We get what we measure!


เราวัดอะไรจะได้ผลที่เป็นสิ่งที่เราวัด (we get what we measure) คำพูดนี้ หากนำไปพูดในคอนเท็กซ์ของฟิสิกส์ เราก็อาจจะหมายความว่าถ้าเราวัดความเข้มของแสง เราก็จะได้ผลเป็นตัวเลขที่บอกความเข้มของแสง  ... ถ้าเราวัดอะไร เราก็ได้ผลแบบนั้น (บางครั้งอาจจะไม่จริงแต่ส่วนใหญ่แล้วน่าจะเป็นอย่างนั้น) 

วันนี้ผมจะพูดถึงคำพูดนี้ในแง่ของ "การวัดผล" (evaluation) การวัดผลที่ผมพูดถึงนี้ หมายถึงการวัดผลประสิทธิภาพการทำงาน หรือ ประสิทธิภาพการทำวิจัย ของบุคลากรในองค์กร  ....

เราวัดอะไรเราได้อย่างนั้น  

คำพูดนี้บ่งบอกถึงความสำคัญของสิ่งที่เราเลือกเป็น "เกณฑ์" ในการวัดผล  

choice ของเกณฑ์ที่เราเลือกมานั้นจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผลลัพท์ที่เราได้ 

เช่น หากเราต้องการวัดผลการวิจัยของอาจารย์ในภาควิชา สมมติว่าเกณฑ์ที่ใช้คือ "ปริมาณบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ได้ต่อปี" เรานับปริมาณ ดังนั้น ผลที่เราได้ก็คือปริมาณ ไม่ใช่ คุณภาพ เนื่องจากเกณฑ์ที่เลือกจะไปเป็นแรงบันดาลใจ(incentive) ให้อาจารย์พยายามตีพิมพ์ผลงานปริมาณมาก มากกว่าที่จะพยายามมีผลงานคุณภาพนั่นเอง  .... ซึ่ง ในกรณีนี้ เราไปโทษอาจารย์ไม่ได้ ว่าทำแต่งานไม่มีคุณภาพ เราต้องโทษผู้บริหารที่เลือกจะวัดผลแบบนี้ เขาได้ผลลัพท์ที่เขาต้องการวัดครับ 

นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในหลายๆภาควิชาในหลายๆมหาลัยในเมืองไทย หรือแม้แต่ในบางมหาวิทยาลัยในยุโรปก็เป็นแบบนี้เช่นกัน 

ถามผม ... หากเกณฑ์วัดผลคือปริมาณ .... ผมก็คงพยายามทำงานเน้นปริมาณเช่นกัน (ใครจะบ้าลงแรงไปทำงานคุณภาพครับ) หากผมพยายามทำงานคุณภาพ ผมอาจจะทำได้เพียง 1 ชิ้น ต่อ 1 ปี แต่ผมมั่นใจว่า ถ้าผมอยากเน้นปริมาณ 4-5 ชิ้นต่อปีก็ไม่ยากนัก 

เคยมีคนเปรียบเทียบเชิงประชดเกี่ยวกับระบบการนับปริมาณบทความวิชาการว่า Since we are bean counters, we get lots of beans. (พวกเราอยู่ในสังคมนับถั่ว จึงได้ผลงานออกมาเป็นถั่วเต็มไปหมด) 

.......

We get what we measure! คำพูดนี้ สำหรับผมเป็นการบ่งบอกถึงความสำคัญของการออกแบบตัววัดผลนั่นเอง 

คำสำคัญ (Tags): #evaluation
หมายเลขบันทึก: 292068เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เราพยายามวัดสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม พยายามอธิบายเรื่องของจิตตภาพ ด้วยกายภาพ

มาช่วยกันนับถั่วดีกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท