หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครปฐม


วิสัยทัศน์

            คิดสร้างสรรค์  ผสานจินตนาการ ชื่นชมความงาม สุขล้ำสุนทรียภาพ รักษ์ถิ่นฐาน อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

พันธกิจ

            ๑. จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานและสาระที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น

            ๒. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางผลงานศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์อย่างชื่นชมเชื่อมั่นและมีความสุข

๓.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีค่านิยมรักงานศิลปะในท้องถิ่น ร่วมอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

เป้าหมาย

                พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   มีจินตนาการทางศิลปะ  ชื่นชมความงาม  มีสุนทรียภาพ อนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 

ทำไมต้องเรียนศิลปะ

                กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   มีจินตนาการทางศิลปะ  ชื่นชมความงาม  มีสุนทรียภาพ  ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์  กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจน  การนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้

เรียนรู้อะไรในศิลปะ

            กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนงต่าง ๆ ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ

· ทัศนศิลป์    มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและนำเสนอผลงาน ทางทัศนศิลป์จากจินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการ ของศิลปินในการสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  วิเคราะห์  วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์  ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม  เห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 

· ดนตรี           มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ทางดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าดนตรี  ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล ร้องเพลง และเล่นดนตรี ในรูปแบบต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรี  แสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม  และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ 

· นาฏศิลป์     มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์  แสดงออกทางนาฏศิลป์  อย่างสร้างสรรค์  ใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ประยุกต์ใช้นาฏศิลป์    ในชีวิตประจำวัน  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เห็นคุณค่า   ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ ๑.๑     สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์

วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างาน

ทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี

มาตรฐาน ศ ๒.๑    เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี

ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้     ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี

ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓  นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ ๓.๑    เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า

นาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐาน ศ ๓.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

คุณภาพผู้เรียน

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

 -รู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่าง รูปทรง และจำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ มีทักษะพื้นฐานการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างงานวาดภาพระบายสี โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี และพื้นผิว ภาพปะติด และงานปั้น งานโครงสร้างเคลื่อนไหวอย่างง่าย ๆ ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากเรื่องราว เหตุการณ์ ชีวิตจริง สร้างงานทัศนศิลป์ตามที่ตนชื่นชอบ สามารถแสดงเหตุผลและวิธีการในการปรับปรุงงานของตนเอง

-รู้และเข้าใจความสำคัญของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน ที่มาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น ตลอดจนการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

-รู้และเข้าใจแหล่งกำเนิดเสียง คุณสมบัติของเสียง บทบาทหน้าที่ ความหมาย ความสำคัญของบทเพลงใกล้ตัวที่ได้ยิน สามารถท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับบทเพลง อ่าน เขียน และใช้สัญลักษณ์แทนเสียงและเคาะจังหวะ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับดนตรี เสียงขับร้องของตนเอง มีส่วนร่วมกับกิจกรรมดนตรีในชีวิตประจำวัน

-รู้และเข้าใจเอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น มีความชื่นชอบ เห็นความสำคัญ และประโยชน์ของดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น

-สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ สามารถแสดงท่าทางประกอบจังหวะเพลง ตามรูปแบบนาฏศิลป์  มีมารยาทในการชมการแสดง  รู้หน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชม รู้ประโยชน์ ของการแสดงนาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัย

-รู้และเข้าใจการละเล่นของเด็กไทยและนาฏศิลป์ท้องถิ่น ชื่นชอบและภาคภูมิใจ  ในการละเล่นพื้นบ้าน สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่นพื้นบ้านกับการดำรงชีวิต   ของคนไทย บอกลักษณะเด่นและเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทยตลอดจนความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

- รู้และเข้าใจการใช้ทัศนธาตุ รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว สี แสงเงา มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ถ่ายทอดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก สามารถใช้หลักการจัดขนาด สัดส่วน    ความสมดุล น้ำหนัก แสงเงา ตลอดจนการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมในการสร้างงานทัศนศิลป์  ๒ มิติ ๓ มิติ เช่น งานสื่อผสม งานวาดภาพระบายสี งานปั้น งานพิมพ์ภาพ รวมทั้งสามารถ    สร้างแผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบเพื่อถ่ายทอดความคิดจินตนาการเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ  และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ ด้วยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่แตกต่างกัน เข้าใจปัญหาในการจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการลด  และเพิ่มในงานปั้น การสื่อความหมายในงานทัศนศิลป์ของตน รู้วิธีการปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ตลอดจน รู้และเข้าใจคุณค่าของงานทัศนศิลป์ที่มีผลต่อชีวิตของคนในสังคม

-รู้และเข้าใจบทบาทของงานทัศนศิลป์ที่สะท้อนชีวิตและสังคม อิทธิพลของความเชื่อ   ความศรัทธา ในศาสนา และวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

-รู้และเข้าใจเกี่ยวกับเสียงดนตรี เสียงร้อง เครื่องดนตรี และบทบาทหน้าที่   รู้ถึงการเคลื่อนที่ขึ้น ลง ของทำนองเพลง องค์ประกอบของดนตรี ศัพท์สังคีตในบทเพลง ประโยค   และอารมณ์ของบทเพลงที่ฟัง ร้องและบรรเลงเครื่องดนตรี ด้นสดอย่างง่าย ใช้และเก็บรักษา เครื่องดนตรีอย่างถูกวิธี อ่าน เขียนโน้ตไทยและสากลในรูปแบบต่าง ๆ รู้ลักษณะของผู้ที่จะเล่นดนตรีได้ดี แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกของบทเพลงที่ฟัง สามารถใช้ดนตรีประกอบกิจกรรมทางนาฏศิลป์และ การเล่าเรื่อง

-รู้และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมไทย  และวัฒนธรรมต่าง ๆ เรื่องราวดนตรีในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรี รู้คุณค่าดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์

-รู้และเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ สามารถแสดงภาษาท่า นาฏยศัพท์พื้นฐาน สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวและการแสดงนาฏศิลป์ และการละครง่าย ๆ ถ่ายทอดลีลาหรืออารมณ์ และสามารถออกแบบเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์ประกอบการแสดงง่าย ๆ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบในชีวิตประจำวัน แสดงความคิดเห็นในการชมการแสดง และบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่องานนาฏศิลป์

-รู้และเข้าใจความสัมพันธ์และประโยชน์ของนาฏศิลป์และการละคร สามารถเปรียบเทียบการแสดงประเภทต่าง ๆ ของไทยในแต่ละท้องถิ่น และสิ่งที่การแสดงสะท้อนวัฒนธรรมประเพณี  เห็นคุณค่าการรักษาและสืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทย

 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

 

·    รู้และเข้าใจเรื่องทัศนธาตุและหลักการออกแบบและเทคนิคที่หลากหลายในการ  สร้างงานทัศนศิลป์ ๒ มิติ และ ๓ มิติ เพื่อสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ วิเคราะห์รูปแบบเนื้อหาและประเมินคุณค่างานทัศนศิลป์ของตนเองและผู้อื่น สามารถเลือกงานทัศนศิลป์โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างเหมาะสม สามารถออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ กราฟิก         ในการนำเสนอข้อมูลและมีความรู้ ทักษะที่จำเป็นด้านอาชีพที่เกี่ยวข้องกันกับงานทัศนศิลป์

·    รู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของงานทัศนศิลป์ของชาติและท้องถิ่น  แต่ละยุคสมัย เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและสามารถเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์   ที่มาจากยุคสมัยและวัฒนธรรมต่าง ๆ

·    รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างทางด้านเสียง องค์ประกอบ อารมณ์ ความรู้สึก  ของบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ มีทักษะในการร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี ทั้งเดี่ยวและเป็นวงโดยเน้นเทคนิคการร้องบรรเลงอย่างมีคุณภาพ มีทักษะในการสร้างสรรค์บทเพลงอย่างง่าย อ่านเขียนโน้ต ในบันไดเสียงที่มีเครื่องหมาย แปลงเสียงเบื้องต้นได้ รู้และเข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบของผลงานทางดนตรี องค์ประกอบของผลงานด้านดนตรีกับศิลปะแขนงอื่น แสดงความคิดเห็นและบรรยายอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อบทเพลง สามารถนำเสนอบทเพลงที่ชื่นชอบได้อย่างมีเหตุผล มีทักษะในการประเมินคุณภาพของบทเพลงและการแสดงดนตรี รู้ถึงอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีและบทบาทของดนตรีในธุรกิจบันเทิง เข้าใจถึงอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม

·       รู้และเข้าใจที่มา ความสัมพันธ์ อิทธิพลและบทบาทของดนตรีแต่ละวัฒนธรรมในยุคสมัยต่าง ๆ วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับ

·    รู้และเข้าใจการใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแปลความและสื่อสาร ผ่านการแสดง รวมทั้งพัฒนารูปแบบการแสดง สามารถใช้เกณฑ์ง่าย ๆ ในการพิจารณาคุณภาพ   การแสดง วิจารณ์เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์ โดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบทางนาฏศิลป์   ร่วมจัดการแสดง  นำแนวคิดของการแสดงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

·    รู้และเข้าใจประเภทละครไทยในแต่ละยุคสมัย ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง  ของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย และละครพื้นบ้าน เปรียบเทียบลักษณะเฉพาะ   ของการแสดงนาฏศิลป์จากวัฒนธรรมต่าง ๆ รวมทั้งสามารถออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์ เครื่องแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์และละคร มีความเข้าใจ ความสำคัญ บทบาทของนาฏศิลป์ และละครในชีวิตประจำวัน

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

·    รู้และเข้าใจเกี่ยวกับทัศนธาตุและหลักการออกแบบในการสื่อความหมาย สามารถใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์ อธิบายจุดประสงค์และเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ มีทักษะและเทคนิคในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และกระบวนการที่สูงขึ้นในการสร้างงานทัศนศิลป์ วิเคราะห์เนื้อหาและแนวคิด เทคนิควิธีการ การแสดงออกของศิลปินทั้งไทยและสากล ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการออกแบบสร้างสรรค์งานที่เหมาะสมกับโอกาส สถานที่ รวมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพสังคมด้วยภาพล้อเลียนหรือการ์ตูน ตลอดจนประเมินและวิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ด้วยหลักทฤษฎีวิจารณ์ศิลปะ

·    วิเคราะห์เปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออกและรูปแบบตะวันตก  เข้าใจอิทธิพลของมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาระหว่างประเทศที่มีผลต่อการสร้างสรรค์  งานทัศนศิลป์ในสังคม

·    รู้และเข้าใจรูปแบบบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภท และจำแนกรูปแบบ ของวงดนตรีทั้งไทยและสากล เข้าใจอิทธิพลของวัฒนธรรมต่อการสร้างสรรค์ดนตรี เปรียบเทียบอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับจากดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากล ในอัตราจังหวะต่าง ๆ มีทักษะในการร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิค   การแสดงออกและคุณภาพของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์   การเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม สามารถนำดนตรีไประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ

·    วิเคราะห์ เปรียบเทียบรูปแบบ ลักษณะเด่นของดนตรีไทยและสากลในวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้าใจบทบาทของดนตรีที่สะท้อนแนวความคิดและค่านิยมของคนในสังคม สถานะทางสังคม   ของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ สร้างแนวทางและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรี

·    มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ มีความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่ และเป็นหมู่ สร้างสรรค์ละครสั้นในรูปแบบที่ชื่นชอบ สามารถวิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง  อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง  ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และละคร  พัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินในการประเมินการแสดง และสามารถวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวของผู้คนในชีวิตประจำวัน  และนำมาประยุกต์ใช้ในการแสดง

·    เข้าใจวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการแสดงละครไทย และบทบาทของบุคคลสำคัญ ในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ สามารถเปรียบเทียบ   การนำการแสดงไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ และเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

ตัวชี้วัด

    ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้  รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น  ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วย

การเรียนรู้  จัดการเรียนการสอน  และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน

1.     ตัวชี้วัดชั้นปี  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ

        (ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 )

2.     ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

        (มัธยมศึกษาปีที่4  - 6 )

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1.             ความสามารถในการสื่อสาร

2.             ความสามารถในการคิด

3.             ความสามารถในการแก้ปัญหา

4.             ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5.             ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.             รักชาติ  ศาสนา  กษัตริย์

2.             ซื่อสัตย์สุจริต

3.             มีวินัย

4.             ใฝ่เรียนรู้

5.             อยู่อย่างพอเพียง

6.             มุ่งมั่นในการทำงาน

7.             รักความเป็นไทย

8.             มีจิตสาธารณะ

โครงสร้างรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

 

ระดับชั้นประถมศึกษา

 

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1              

                            ศ11101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2              

                            ศ12101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3             

                            ศ13101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4              

                            ศ14101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5              

                            ศ15101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6             

                            ศ16101   ศิลปะ           เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

 

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1              

                            ศ21101   ศิลปะ           เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1  หน่วยกิต

                            ศ21102   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค         จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

                            ศ22101   ศิลปะ          เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค       จำนวน   1 หน่วยกิต

                            ศ22102   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค        จำนวน   1  หน่วยกิต

 

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                            ศ23101   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค        จำนวน   1  หน่วยกิต

                            ศ23102   ศิลปะ         เวลา  2 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค         จำนวน   1  หน่วยกิต

 

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

                            ศ31101   ศิลปะ          เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

                            ศ31402   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

 

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                             ศ32101   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

                             ศ32102   ศิลปะ        เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

 

              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

                             ศ33101   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต

                             ศ33102   ศิลปะ         เวลา  1 ชั่วโมง/สัปดาห์/ภาค      จำนวน  0.5  หน่วยกิต


โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

 

ลำดับที่

ระดับชั้น

รหัสวิชา

เวลาเรียน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

ศ ๑๑๑๐๑

๘๐

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

ศ ๑๒๑๐๑

๘๐

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ศ ๑๓๑๐๑

๘๐

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ศ ๑๔๑๐๑

๘๐

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ศ ๑๕๑๐๑

๘๐

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ศ ๑๖๑๐๑

๘๐

 

ระดับชั้น

ภาคเรียนที่๑

ภาคเรียนที่๒

เวลาเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑

ศ ๒๑๑๐๑

ศ ๒๑๑๐๒

๘๐

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๒

ศ ๒๒๑๐๓

ศ ๒๒๑๐๔

๘๐

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓

ศ ๒๓๑๐๕

ศ ๒๓๑๐๖

๘๐

๑๐

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๔-๖

ศ ๓๐๑๐๑

ศ ๓๐๑๐๒

ศ ๓๐๑๐๓

 

 

๑๒๐(3นก.)

รวม

 

๘๔๐

 

คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะ
หมายเลขบันทึก: 292351เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เอามาแบ่งปันเผื่อใครมีดีๆแลกเปลี่ยนได้นะคะ

แวะมาทักทายค่ะ ขยันจังเลย คนชื่อ อ้อย นอกจากสวยแล้ว เอิ๊กเอิ๊ก

Pต้องขยัน..เราพวกชอบดอกไม้..เราต้องขยันเป็นแมลงผึ้งอยู่แล้วเน๊าะพี่อ้อยเน๊าะ..สู้ๆ "กินเพื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อการศึกษาค่ะ"..

 

วิชาที่ชอบเรียนที่สุดคือ ศิลปะ...ชอบวาดรูป ชอบคิดอะไรที่แหวกแนว แต่ชีวิตผกผันให้มาเรียนบัญชีซะนี่...จริงแท้ที่วิชาศิลปะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก

สวัสดีค่ะ มาเป็นนักเรียนครูอ้อยเล็ก แต่ละช่วงชั้นก็มีการกำหนดว่าต้องรู้อะไร เหมือนกันเลยค่ะ พยาบาล ทำงาน 1 2 3 ปีต้องทำอะไรได้บ้าง....

คนเมืองส้มโอหวาน ....

ครูอ้อยมีน้องโตๆแล้วหรือ ยังดูเด็กๆ อยู่เลย...

ขอบคุณนะคะ ขอให้น้องอาร์มเป็นเด็กดี....

ขอบคุณนะคะที่ไปเยือนบ่อยๆดีใจค่ะ มิตรภาพที่งดงาม

สักวันคงมีโอกาสไปเยือนนครปฐม...ตลาดน้ำดอนหวาย....

P..จ้าเรียนคิดตังค์ก็ดีนะคะ..ใช้เงินเป็นดีจ้า...

Pมีคนเดียวค่ะพี่แดง..มานครปฐมยินดีต้อนรับค่ะ..

สวัสดีค่ะ birthday น้องอาร์มหรือคะ

มีความสุขมากๆนะคะ ขอให้เป็นในสิ่งที่หวังไว้ เป็นคนดีของแม่อ้อย

รักแม่มากๆนะครับคนเก่ง

Pจริงๆหลักสูตรมีเป็นเล่มนี่เอาตอนจำเป็นๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบนิดหน่อยนะพอลล่า

Pไปเมื่อ 28 เมษาที่แล้วค่ะ..

แวะมาเยี่ยมค่ะ

ขอบคุณ  สำหรับความรู้หลักสูตรใหม่

 

 

สวัสดีจร้า..รองอ้อย

ขอบคุณสำหรับความรู้ด้านสาระการเรียนรู้ศิลปะ ทำให้แบมเข้าใจตัวชี้วัดขึ้นมากเรยจร้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท