แวดวงคุณเอื้อ


มุมมองประสบการณ์คุณเอื้อที่หลากหลาย

               การเข้าร่วมเวทีเสวนาคุณเอื้อที่บ้านผู้หว่าน วันที่ 8-9 พฤษภาคม 2549 ได้เก็บประเด็น KM ในองค์กรให้มุมมองประสบการณ์คุณเอื้อที่หลากหลายมาฝาก คือ

               (1)  พญ.นันทา อ่วมกุล จากกรมอนามัย   ท่านทำหน้าที่คุณเอื้อ โดยทำ KM ในหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มลูกจ้าง กลุ่มผู้สูงวัยในการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนมีอยู่ให้รุ่นหลัง กลุ่มสนับสนุนซึ่งได้ AAR แล้วคนไข้ชม มีประกวด KM เพิ่มกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว

               (2) นพ.ประเทือง ตียะไพบูลย์สัน  ท่านเป็นผู้อำนวยการ รพ.ตาคลี นครสวรรค์ ได้ศึกษาด้าน KM ด้วยตนเอง นำหลักการไปพัฒนา รพ.ให้เกิดรูปธรรมโดยกระตุ้นส่งเสริมองค์กรทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ  และอื่น ๆ โดยได้เล่าว่ามีการติดคำขวัญเรื่อง KM ใน รพ.ทุกแห่งโดยใช้ปลาเสือตอเป็นสื่อ

               (3) พญ.ปารมี ทองสุกใส จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ท่านได้นำ KM ไปใช้ในการบริหารงานในภาควิชาพยาธิวิทยา โดยมีเทคนิคหลายประการที่น่าสนใจ ทำให้ KM ในภาควิชาขับเคลื่อนไปด้วยดีและเป็นที่กล่าวขวัญกันมาก

               (4) คุณพิชิต เรืองแสงวัฒนา  เป็น CKO ด้านจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคุณเอื้อในการส่งเสริม สนับสนุน สร้างเครือข่าย KM ในมหาวิทยาลัย มีการให้รางวัล ยกย่อง ชมเชย และนำเอาหลักการ KM ไปใช้ในการพัฒนางาน โดยผสมผสานเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาใช้ เช่น การประกันคุณภาพ change management it ทำให้เกิด cop หลายองค์กรในมหาวิทยาลัย

               (5) คุณมาลินี ธนารุณ  จากมหาวิทยาลัยนเรศวร  เป็นทีมแกนของมหาวิทยาลัย ใช้เทคนิคกระตุ้น ส่งเสริม ชมเชย เสาะหาตนเก่งมาเป็นคุณอำนวย นำ KM ไปใช้ในการประกันคุณภาพ มีการทำ AAR ทุกกิจกรรม

               (6)  คุณเรืองศักดิ์ ศรวัฒนา จากบริษัท TRUE ท่านทำ KM ในองค์กรเรื่อง call centre พัฒนาฐานข้อมูลและให้พนักงานตอบลูกค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และให้มาตรฐานทัดเทียมกันระหว่างบุคคล

               (7) ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีประสบการณ์หลากหลาย เคยทำงานที่ UNICEF และขณะนี้เป็นที่ปรึกษาและส่งเสริมให้สำนักเขตการศึกษา 17 เขตสามารถวิจัยด้วยตนเอง ให้ข้อคิดน่าสนใจว่า เรามี best practice มาก แต่การขาดการบันทึกที่เรียกว่า "ระบบความจำขององค์กร" ทำให้ข้อมูลและสิ่งดี ๆ ขาดหายไปมาก และให้ความเห็นว่าการเขียนบล๊อกใช้เพื่อการบริหารบุคคลได้ด้วย

               (8) นพ.วรรษา เปาอินทร์  จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านเป็นรองอธิการบดีฝ่ายการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นคณะแพทย์เพียงคณะเดียวในปัจจุบันที่มีรองอธิบการบดีฝ่ายนี้ ท่านให้ความเห็นว่าการทำ KM เป็นการพัฒนาคนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ได้ความคิดหลากหลายเพิ่มโดยสามารถสร้างงานได้อีกด้วย

                (9) คุณวิบูลย์ วัฒนาธร  จากมหาวิทยาลัยนเรศวร  ท่านเป็นคุณเอื้อที่ได้รับรางวัลจาก สคส.หลายรางวัล ทำ KM ในเรื่องประกันคุณภาพและการวิจัย ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิด cop หลายวง ท่านเขียนบล๊อกทุกวัน ทำให้เกิดวง cop ที่มีการแลกเปลี่ยนผ่านบล๊อก  อย่างกว้างขวาง โดยมีรางวัลเสื้อสามารถ NUKM จูงใจ  มีผู้เขียนขณะนี้ 90 คน

              (10) คุณสมใจ เนียมหอม  จาก รพ.ศิริราช ได้ทำ KM มานานตั้งแต่เริ่มแรกกระตุ้นส่งเสริมให้เกิด cop หลายกลุ่ม จากประสบการณ์ที่ได้ถอดเป็นองค์ความรู้ การทำ KM ของ รพ.ศิริราช มีความภาคภูมิใจที่น้อง ๆ ในกระบวนการมีความเก่ง เนื้อหาที่ศิริราชได้นำมามีความน่าสนใจหลายประเด็น

              (11) นพ.สมพงษ์ ยูงทอง  จาก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ ดำเนินการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เริ่มจากเกษตรกรทำนา ส่งเสริมให้เกิดการวิเคราะห์ปัญหาชาวนาเชิงระบบและเชิงยุทธศาสตร์ ตั้งแต่ การปลูก การตลาด การบริหารจัดการกลุ่มแหล่งทุน ต้นทุนทางสังคม จัดตั้ง cop ชาวนา มีการบริหารจัดการงบประมาณลงไปอย่างมียุทธศาสตร์ โดยการแลกเปลี่ยนเน้นการใช้ข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน ท่านมีเทคนิคการใช้ share vision ที่โดนใจ เช่น "ฟื้นปูปลาขึ้นมาอีกครั้ง"

              (12) คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์  จากมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร ทำงานระดับชุมชน ตั้งเป้าลดการใช้สารเคมีตกค้างในพืชผลเกษตรและเกษตรกร จากข้อมูลพบว่าคนพิจิตรป่วยเป็นอันดับ 2ของประเทศจากสารพิษ การทำงานของกลุ่มตรงกับนโยบายผู้ว่า CEO สร้าง model ลดความยากจนคนพิจิตรในองค์รวม

              (13) พญ.อัจรา เชาวะวณิช จากสถาบันบำราศนราดูร ท่านเป็นคุณเอื้อที่ส่งเสริมสนับสนุนการทำงานภายในองค์กรด้วยเทคนิคต่าง ๆ ขณะนี้ท่านเปิด blog และใช้เครื่องมือนี้ในการสื่อสารภายในองค์กรและในการบริหารงานอีกด้วย

                การเก็บประเด็นครั้งนี้ อาจไม่ครอบคลุมงานของแต่ละท่าน แต่พอที่เราจะเห็นได้ว่า KM ขององค์กรเหล่านั้นมีความหลากหลายและน่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ใครสนใจท่านไหนก็สามารถติดตามผลงานขององค์กรเหล่านี้ได้โดยตรงเลยนะคะ

         

หมายเลขบันทึก: 29191เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท