจาจากเทศบาลเมืองระนอง

โจทย์ที่ยากขึ้นสำหรับตินนิลามิน ก็คือขั้นต่อไป อาจหมายถึงการใช้กระบวนการทางศาลปกครอง โดยการฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ตรวจสอบว่าการกระทำทางปกครอง (คำสั่งปฏิเสธของเทศบาลเมืองระนอง) นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ..ในทางปฏิบัติ กระบวนการที่พอจะเยียวยาความเสี่ยงของเธอได้ก็คือ การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน

</span>

“ถ้าต้องไปศาล จะ(กล้า)ไปหรือเปล่า”
“แล้วจะเดินทางออกนอกพื้นที่ได้อย่างไร ไม่ถูกจับก่อนหรือ”

แต่ความมั่นใจต่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไทย ดูจะมีไม่น้อยไปกว่า ความอยากซื้อบัตรประกันสุขภาพใลูกสาว ตินนิลามินเห็นว่า หากจำเป็นต้องไปศาล แล้วจะทำให้มะเฮตีไท้ซานมีสิทธิที่จะมีบัตรประกันสุขภาพ เธอก็อยากจะทำ เพราะมันคือการทำเพื่อลูกสาวเธอ

 

ชาติชายได้ทำหนังสือมอบอำนาจ ให้ตินนิลามินลงชื่อมอบอำนาจให้ชาติชายไปยื่นคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนราษฎร แบบท.ร. ๓๑ ซึ่งหากเทศบาลเมืองระนองปฏิเสธ คราวนี้จะต้องปฏิเสธเป็นลายลักษณ์อักษร และทางตินนิลามินจะต้องอุทธรณ์คำสั่งฯ ดังกล่าว ซึ่งนั่นหมายถึงจุดเริ่มต้นของฐานฟ้องคดีปกครอง
 

๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เทศบาลเมืองระนองมีคำสั่งปฏิเสธคำขอสูติบัตรของตินนิลามิน ความกังวลของตินนิลามินไม่ลดน้อยลง ขณะเดียวกัน คงไม่เกินเลยเกินไปที่จะกล่าวว่า ความเชื่อมั่นในกฎหมายของเธอนั้นดูหนักแน่น จนคนรอบตัวพลอยไม่หวั่นไหวอีกต่อไป วันเดียวกันกับที่ตินนิลามินทราบข่าว เธอตัดสินใจอุทธรณ์คำสั่งของเทศบาลเมืองระนอง

๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ ร่วมครึ่งเดือนของการรอฟังผลการอุทธรณ์คำสั่งฯ ความเชื่อมั่นต่อกฎหมายไทยของตินนิลามินถูกเขย่าเบาๆ ..เธอยอมรับว่าเธอกังวล

๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ เทศบาลเมืองระนอง ยอมรับที่จะบังคับใช้กฎหมาย แจ้งกลับมายังตินนิลามินว่ามะเฮตีไท้ซานจะได้รับการออกสูติบัตรให้ (สูติบัติประเภท ๐๓๑ ออกให้เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑)

ไม่เกินเลยไปเลย ที่จะยืนยันอีกครั้งว่า ตินนิลามินและมะเฮตีไท้ซาน คือ ผู้มีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมายไทย ทำให้การจดทะเบียนการเกิดเป็นหลักการและทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
 

ฤดูฝนในเดือนสิงหาคม ..
 

ตินนิลามินและครอบครัวของเธอย้ายบ้านออกไปนอกตัวเมือง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพราะสามีเธอได้งานก่อสร้างแห่งใหม่ ฝนที่ตกทุกวันทำให้เด็กๆ แถวไซด์งานก่อสร้างเป็นหวัด ตินนิลามิน เพิ่งกลับจากเยี่ยมลูกชายคนโตที่เกาะสอง
 

(ตินนิลามิน เป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะเมื่อต้นปีนี้ เธอกลับบ้านที่เกาะสอง เพื่อทำเอกสารผ่านแดน (border pass) ที่มีอายุ ๒ ปี และต้องไปต่ออายุวีซ่าทุกๆ ๗ และ ๑๔ วัน)

เธอพบว่ามะเฮตีไท้ซานเป็นหวัดและตัวร้อนจัดเป็นวันที่สามแล้ว เธอยังไม่ได้ซื้อหลักประกันสุขภาพให้ลูกสาว เพราะเงินเก็บของครอบครัวเพิ่งถูกใช้ไปสำหรับขึ้นทะเบียนแรงงานของสามีเธอ เพื่อสามีเธอจะได้เป็นแรงงานที่ทำงานได้อย่างถูกกฎหมายเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา 

ในวันนั้น เราถามคำถาม ‘ท่าบังคับ’ กับตินนิลามินว่าอยากได้สัญชาติไทยหรือเปล่า? อยากให้มะเฮตีไท้ซานได้สัญชาติไทยหรือเปล่า?
 

เธอยิ้มตอนที่ตอบว่า “ไม่ได้คิดถึงเลย ไม่ได้คิดอันนี้ และ กำลังเก็บเงินใหม่

เราอธิบายกับตินนิลามินว่า หลักประกันสุขภาพนั้นสามารถซื้อได้ แม้จะไม่มีสูติบัตร แต่เราก็ชื่นชมความมุ่งมั่นของเธอที่พยายามทุกทางเพื่อให้มะเฮตีไท้ซานได้สูติบัตร โดยไม่รู้ตัว ตินนิลามินจึงกลายเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายใหม่ไปแล้ว ชาติชายบอกว่า หลังจากกรณีของตินนิลามินและมะเฮตีไท้ซาน ลูกของแรงงานต่างด้าวหลายรายก็สามารถเข้าถึงสูติบัตรได้
 
โรคหัวใจที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและสุขภาพที่อ่อนแอของตินนิลามิน คนที่เป็นแม่และเมียของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระนอง ได้แปรเป็นความตั้งใจที่อยากให้ลูกสาวของเธอ-มะเฮตีไท้ซานมีบัตรประกันสุขภาพ

..เวลาที่ผ่านมา เธอทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ความพยายามของตินนิลามินเพื่อมะเฮตีไท้ซาน ได้กลายเป็นต้นแบบของความเชื่อมั่นในกฎหมาย และการมีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องของการจดทะเบียนการเกิดไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 293131เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตกลงเด็กที่เกิดเมืองไทยจะได้เป็นคนไทยไหม

และประเทศพม่าจะยอมรับเด็กคนนี้กลับไปหรือไม่ เขาจะปฏิเสธได้ไหมว่าไม่ได้เกิดประเทศเขาเขาไม่ยอมรับ แม้คนที่เกิดในแผ่นดินเขาเขายังผลักไสให้ไปที่อื่นได้

ข้อแรก--การเกิดเืมืองไทย อาจไม่ได้ัสัญชาติไทยเสมอไปค่ะ กรณีของมะเฮตีไท้ซาน-กรณีนี้

  • ไม่ได้สัญชาติไทย เพราะพ่อแม่ไม่ได้มีัสัญชาติไทย จึงไม่มีสัญชาติไทยโดยหลักสายโลหิต
  • และแม้ว่าเกิดในดินแดนของประเทศไทย ก็ไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน เพราะแม่เข้าเมืองในลักษณะไม่ถาวร (แม่ถือ border pass) พ่อเข้าเมืองผิดกฎหมาย

ข้อสอง--ประเทศพม่าจะยอมรับหรือเปล่า

  • ตอบตามหลักการก็คือ เด็กควรมีสัญชาติตามพ่อแม่-แน่นอนค่ะ
  • ส่วนการจะปฏิเสธโดยอ้างว่าเหตุที่ไม่ได้เกิดในประเทศ ก็ควรต้องปฏิเสธด้วยกฎหมาย นะคะ (หรืออาจเป็นนโยบาย?) --ต้องไปดูกฎหมายสัญชาติของพม่า แต่โดยหลักแล้วก็ต้องมีสัญชาติพม่า โดยสืบสายเลือดจากแม่หรือ/และพ่อนั้นแหล่ะค่ะ อันนี้เป็นหลักกฎหมายทัี่วไป และเป็นสากลนะคะ
  • ตินนิลามินห์ เป็นคนพม่านะคะ มีชื่อในทะเบียนราษฎร, มีบัตรประชาชนพม่า และตอนนี้ถือเอกสารเดินทาง คือ border pass ซึ่งออกโดยหน่วยงานรัฐของพม่าค่ะ

คนที่เกิดในแผ่นดินเขายังถูกผลักไสเลย--ก็จริงค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท