พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544


รัฐมีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญกรรม ทั้งต้องดูแลแพะที่เกิดจากขบวนการยุติธรรม

พ.ร.บ.ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544


ผู้มีสิทธิได้รับค่าคุ้มครองแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

 

1.ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา

 

2.จำเลยที่ถูกขังในระหว่างพิจารณาคดีและต่อมาอัยการถอนฟ้อง หรือปรากฏภายหลังว่ามิใช่ผู้กระทำความผิด หรือการกระทำไม่เป็นความผิด

1.ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึง ผู้ที่ได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ จากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยผู้เสียหายมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น และไม่มีโอกาสได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยวิธีอื่นใด เช่น ไม่สามารถจับตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ หรือ จับได้แต่ผู้กระทำความผิดไม่มีทรัพย์สินใดจะมาชดใช้ความเสียหายให้ เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือทายาท จึงมีสิทธิได้รับ ค่าตอบแทน ที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ


ค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา แบ่งเป็น 2 กรณี

1.กรณีเสียชีวิต
ค่าตอบแทนตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท
ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

2.กรณีทั่วไป
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาท
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ ตามปกติจ่ายในอัตราวันละไม่เกิน 200 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบกิจการงานได้ตามปกติ
ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

2.จำเลยในคดีอาญา
หมายถึง ผู้ที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี ต่อมาภายหลังปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด มีการถอนฟ้องระหว่างการดำเนินคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ได้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายแก่จำเลยหรือทายาท จึงมีสิทธิได้รับ ค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย ที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ

ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา แบ่งเป็น 2 กรณี

1.กรณีเสียชีวิต
ค่าทดแทน จำนวน 100,000 บาท
ค่าจัดการศพ จำนวน 20,000 บาท
ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท
ค่าเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

2.กรณีทั่วไป
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท หากความเจ็บป่วยนั้นเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท หากความเจ็บป่วยนั้นเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดีอัตราวันละไม่เกิน 200 บาท นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบกิจการงานได้ตามปกติ
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดี ได้แก่
ค่าทนายความ เท่าที่จ่ายจริงในอัตราไม่เกินกฎกระทรวงกำหนด
ค่าใช้จ่ายอื่น เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท

โดยยื่นคำขอตามแบบและเอกสาร ภายในกำหนดเวลา ดังนี้

1.ในกรณีผู้เสียหาย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด
2.ในกรณีจำเลย ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง เพราะปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือวันที่มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยไม่ได้เป็น
ผู้กระทำความผิด หรือ การกระทำของจำเลย ไม่เป็นความผิด
กรณีผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้
ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นหนังสือจากผู้เสียหายหรือจำเลย สามารถยื่นคำขอแทนได้

หากบุคคลใดยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย โดยแสดงข้อความหรือพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

ต้องอยู่ในประเภทความผิดดังต่อไปนี้

1.ความผิดเกี่ยวกับเพศ
2.ความผิดต่อชีวิต
3.ความผิดต่อร่างกาย
4.ความผิดฐานทำให้แทงลูก
5.ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก

วิธีการยื่นคำขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย

ส่วนกลาง ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่
ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
กระทรวงยุติธรรม

ในส่วนภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกจังหวัด



เอกสารจำเป็นที่ผู้เสียหายต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีขอรับค่าตอบแทน

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ของผู้เสียหายและผู้ยื่นคำขอ)
2.สำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้เสียหายและผู้ยื่นคำขอ)
3.สำเนาทะเบียนสมรส
4.สำเนาสูติบัตร
5.สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ / สกุล
6.หนังสือมอบอำนาจ
7.หนังสือให้ความยินยอมของทายาทอื่นในการยื่นคำขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายกรณีมีทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำขอในกรณีเดียวกันหลายคน
8.ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
9.สำเนาใบรับรองแพทย์
10.รายงานการสอบสวนของสถานีตำรวจ และบันทึกประจำวันการแจ้งความ
11.สำเนาใบมรณะบัตร (กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย)
12.สำเนาใบชันสูตรแพทย์ หรือใบชันสูตรพลิกศพ
13.หลักฐานการมีรายได้ในกรณีประกอบอาชีพ
14.หลักฐานการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากหน่วยงานอื่น

เอกสารจำเป็นที่จำเลยต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในกรณีขอรับค่าทดแทน
และค่าใช้จ่าย

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ของผู้เสียหายและผู้ยื่นคำขอ)
2.สำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้เสียหายและผู้ยื่นคำขอ)
3.สำเนาทะเบียนสมรส
4.สำเนาสูติบัตร
5.สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ / สกุล
6.หนังสือมอบอำนาจ
7.หนังสือให้ความยินยอมของทายาทอื่นในการยื่นคำขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญากรณีมีทายาทผู้มีสิทธิยื่นคำขอในกรณีเดียวกันหลายคน
8.ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลและอื่นๆถ้ามี
9.สำเนาใบรับรองแพทย์
10.คำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด หรือปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี
11.หมายขังและหมายปล่อย
12.หนังสือรับรองคำพิพากษาถึงที่สุด
13.สัญญาจ้างว่าความหรือหนังสือรับรองว่าจ้างว่าความ
14.สำเนาใบแต่งทนาย (รับรองโดยเจ้าหน้าที่ศาล)
15.สำเนาใบมรณะบัตร (กรณีจำเลยถึงแก่ความตาย)
16.สำเนาใบชันสูตรแพทย์
17.หลักฐานการมีรายได้
18.หลักฐานการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากทางอื่น



ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 292066เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2009 07:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณนาย ธัญศักดิ์ ณ นคร

"รัฐมีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญกรรม ทั้งต้องดูแลแพะที่เกิดจากขบวนการ

ยุติธรรม"

พ.ร.บ.นี้เราเข้าใจว่าเป็นการป้องกันการแจ้งความเท็จใช่ไหมคะ

เมื่อผู้ถูกฟ้องเป็นแพะรับบาป จึงควรใช้ พ.ร.บ.นี้ใช่ไหมคะ

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างค่ะ

เขียนแบบนี้มาให้อ่านอีกนะ ชอบอ่านกฎหมาย

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท