ถึงเวลาพัฒนาวิชาชีพครู


ยกระดับวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง

การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู

 

 

          ครู คือ ผู้กำหนดคุณภาพประชากรในสังคม และคุณภาพประชากรในสังคม คือ ตัวพยากรณ์ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม วิชาชีพครูจึงควรเป็นที่รวมของคนเก่ง คนดี สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม การประพฤติปฏิบัติตน การดำรงชีวิต และการชี้นำสังคมไปในทางที่เหมาะสม

ในสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน วิชาชีพครูกลับเป็นวิชาชีพที่คนทั่วไปดูหมิ่นดูแคลน เป็นวิชาชีพที่รายได้ต่ำ ผู้ประกอบวิชาชีพครูยากจน ผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงและมีฐานะดี ไม่ประสงค์จะให้บุตรหลานของตนศึกษาเพื่อออกไปประกอบวิชาชีพครู เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 ก็ไม่ประสงค์ที่จะสมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาชีพอื่นได้แล้วจึงจะสมัครเรียนเพื่อออกไปเป็นครู

แนวความคิดการพัฒนาวิชาชีพครู

 

1.        คุณภาพของผลผลิตและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต เป็นเครื่องชี้  ความสำเร็จของวิชาชีพ

2.        การพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต โดยการพัฒนางานในภาวะปกติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ     จะส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิตได้ตามเป้าหมาย

3.        การพัฒนางานที่เป็นการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเรียนรู้ หลักการ วิธีการ และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในงานอาชีพ และนำมาใช้ในานเพื่อค้นหาความรู้ สร้างความรู้ใหม่ในวิชาชีพของตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

4.        ครูที่สามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และ เป็นไปตามมาตรฐาน ควรได้รับผลตอบแทนสอดคล้องกับระดับมาตรฐานคุณภาพงานที่ปฏิบัติ

5.        การพัฒนาวิชาชีพครู เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของครูทุก ๆ คน  เพื่อสร้างผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นอยู่เสมอ

 

 

เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการให้บริการทางการศึกษาของครู สถานภาพและ

ภาพลักษณ์ของครูไทยและวิชาชีพครูควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.        วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ได้รับการยกย่องและมีเกียรติในสังคม

2.   ครูไทยเป็นปูชนียบุคคลที่ถึงพร้อมทั้งความรู้ ความสามารถในการสอนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำหรับการเป็นครูยุคใหม่

3.        สังคมและชุมชนมีส่วนร่วมทั้งโดยตรง และโดยอ้อมในการพัฒนาวิชาชีพครูทั้งระบบ

4.        มีระบบการประกันคุณภาพสถาบันผลิตครูและการรับรองคุณภาพบัณฑิตครู

5.        ครูทุกคนมีใบประกอบวิชาชีพครู

6.        ครูไทยมีคุณภาพ จำนวน และความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชน

7.        มีระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการครูที่เหมาะสม สอดคล้องกับภาระงาน ความเชี่ยวชาญเฉพาะและการสร้างขวัญกำลังใจ

8.        ครูทุกคนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และตอบสนองต่อการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

9.        มีการระดมทรัพยากรจากทุกฝ่าย และการจัดสรรงบประมาณในระดับท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาครู

10.  มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการกำหนด และตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพครู ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ระบบค่าตอบแทนและสวัสดิการ และการพัฒนาวิชาชีพ โดยรื้อปรับระบบขององค์กรที่เกี่ยวข้องให้ทำหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ และเปิดโอกาสให้สังคมและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

11.  มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของครูซึ่งมีตัวชี้วัดสำคัญ คือ คุณภาพการศึกษาของนักเรียน โดยให้การประเมินมีผลต่อการให้คุณโทษ และความก้าวหน้าทางวิชาการ

12.     ครูดีทุกคนได้รับการยกย่องและให้รางวัลรวมทั้งมอบหมายให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพครูต่อไป

หมายเลขบันทึก: 292658เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2009 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท