ปกรณ์
ว่าที่ร.ต. ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง

วงจรการบริหาร


วงจรการบริหารโครงการ

บทที่ 2 เรื่องวงจรการบริหารโครงการ

                วงจรบริหารโครงการหรือเรียกอีกว่า วงจรโครงการ ผู้บริหารโครงการจะบริหารโครงการตามวงจนของโครงการ นักวิชาการหรือหน่วยงานต่างๆ เสนอวงจรของการบริหารโครงการหรือใช้ประสานงานของผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการ โดยมีขั้นตอนแตกต่างกันตามบริบทของโครงการ องค์การภาครัฐมีวงจนที่มีการวิเคราะห์และกำหนดนโยบายของรัฐเป็นหลักของการกำหนดโครงการและการบริหารโครงการส่วนวงจรการบริหารการบริหารขององค์การภาคเอกชนจะยึดนโยบายของเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุด อาจอยู่ในรูปคณะกรรมการบริหาร

วงจรการบริหารโครงการ

                วงจรการบริหารโครงการแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ วงจรการบริหารโครงการขององค์การภาครัฐ วงจรการบริหารโครงการภาคเอกชน และวงจรการบริหารโครงการของธนาคารโลก มีรายละเอียดดังนี้

1.วงจรการบริหารโครงการขององค์การภาครัฐ เป็นวงจรที่ซับซ้อน มีแนวคิดหลากหลายตามสภาพของความต้องการ ส่วนใหญ่ได้ผ่านการวิเคราะห์เพื่อมอบให้หน่วยงานส่วนต่างๆ นำไปปฏิบัติ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

                1.1 การวางแผนการประเมินค่าและการจัดทำข้อเสนอโครงกา คือการกำหนดแนวคิดของโครงการ ความเหมาะสม และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

                1.2 การศึกษาความเป็นไปได้และการประเมินค่าโครงการ เป็นการศึกษาข้อเท็จ

จริงของโครงการ

                1.3 การจัดทำข้อเสนอ หรือ การออกแบบโครงการ เป็นการจัดทำรายละเอียดของแผนดำเนินงาน จำนวนทรัพยากรที่จะใช้ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนบุคลากร ทักษะเครื่องมือต่างๆ

                2. การคัดเลือก การอนุมัติ และการเตรียมความพร้อม

                                2.1 การคัดเลือกและการอนุมัติโครงการ เป็นการนำรายละเอียดของโครงการมาพิจารณาเปรียบเทียบกับโครงการอื่นๆ โดยมีแนวคิดต่างๆ ได้แก่ การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการ การกลั่นกรองข้อเสนอโครงการเบื้องต้นในเรื่องของเหตุผลและความจำเป็นของโครงการ วัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาประเทศ มติ คำสั่ง ระเบียบ แผนงาน อื่นๆ การพิจารณาความเหมาะสมของทางเลือก กรอนุมัติโครงการ

                                2.2 การเตรียมความพร้อม มี 3 ประการ คือ การจัดทำแผนดำเนินงาน การจัดทำแผนงบประมาณ การจัดทำแผนกำลังคน การคัดเลือกผู้บริหารโครงการและทีมงาน

                3. การปฏิบัติการ การควบคุม และการยุติ ส่งมอบ

                                3.1 การนำโครงการไปปฏิบัติ เป็นการมอบหมายงาน การตัดสินใจ และการจัดระบบควบคุม

                                3.2 การนิเทศและการควบคุมโครงการ

                                3.3 การยุติและส่งมอบโครงการ

                4. การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข ประกอบไปด้วย การติดตามและประเมินผล การปรับนโยบายและแผน

วงจรการบริหารโครงการภาคเอกชน

                องค์การภาคเอกชน จะมีอำนาจในการตัดสินใจอยู่ที่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุด องค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ขนาดใหญ่อาจมีการบริหารในรูปคณะกรรมการเป็นฝ่ายช่วยพิจารณาตัดสินใจโดยมุ่งผลประโยชน์หรือกำไรให้องค์กรเจริญรุ่งเรืองโดยพิจารณาถึงแนวปฏิบัติของตนเอง อย่างไรก็ตามต้องสอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบ แบบแผนที่ทางราชการกำหนดไว้ วงจรโครงการของภาคเอกชนมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย

                1.การกำหนดแนวคิดโครงการ ขั้นนี้ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้ตัดสินใจในการกำหนดแนวคิดที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นของกิจกรรม ที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมอื่นๆ และถือเป็นข้อกำหนดเงื่อนไขของโครงการ

                2. การวางแผนโครงการ เป็นขั้นที่มีการวางแผนแนวคิด วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ และเสนอผู้บริหารเพื่อตัดสินใจในการทำโครงการ

                3. การดำเนินงานโครงการ เป็นการตัดสินใจลงทุนทำโครงการ ระบุการดำเนินงาน ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ และดูแลควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

                4. การยุติและการส่งมอบโครงการ เป็นการดำเนินการหลังโครงการเสร็จสิ้น ผู้รับผิดชอบโครงการส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้าง เพื่อดำเนินการทำงานต่อไป

วงจรการบริหารโครงการของธนาคารโลก

                บัมและโทลเบิร์ท ได้กำหนดขั้นตอนต่างๆ ในวงจรโครงการ มี 5  ขั้นตอน ดังนี้

                ส่วนชูชีพ พิพัฒน์ศิถี,2544,หน้า 20-39  ดังนี้

                1. การกำหนดแนวคิดโครงการ ได้แก่การกำหนดวัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของแนวคิด การคัดเลือกแนวความคิดโครงการในเรื่องของความเหมาะสมทางเทคโนโลยี ความเสี่ยง ความต้องการของตลาด ความพร้อม ความสามารถในการจัดหา การออกแบบ ค่าใช่จ่ายของโครงการ ต้นทุนทางสังคม การแสดงความจำนงที่จะให้ทำ รวมถึงเรื่องอื่นๆที่จำเป็น และการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำโครงการ การดำเนินวิธีการทำโครงการ การสรุปย่อการกำหนดโครงการ

                2. การจัดเตรียมโครงการ เพื่อออกแบบโครงการในรายละเอียด เพื่อจัดทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การออกแบบแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดรายละเอียดทางเทคนิคและตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจสังคมในด้านต่างๆ 2.การให้คำนิยามวัตถุประสงค์

3. การออกแบบองค์ประกอบโครงการในแต่ละส่วน  4. การออกแบบโครงสร้างองค์การและรับรองการจัดการ   5. การกะประมาณต้นทุนของโครงการและทำการเสนอแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการลงทุน

                ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนั้นจะศึกษาในเรื่อง เทคนิคหรือวิธีการ การเงิน เศรษฐกิจ สังคม สถาบัน สิ่งแวดล้อม

                3. การประเมินค่าโครงการ เป็นการประเมินโครงการที่เสร็จแล้ว เพื่อนำเสนอต่อสถาบันการเงินเพื่อทางสถาบันการเงินจะได้พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะอนุมัติเงินให้ในการทำโครงการ

                4. การปฏิบัติตามโครงการ เป็นขั้นตอนในการแบ่งงาน มอบหมายงาน การประสานงาน เพื่อให้โครงการนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามเป้าหมาย โดยแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การริเริ่มโครงการ 2.การระบุเฉพาะเจาะจงและกำหนดการทำงาน 3.การแจ้งอำนาจหน้าที่ 4.ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ 5.การได้รับทรัพยากร การจัดตั้งระบบควบคุม 6.การอำนวยการและการควบคุม และ7.การสิ้นสุดโครงการ และในส่วนของขั้นตอนในการปฏิบัติตามโครงการ มีอยู่ 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การวางแผนและการจัดการในการปฏิบัติตามโครงการ 2. เครื่องมือและเทคนิคการบริหารโครงการ 3. ความสำเร็จและปัญหาในการปฏิบัติตามโครงการ

                5. การประเมินโครงการ การประเมินโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

                                5.1 การประเมินก่อนการปฏิบัติโครงการ

                                5.2 การประเมินระหว่างปฏิบัติตามโครงการ

5.3 การประเมินหลังจากการปฏิบัติตามโครงการสิ้นสุดลงแล้ว

                วงจรการบริหารโครงการเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ จะต้องมีหลักการวางแผน มีการปฏิบัติตามโครงการ มีการดูแลควบคุม แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียด การดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จต้องดูปัจจัยหลายๆ อย่าง และต้องอาศัยความร่วมมือของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ จึงจะทำให้โครงการประสบความสำเร็จและเกิดความก้าวหน้า

 

 

//////////////////////////////////////////////////๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑///////////////////////////////////////////

 

หมายเลขบันทึก: 292752เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท