วิทย์
นาย ประวิทย์ วิทย์ นิสังรัมย์

จิตนั้นสำคัญไฉน


การบริหารจิต

จิตนั้นสำคัญไฉน

ü    จิต คือ  ใจของคนที่คิดอะไร  เป็นอย่างไร

ü    จิตมีความสำคัญคือ เป็นมูลฐานของความประพฤติในทุกทาง และความเจริญ  ความเสื่อม  ความสุขและความทุกข์

ü    อาหารของจิตคือ  อารมณ์   คือเรื่องที่ทำให้จิตมีสุข  อาหารที่มีประโยชน์คือ(ธรรมะ)เป็นเครื่องบำรุงจิตใจ    จิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว(ธรรมะ)ย่อมก่อประโยชน์สุขแก่ตัวเอง ธรรมะ เป็นเครื่องยับยั้งใจของคนเรามิให้ประพฤติไปตามอำนาจของจิตใจอย่างไม่มีอาย ไม่มีกลัว ดังที่ว่า ปราศจากหิริโอตัปปะ(ความละอายรังเกียจความชั่วและกลัวเกรงต่อความชั่ว ) สัตว์เดรัจฉานมีธรรมะอยู่ระดับต่ำมากทั้งไม่อาจเพิ่มพูนให้มากจนถึงระดับที่เรียกว่า วัฒนธรรมได้  จึงเรียกว่า  อบายภูมิ คือภูมิกำเนิดที่ไร้ความเจริญ  พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่าจิตที่ตั้งไว้ผิดพึงทำให้ผู้นั้นทรามยิ่งกว่าโจรกระทำแก่โจรหรือคนมีเวรกระทำต่อคนมีเวร

ü    จิตใจที่แท้จริง  คือจิตใจต้องการความดี   จิตใจที่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสต่างหากที่ต้องการความชั่ว ลักษณะที่เป็นทาสแท้ของจิต  คือ  ความผุดผ่องและความรู้มีความผุดผ่องโปร่งใสสงบสบาย สมาธิ  คือ การตั้งใจไว้ถูกโดยแน่วแน่มั่นคง  จะทำการงานอะไรเมื่อมีความตั้งใจทำ    จึงทำได้เรียบร้อย

ü    ลักษณะที่เป็นส่วนผสมของจิตใจ  จิตที่ไม่ผุดผ่องอยู่เสมอก็เพราะมีส่วนผสมที่เข้ามาทำให้จิตเศร้าหมอง  คือ กิเลส  แปลว่าเครื่องเศร้าหมอง  หรือเป็นสิ่งที่มาอาศัยอยู่กับจิตใจ

ü    วิธีการหัดทำความตั้งใจหรือสมาธิ

       1. ก่อนทำอะไรให้นึกรู้ตัวเองว่าเราจะทำ   2. ให้ชั่งคิดว่าถูกหรือผิด  3. ให้ตั้งใจไม่ทำผิดถ้าตั้งใจแน่วแน่เว้นการทำผิดได้แน่  4. เมื่อรู้ตัวว่าถูกให้ตั้งใจทำ   ถ้าตั้งใจแน่วแน่ก็ทำได้ถูกแน่ เมื่อให้หัวข้อ ทั้ง  4 ไว้  ก็อาจจะถูกหาว่าพูดง่ายทำยากก็น่าจะจริง แต่  ก็ควรคิดว่าทำยากเพราะอะไร อาจจะมีคำตอบที่น่าจะไม่ผิดคือ ที่ว่ายากเพราะว่ายังไม่ได้ลงมือทำ  คือยังไม่หัดที่จะทำ

ü    วิธีเสริมกำลังให้แก่จิตคือ  การรวมจิตไม่ปล่อยให้ฟุ่งซ่าน

ü    หลักการบริหารจิต

1.        ยกจิต(ให้พ้นจากกิเลส)

2.       ข่มจิต

3.       บันเทิงจิต

4.       ปล่อยจิต

ü    จงเตือนตนด้วนตน  จงสอบสวนตนด้วยตน  ผู้มีสติคุ้มครองตนจักเป็นผู้ปลอดภัยอยู่เป็นสุข

จิตที่บริหารฝึกดีแล้ว  จะเป็นจิตที่มีสมรรถภาพสูงมาก    ….และปล่อยวางได้ตามสบาย 

ü    เครื่องมือที่ทำให้จิตใจมีสมาธิคือ  สติ (ความระลึกได้ จดจำได้ เป็นความรู้รอบคอบให้ไม่หลงลืมควบคุมตนเองได้  ไม่ใช่ทำอะไรอย่างหนึ่งแล้วปล่อยใจล่องลอยไปเรื่องอื่น  ซึ่งเป็นอาการที่ขาดสติ  ความขาดสตินั้นเองที่เรียกว่า  ความประมาทจิตใจที่ขาดสติจะเป็นสมาธิไม่ได้ ดังจะกล่าวทบทวนว่าความตั้งใจไว้ถูกโดยแน่วแน่มั่นคงคือ  สมาธิเป็นหัวสำคัญในกิจที่จะทำอะไรทุกอย่าง ควรมีสติระลึกอยู่ก่อนว่าเราจะทำ ระลึกตนเองว่าทำถูกหรือผิดและส่งเสริมทำในสิ่งที่ถูก

ü    อะไรที่เป็นผลโดยตรงของการทำจิตให้เป็นสมาธิ  คือปัญญา /ปัญญาคือ  ความรู้ตามความเป็นความจริง     ……  ผลโดยตรงจากสมาธิคือปัญญา /คุณธรรมคือ  ความดีอันได้แก่ความดีที่เกิดจากความประพฤติในทางบำบัดความทุกข์ความเดือดร้อน คุณธรรมนั้นเองที่ช่วยรักษาผู้ประพฤติมิให้ตกไปในทางที่ชั่ว  /สติคือ ความระลึกได้ หมายถึงความระลึกถึงการที่  ทำ  การพูดแล้ว ผู้ที่มีสติดีจะมีความจำได้ดี  สติที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วย ความรู้ตัว 

ฉัตรมงคลแห่งประชาชน

ภาษิตในพระพุทธศาสนาบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า  ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

เหมือนฉัตรร่วมใหญ่ในฤดูฝน(ธรรมในที่นี้หมายถึงคุณธรรมอันได้แก่ความดี)  อันเกิดจากความประพฤติในการบำบัดทุกข์เดือดร้อนเกื้อกูลให้เกิดสุข คุณธรรมนี้เองย่อมรักษาผู้ประพฤติไม่ให้ตกอยู่ในความที่ชั่ว และยังรักษาตลอดไปจนถึงผู้อื่นได้อีกด้วย  เพราะผู้ปะพฤติธรรมย่อมไม่ทำให้ใครเดือดร้อน  ทำแต่สงเคราะห็เกื้อกูล  จึงไม่ให้ใครเดือดร้อนจากผู้ประพฤติธรรม

ü    ธรรมเป็นของคู่กับสัมปชัญญะ  คือความรู้คุมตัวเองอยู่ในอิริยบถทั้งปวง

ü    สติเป็นคู่กับการรู้ตัว  เพราะถ้าสติจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อความรู้ตัวประกอบ  ถ้าไม่มีสัมปชัญญะ  มีแต่ระลึกได้  ก็หาเป็นสติไม่

ü    อะไรเป็นเครื่องห้ามความโกรธให้ประมวลดูเหตุเกิดจากอะไรซึ่งถ้ายับยั้งใจเสียได้ผลจะเป็นอย่างไรจะเดือดร้อนหรือไม่  ความรู้สึกได้นั้นเป็นสติเพื่อป้องกัน      เมื่อเกิดโกรธขึ้นให้ระลึกได้ว่าความโกรธไม่ดี  ควรยับยั้งเสียก่อนที่จะก่อให้เกิดกรรมร้ายใดๆขึ้น

ü    ความหลงแบบต่างๆ  คือความปัญญาหรือเผลอปัญญามักเกิดกับคนที่เชื่อง่าย  สำคัญตนผิด  ขาดการศึกษา  คนเมา  คนลืมตัว 

ü    เชื่อง่ายนั้นคือ   เมื่อคนมาบอกเรื่องอะไรเชื่อไว้ก่อนที่เรียกว่าคนหูเบา ความเชื่อที่ผิดนั้นเป็นความหลง  ฉะนั้น ต้องมีสติห้ามใจไม่ให้ด่วนชอบหรือโกรธ

ü    มักง่ายนั้นคือ  คนมักทำอะไรแบบชุ่ยๆ ไม่พินิจรอบคอบ  มักจะเกิดความผิดพลาดบ่อยเป็นความหลงอย่างหนึ่งมีอาการย่อหย่อนทางปัญญาและความเพียร

ü    สำคัญตนผิด  คือ ความหลงอยู่ในตนคือไม่รู้จักตนเองตามความเป็นจริง  จึงสำคัญตนผิดไป  เช่นสำคัญตนเองว่าดีวิเศษ  ส่วนคนนั้นเสียหายอย่างนั้นอย่างนี้  โดยสรุป คือรู้จักตนดีหรือไม่ดีอย่างไร  เป็นเหตุให้สำคัญตนถูก  ส่วนความไม่รู้จักตนตามเป็นจริงดังนั้นเป็นเหตุให้สำคัญผิด  เมื่อเป็นเช่นนั้นก็แสดงตนออกไปในทางที่ผิด  หรือไม่แสดงก็สร้างปมขึ้นในใจ  จะเป็นปมเด่นหรือด้อยก็ตาม  บางที่ชอบแสดงเด่นเพื่อลบปมด้อยในใจ  อาการเช่นนี้มักจะมีแก่ผู้ที่เคยต่ำแต่มาได้ฐานะสูงที่หลัง  จึงทำการชูตนให้สูงสมกับฐานะ…….การใช้สติตรวจตราตนเองอยู่เสมอจะไม่เกิดความสำคัญตนผิดขึ้น  อีกประการหนึ่ง  ใช้สติพิจารณาเสมอว่าการนำตนเข้าไปเทียบกับตนอื่นแล้วเกิดการชูตนเป็นการไม้ดีเลย  ตนเองใฝ่ดีก็ตั้งหน้าตั้งตาทำดีไป  อะไรที่ทำไม่ดีก็เว้น

ü    ความเมากาย หมายถึงเมาด้วยการดื่มน้ำเมาอันเป็นฐานแห่งความประมาท  ดังที่แสดงไว้ในศิล ข้อ 5   คนที่เมาแล้วต้องแสดงอาการวิปริต  ประสบความเสียหาย  ไม่มีสติที่จะครองตน  แต่คนที่มีสติย่อมจะระลึกได้ว่าการดื่มสุราควรไม่ควรอย่างไร  สติเป็นเครื่องเตือนใจแน่วแน่มั่งคง  แต่ต้องหัดบริหารจิตให้มีสติบ่อยๆ จนมีกำลังที่จะต้านทานความดิ้นรนที่จะเสพติดอีก

ü    ความเมาใจ  อันเมาสำหรับใจนั้นได้แก่  ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุขต่างๆที่คนส่วนมากปรารถนาต้องการ  ลาภคือทรัพย์สิ่งที่ได้มา  หรือที่ยากได้  เช่นเงินทอง  แก้วแหวน และสมบัติต่างๆ  ยศ  คือความเป็นใหญ่ต่างๆ  ที่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่  หรือความมีบริวารพวกพ้องหรือเกี่ยวแก่สิ่งที่เรียกว่ามีเกียรติ  สรรเสริญ  คือความยกย่องชมเชย  สุข  คือความผาสุก  สนุกสบาย  พร้อมทั้งสิ่งที่บำรุงความสุขต่างๆ  แต่คนที่มีสติรู้จักประโยชน์รู้จักประมาณในการแสวงหาในการใช้ย่อมจะได้ประโยชน์เต็มที่  สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ทำประโยชน์ต่างๆทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นได้มาก   คนที่มีสติเมื่อมีสิ่งเหล่านี้มากเท่าใด  ย่อมทำประโยชน์ให้เกิดแก่คนทั้งปวงได้มากเท่านั้น  ทั้งสามารถเพิ่มพูนไม่ให้หมดไปด้วย  ส่วนคนที่ขาดสติที่จะระลึกให้ได้ถึงคุณโทษย่อมเกิดความเมาได้ง่าย  คือหลงระเริงในทรัพย์  ยศ เป็นต้น  ยิ่งได้ก็ยิ่งอยาก  จนถึงไม่คำนึงทางที่ผิดทางที่ถูก  และเมื่อได้มาแล้วก็ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์หรือใช้ในทางที่ผิด  สิ่งเหล่านี้ก็กลายเป็นของเมา  เป็นเครี่องทำลายตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน……

ü    ความลืมตัว  สำคัญมาก  เพราะเมื่อลืมตัวไปเสียอย่างเดียวก็ชื่อว่าลืมข้ออื่นๆ  ไปอีกมากมาย  เพราะการลืมตัวจึงทำให้สำคัญตนผิด  ความลืมตัวเป็นการขาดสติที่จะระลึกได้ว่าตนเองทำอะไรอย่างไรที่เป็นอยู่  การลืมตัว คือตนเองลืมภาวะหรือฐานะที่เป็นจริงตนเองไป  โดยเข้าใจว่าตนเองเป็นอีกแบบหนึ่ง  เพราะขาดสติดังกล่าว  อะไรเป็นเครื่องที่ทำให้ขาดสติ  หากจะตั้งปัญหาดังกล่าวขึ้นดังนี้  ก็น่าจะได้คำตอบว่ามีเหตุผลหลายอย่าง  เช่นความมีทรัพย์  อำนาจ  วาสนา ความคะนองลำพองใจ  ความยกย่อง  สิ่งเหล่านี้เหมือนยาพิษ  สำหรับผู้ที่ขาดสติ  เช่นเมื่อมีทรัพย์ขึ้นก็ลืมฐานะเดิมของตนลืมญาติมิตรสหายที่เรียกว่า  กระด้างขึ้นเพราะทรัพย์  มีอำนาจวาสนาขึ้นก็เช่นกัน  เข้าใจตนเองว่าวิเศษยิ่งกว่าที่เป็นอยู่  การป้องกันก็คือ หมั่นบริหารจิตให้มีสติความระลึกได้คอนเตือนตนตนเตือนใจด้วยสติอยู่เนื่องๆก็จะมีสติเป็นเครื่องรักษาตน  ทำให้คนไม่ลืมตัวแม้ในเรื่องทั้งปวง….

 

ความโลภ(โลภะ)

ทางที่ทำให้เกิดปัญญามี  3 ทาง คือ 1. การฟังหรือการอ่าน  2. การคิดไตร่ตรอง  3.การกระทำ(คือความเพียรพยามละความชั่ว) ปัญญาเป็นตัวชี้วัดความดี  - ความชั่ว      ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง มาบังปัญญา จึงกลายเป็นโมหะ  ถ้าต้องการไม่ให้เกิดทุกข์  จะต้องพยามยามไม่โลภ  ความโลภมีอยู่ในใจผู้ใดจึงเป็นเหตุแห่งความทุกข์ของผู้นั้น การให้โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนเป็นลาภ  ยศ สรรเสริญ  คือ ทางดำเนินที่ที่ถูกต้องไปสู่ความละความโลภในชั้นต้นสำหรับทุกคน- จิตที่ได้รับการบริหารหรือการอบรมอย่างเต็มที่แล้ว  ย่อมมีค่าสูงกว่าของอื่นใด  ไม่มีอะไรเปรียบเทียบได้ทั้งสิ้น-ใจที่มีพื้นฐานดีงามหรือใจที่ดีงามนั้นเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด  ไม่มีค่าอะไรอื่นเปรียบเทียบได้จะเป็นคุณประโยชน์แก่ตัวเองยิ่งกว่าคุณประโยชน์ที่ได้รับจากผู้ใดทั้งสิ้น- ความโลภอยู่ที่ไหน  ความเดือดร้อนอยู่ที่นั้น(ปรารถนาความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด)  - กิเลส 3 กอง โลภ  โกรธ หลง  เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์

ü    การให้เป็นการลดความโลภ     เมื่อไม่ต้องการเสวยความทุกข์เพราะความโลภ  ก็ต้องละเหตุแห่งทุกข์คือความโลภเสีย  ละได้น้อยก็เสวยทุกข์มาก  ละได้มากก็เสวยทุกข์น้อย  นี้เป็นความจริง  อุบายวิธีที่จะทำให้ความโลภลดน้อยลงอย่างได้ผลคือหัดเป็นผู้ให้  เมื่อจะให้ต้องมีสติบอกตัวเองให้ชัดแจ้งว่า  ที่ให้นี้เพื่อทำความโลภอันเป็นเหตุไม่ดีให้ลดน้อยลงมิได้เพื่อหวังสิ่งตอบแทนเป็นลาภ  ยศ  สรรเสริญสุข  อันเป็นการจะทำให้เหตุไม่ดี

ü    โลภมากทุกข์มาก  ค่าของจิตที่ได้รับการบริหารหรืออบรมดีแล้วย่อมสูงกว่าค่าอะไรทั้งสิ้น  ไม่มีค่าใดเปรียบได้ทั้งสิ้น  จิตนั้นดีก็ดีที่สุด  ชั่วก็ชั่วที่สุด  ดีก็ให้คุณแก่เจ้าของเป็นที่สุด  ชั่วก็ให้โทษแก่เจ้าของที่สุด  ไม่มีผู้ใดจะได้รับคุณ  หรือรับโทษของจิตเท่ากับเจ้าของจิตเองเลย

ü    ความโลภเป็นเหตุแห่งความทุกข์ดังนี้  เมื่อตั้งใจพิจารณาอย่างมีสติจนเห็นแน่ชัดพอสมควรแล้ว  ว่าใจกำลังมีความทุกข์เพราะความโลภมาก  หรือมีความทุกข์น้อยเพราะโลภน้อย  ให้มีสติเพ่งโทษของความโลภให้ชัดที่สุดเท่าที่จะทำได้  มันเป็นโทษของความโลภจริงๆหากพิจารณาแล้วจะกลับว่าไม่ได้โลภ  เป็นสิ่งที่ควรได้ต่างๆหาก  เพราะไม่ได้สิ่งที่ควรได้ตางหาก จึงเป็นทุกข์  ก็ให้พยายามมีสติรู้ว่าตนกำลังเข้าใจผิดอย่างยิ่งแล้วพิจารณาใหม่  จนได้ความเข้าใจถูก  แม้เพียงสมควร  ว่าความทุกข์ครั้งนี้เกิดจากความโลภ  มิได้เกิดจากอะไรอื่น

ü    ดับโลภด้วยสติ   ความโลภหรือไม่โลภนั้นเป็นเรื่องของจิตใจโดยแท้  ไม่เกี่ยวกับโอกาส  กฎหมาย  ไม่เกี่ยวกับผู้รู้เห็นจะตำหนิโทษ อันความโลภซึ่งเป็นสิ่งสกปรกของใจนั้น  ก็เช่นเดียวกับเหงื่อไคลซึ่งเป็นสิ่งสกปรกของร่างกาย  ถ้าไม่ขัดถูให้สะอาดอยู่เสมอ  ก็ย่อมเพิ่มความสกปรกยิ่งขึ้นทุกที

ü    ให้เพื่อหวังบุญมิใช่โลภ  เชื้อไฟเป็นอาหารของไฟ  ความปรารถนาต้องการเป็นอาหารของความโลภ  ไฟจะลุกไหม้อยู่ไม่รู้ดับแม้ไม่หมดเชื้อ  ความโลภก็จะทวีขึ้นไม่หยุดยั้งแม้ไม่หมดความปรารถนาต้องการที่กำลังลุกแรงและอ่อนแรงลง  เมื่อเชื้อน้อยลงและจะดับสนิทเมื่อหมดเชื้อสิ้นเชิงฉันใด  ความโลภที่แรงจัดก็จะอ่อนลงได้  เมื่อความปรารถนาต้องการน้อยลงและจะสิ้นโลภได้สิ้นเชิง  ……  ถ้าการให้นั้นเป็นการให้เพื่อลดกิเลสหรือความโลภในใจตน  มิได้ให้เพื่อหวังสิ่งตอบแทนที่ยิ่งกว่า  มีผลตอบแทนที่ยิ่งกว่าเพียงอย่างเดียวที่หวังได้เมื่อจะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ผู้ใด  จะไม่เป็นการเพิ่มความโลภ  ความต้องการปรารถนา  ผลตอบแทนนั้นคือบุญ  เพราะเป็นความดีเป็นเหตุที่ดี  (การให้ที่ดีที่สุดคือ  การให้ธรรมะ)

ü    ความโลภมีกลิ่นเหม็นทวนลม   นั่นคือ  ผู้มีศิลย่อมล่วงรู้ไปทุกทิศทุกทาง  แม้ในทิศทวนลมฉันใด  ผู้มีความโลภก็ย่อมล่วงรู้ไปถึงทุกทิศทุกทาง  แม้ในทิศทางทวนลมฉันนั้น  ผิดกันที่ว่าผู้มีศิลย่อมหอมหวล  ส่วนผู้มีความโลภย่อมเหม็นคลุ้ง  เพราะกลิ่นของศิลเป็นกลิ่นที่หอม  กลิ่นของความโลภเหม็น….กลิ่นของศิลที่หอม..กลิ่นความโลภเหม็น  นี้เป็นความจริง  และเป้นความจริงที่จะให้ประโยชน์แก่จิตใจเป็นอันมาก  หากจะเชื่อว่าเป็นความจริง  แล้วไตร่ตรองดูว่า  กลิ่นใดเป็นที่พึงปรารถนา  เหคุกับผลย่อมตรงกันเสมอ  เหตุดีเท่านั้นที่ให้ผลดี  เหตุชั่วเท่านั้นที่จะให้ผลชั่ว  เหตุดีจะไม่ให้ผลชั่วเด็ดขาด  ..เหตุชั่วจะไม่ให้ผลดีเด็ดขาด  ไม่มีข้อยกเว้นอย่างแน่นอนสำหรับเหตุและผลนี้  ต้องเป็นไปดังกล่าวเสมอความปรารถนาต้องการหรือความโลภนั้น  อาจจะทำให้เสียศิลหลายข้อหรือทุกข้อเลยที่เดียวตั้งแต่ศิลข้อที่ 1  ถึง  ข้อที่ 5 …….(หากจะโลภขอให้โลภทำบุญ)

ü    ความปรารถนาดับ  ความร้อนดับ  บุญและบาปที่ผู้ใดทำไว้เท่านั้น  ที่จะติดตามผู้นั้นอยู่ทุกเวลา  ทั้งยังมีชีวิตอยู่และแม้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว  ดังนั้นหากจะสะสมก็ควรสะสมบุญ  เพราะบุญจะเป็นสมบัติของตนตลอดไปทั้งยังเป็นสมบัติที่หาค่าไม่ได้

ü    เสียสิ้นสงวนศักดิ์….ผลย่อมเกิดจากเหตุ  และผลย่อมตรงกับเหตุ  เหตุดีผลก็ดี  เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี     การกระทำทุกอย่างมีผล..คือ กรรมทุกอย่างมีผล  ทำดีหรือกรรมดีก็มีผลดี  ทำชั

หมายเลขบันทึก: 292877เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2009 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท