เจ้าพระยา, เกาะเกร็ดและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม


นิเวศเปลี่ยน ใจเปลี่ยน เพราะทุนและการพัฒนา !! คุณค่าที่เรียกขานกันว่า วัฒนธรรม จึงไหวอย่างดิ้นรน

(ท่านสามารถเลือกที่จะอ่าน ชมภาพ หรือฟังเพลง
ได้ครับ- ฟังเพลง คลิ๊ก งุงุ)


ปี 2538 เกาะเกร็ด โดนน้ำท่วมครั้งใหญ่ ความเสียหายบนเกาะยับเยินลง
โดยธรรมชาติ สวนผลไม้ เตาเผา และการเป็นอยู่ของชาวเกาะเกร็ด
เป็นดังชนติดเกาะอย่างชนบทที่ไม่น่าเป็น เพราะเพียงข้ามฟากมาฝั่งปาก
เกร็ดก็จะพบกับรำเริงของการพัฒนา..,

ปี 2540
สมัยนายอำเภอวัชรินทร์ ได้มีการจัดทำแผนแนวทางการพัฒนาเกาะเกร็ด
ฟื้นฟูความเป็นอยู่ของกลุ่มชนเกาะเกร็ดขยายโอกาสการพัฒนาเป็นแหล่ง
เรียนรู้และการท่องเที่ยว ขายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมกลุ่มชนชาวไทยรามัญ
ที่อพยพมาแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินและต้นรัตนโกสินทร์

นับบัดนั้น เกาะเกร็ดก็ผงาดความเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ
เมืองนนท์ขึ้นทันใดพร้อม ๆ กับอเมซิ่งไทยแลนด์ทั่วสยามประเทศไทย

สิบกว่าปีของการเป็นแหล่งขายวัฒนธรรม ที่ใช้ชื่อเรียกปักป้าย
ทั่วเกาะว่า "การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ" "การท่องเที่ยวสีเขียว" "การท่อง
เที่ยวเชิงวัฒนธรรม" "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" ฯ และอีกหลายป้ายชื่อ !


ผลการพัฒนาแบบมุ่งให้บริการและบริโภคกระทบกระเทียบกระทั่ง
ชุมชนเกาะเกร็ดอยู่อย่างแยบยล

เมื่อวิถีเปลี่ยน ธรรมก็เปลี่ยน !
การแสวงหาของผู้คนก็พรากเปลี่ยนไปจากเดิม
เปลี่ยนไปจากเดิมแม้กระทั่งกลุ่มชนที่ถือกำเนิดสืบสายมาบนเกาะ
และแปรไปเพราะการย้ายถิ่นของผู้คนจากภายนอกเพื่อเข้ามาทำมาหากิน !

กับทั้งเปลี่ยนไปเพราะตัวการพัฒนาตามแนวนโบายแห่งรัฐที่
โอบคลุมในความเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น !

การเมืองในชุมชนเคลื่อนไหวไม่ต่างจากเกือบทุกหนแห่งของ
การพัฒนาในวาทกรรมแบบเดิม - แม้นว่าจะพยายามกระทำให้ยั่งยืน

การเรียนรู้สาธารณะ การมีส่วนร่วมสาธารณะโดยจิตสำนึก
สาธารณะจริง ๆ ยังคงย่างเดินอยู่ภายใต้อวิชชาแห่งทุน

........


การเป็นอยู่ของ "ความเป็นชุมชน" และการย่างเยือนของนัก
บริโภคยังคงเป็นตัวกำหนดแนวทางการพัฒนา (ภายใต้อวิชชาแห่งทุน)

นิเวศวัฒนธรรมที่จริงแท้ปรากฎสมสู่อยู่กับการเปลี่ยนผ่านของ
การกำเนิดจากแหล่งเดิมและการกระทำเพิ่มของมูลค่าที่ค่อย ๆ ลดทอน
คุณค่าชีวิตที่พอเพียง

การหมายให้ยั่งยืนจึงติดข่ายรึงอยู่กับทุนเทียมเชิงปริมาณ

ความเป็นอื่นเกิดปริ่มขึ้นในดวงใจอันตรายกว่าน้ำที่ล้อมรอบเกาะ

เกาะเกร็ด ด้านหน้า ด้านหลังและพื้นที่ที่จัดแบ่งตามเกณฑ์การ
ปกครองท้องที่เปรียบเทียบกันอยู่โดยปากบอกเล่าของผู้คนที่สะอื้นไห้กับ
การแยกส่วนประโยชน์ - ผลประโยชน์ !

นิเวศเปลี่ยน ใจเปลี่ยน เพราะทุนและการพัฒนา !!
คุณค่าที่เรียกขานกันว่า วัฒนธรรม จึงไหวอย่างดิ้นรน


.......


คุณเยือนเกาะเกร็ด คุณได้เห็นศูนย์เด็กเล็ก ไหม ? ศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก ลูกหลานของชุมชนที่อยู่ในปลัก น้ำท่วม ของเด็กเล่นแสนยากไร้
สนามเด็กเล่นที่เล่นไม่ได้มาเกือบ 5 ปี, สนามเด็กเล่นที่ผ่านการโล้เล่นมา
นานกว่า 10 ปีของโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนแรกในอำเภอปากเกร็ด,
บ้านเรือนของผู้คนทั้งในถิ่นและที่อพยพมาฝากชีวิตไว้ในเกาะ

ความแปลกต่างที่ต่างโดยสิ้นเชิงของแต่ละหมู่บ้าน !

การศึกษา การใช้ชีวิตคู่และการหย่าร้างของเด็กหนุ่ม เด็กสาวใน
เกาะที่เหวี่ยงไปพร้อม ๆ กับการจำเริญเติบโตของการค้าวัฒนธรรม

ฯลฯ

........


งางางา ว่าซ้ายาว งิงิ อย่าคิดมากครับ ชมภาพงาม ๆ ฟังเพลง
สบาย ๆ ดีกว่า มนุษย์เราชอบความงามนิ งุงุ

 

 

** ขอบคุณภาพ- คุรุการ,วรานิล, ศุภวัลยา
** ขอบคุณเพลง ล่องเจ้าพระยา ของ วิศณุรักษ์ สว่างเนตร
วิทยุชุมชนเกาะเกร็ด
เพลงเย็น ฟังสบาย ส่งสัญญาณผ่านดาวไถ
IceFm 105.75Mhz
http://icefmradio.com/

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สหคาม (community)
หมายเลขบันทึก: 291977เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวยดี...มีโอกาสจะไปเยือนอีกสักครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท