ศาสนา กับ ประชาธิปไตย


ผมเคยคุยกับเพื่อนผมที่เรียนปริญญาเอกเกี่ยวกับ political science และทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องของความสัมพันธ์ของ "ความสำเร็จของประชาธิปไตย" กับ "ศาสนา"  

หมายเหตุ: บทความนี้มิได้มีเจตนาในการทำลายศาสนาแต่อย่างใด หากแต่เป็นการตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยสองอย่างเท่านั้น กรุณาอ่านบทความนี้ในแง่ของสถิติครับ :)  

เป็นเรื่องแปลกแต่จริง  แต่เพื่อนผมเล่าว่างานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่า "ประเทศที่ประชาชนเคร่งศาสนามาก ประชาธิปไตยจะยิ่งน้อย" (อ้างมาจากคำพูดเพื่อน) ผมลองเปิดดูข้อมูลในวิกิพีเดีย จึงได้แผนที่ข้างล่างนี้มา    

 

ประเทศที่มีสีแดงเข้มคือประเทศเคร่งศาสนา 

ให้สังเกตุว่าประเทศที่เรียกได้ว่า "ประสบความสำเร็จ" ในการใช้ประชาธิปไตย จะเป็นประเทศที่ไม่ใช่สีแดงเข้ม เช่น อเมริกา, อังกฤษ, ฝรั่งเศษ, และ ญี่ปุ่น 

 

เพื่อนผมบอกว่า สาเหตุหนึ่ง (จากหลายๆสาเหตุ) ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า ในประเทศที่เคร่งศาสนา ศาสนามักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง   เช่นในกรณีของประเทศในแถบอาหรับ ก็เคยมีการใช้ข้ออ้างว่าอดีตประธานาธิบดีคนหนึ่ง "ทำลายศาสนา"  จนกลายเป็นเรื่องวุ่นวายใหญ่โตทีเดียว แต่ผมจำไม่ค่อยได้ว่าเรื่องนี้จบอย่างไร 

=============

ในความเห็นของผม  .... ผมรู้สึกว่า การมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมอยากให้ประชาชนทุกคนทำสัญญาใจกัน ว่าจะไม่ใช้เรื่องนี้มาข้องเกี่ยวกับการเมือง ไม่ใช้การ "ทำลายศาสนา" เป็นเครื่องมือในการปลุกระดม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลุกระดมแบบไม่มีหลักฐาน 

หากประชาชนไม่ปฏิบัติตามสัญญาใจดังกล่าว สิ่งดีงามของศาสนา กลับจะกลายเป็นดาบสองคมที่ทำลายสิ่งที่ดีของประชาธิปไตยไปเสีย  ผมไม่อยากเห็นแบบนั้นเลย 

 

หมายเลขบันทึก: 291773เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2009 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

         ศาสนาเป็นสิ่งสูงสุดทางจิตใจที่คนนับถือกันครับ   ดังนั้น  จึงเป็นไปได้ที่จะมีผู้นำศาสนาไปใช้ทั้งในทาง "สร้างสรรค์" และ "ทำลาย"ครับ

       สำหรับประเด็นที่ว่า

        "ประเทศที่ประชาชนเคร่งศาสนามาก ประชาธิปไตยจะยิ่งน้อย"

        ผมขออนุญาตมองต่างมุมหน่อยครับ

        ผมมีความคิดว่า ในประเทศไทย  ประชาชนก็ไม่ค่อยเคร่งศาสนานะครับ   แต่ประชาธิปไตย  ก็ไม่มากเท่าไรเลย (ผมอาจจะมองผิดไปก็ได้)

                              ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณ Small man

ขอบคุณที่แวะเข้ามาครับ

คือ ประเทศไทยก็อยู่ในระดับสูงนะครับ ในระดับของความเคร่งศาสนา (อาจจะไม่เคร่งมากเมื่อเทียบกับพวกอินเดียหรืออิยิปต์) แล้วก็เรื่องของศาสนาก็เคยถูกใช้มาปลุกระดมแล้วครั้งหนึ่งในสมัยโจมตีรัฐบาลทักษิณอะครับ แม้จะไม่ได้ผลมากเท่ากับที่เคยถูกใช้ในประเทศเคร่งมากๆ แต่ผมว่าตอนนั้นก็ได้ผลในระดับหนึ่งนะครับ

แต่เรื่องที่ว่าศาสนาส่งผลกับประชาธิปไตยบ้านเราแค่ไหน ผมก็ไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนน่ะครับ เลยไม่ได้พูดถึงในบันทึก ผมเคยถามเพื่อนแล้ว เพื่อนมันก็ไม่รู้เท่าไหร่เพราะมันศึกษาเกี่ยวกับตะวันออกกลางเป็นหลักน่ะครับ

สวัสดี ครับ

ผมเคยอ่านหลาย ๆ บันทึกของคุณ

มีมุมมองความคิด ที่หลากหลายดีครับ

วันนี้มุมมองของศานา กับ ประชาธิปไตย เป็นมุมมอง ที่อดชื่นชมไม่ได้..

ขอบพระคุณ ครับ

 

คุณ แสงแห่งความดี

ขอบคุณมากครับ

มาอีกรอบครับ   สำหรับประเด็นที่ว่า

   ศาสนาส่งผลกับประชาธิปไตยบ้านเราแค่ไหน

   ผมขออนุญาตเสนอมุมมอง ตามความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

    ก่อนอื่นผมมองว่าการนับถือศาสนาในสังคมไทย  มีการนับถือตามความเชื่อ หรือ ความศรัทธา ใน 3 รูปแบบ ครับ  คือ

    แบบผี    แบบพราหมณ์     แบบพุทธ

     ความเชื่อศาสนาแบบ ผี หรือ พราหมณ์   ก็จะเป็นเครืองมือให้ชนชั้นปกครองได้ง่ายครับ  ส่งผลด้านลบต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

    ซึ่งส่วนใหญ่  สังคมไทยเราก็น่าจะเป็นแบบนั้นครับ (อันนี้ เขียนตามความรู้สึกนะครับ ไม่มีข้อมูลยืนยัน)

                 ขอบคุณครับ

คุณ small man ครับ

ขอบคุณครับ ผมเห็นด้วยครับที่แยกเป็น ผี พราหมณ์ พุทธ

ในมุมมองของผม ตัวชาวพุทธเองก็อาจจะแยกออกเป็น(1) ชาวพุทธที่เน้นหลักเหตุผลกับ(2) พุทธแบบที่เน้นพิธีกรรมและพลังเหนือธรรมชาติ อีกนะครับ ชาวพุทธแบบแรกมักจะเน้นการฝึกจิตกับสมาธิ แต่แบบที่สองมักจะชอบพูดถึงพลังเหนือธรรมชาติ พลังจักรวาล ฯลฯ ที่ผมฟังแล้วงง แต่ผมเจอพวกที่สองหลายคนแล้วครับ ผมมักจะชอบสนทนากับชาวพุทธแบบแรกครับ ทำให้เข้าใจศาสนาเพิ่มขึ้นมาก

โดยส่วนตัว ผมรู้สึกว่าชาวพุึทธเน้่นแบบหลังมากเกินไปบางครั้งจะไม่ต่างกับพวกเชื่อผีนะครับ คือเป็นเครื่องมือให้ชนชั้นปกครองได้เช่นกัน (ซึ่งตรงนี้น่าเสียดายเพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สมเหตุสมผลที่สุด)

ขอบคุณครับ

อาจารย์ smallman ชวนมาฟัง ครับ

มีความสุขกับการได้ฟัง

 

 

แลกเปลี่ยนด้วยคนนะครับ

ผมไม่ทราบที่ไปที่มาของความคิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับประชาธิปไตยที่คุณปริญญาอ้างถึง

ในทัศนะผมนะครับ

ศาสนาที่การเมืองมักนำไปใช้ส่วนใหญ่เป็นแค่เปลือกและกระพี้ มิใช่แก่น

การเมืองที่นำศาสนาไปใช้แบบพระเจ้าอโศก (หลังกลับใจ) ไม่มีให้เห็นแล้ว

เมืองไทยก็เช่นกัน ศาสนาถูกใช้เพื่อการเมืองเยอะแยะไปหมด

จำได้ไหมครับว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนหนึ่งมีหนังสือถึงคณะสงฆ์ขอให้ไม่ให้เทศน์สอนเรื่องสันโดษ เนื่องจากเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ หรือการจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ที่ใช้สถาบันสงฆ์เป็นเครื่องมือของรัฐ เช่น โครงการพระธรรมจาริก กระทั่งโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง

ผมคิดว่าทุกศาสนามีเป้าหมายคล้ายกัน โดยเฉพาะพุทธศาสนาที่สอนให้คนมีปัญญา

ยิ่งคนมีปัญญาเท่าไร ประชาธิปไตยก็ยิ่งมีคุณภาพเท่านั้น

เคยได้ยินไหมครับ คร้ังหนึ่งคนทั้งโลกเชื่อว่าโลกแบน มีวันหนึ่งคนนึงบอกว่าแท้ที่จริงแล้วโลกกลม ในที่สุดเกิดอะไรขึ้น... นี่คือประชาธิปไตยแบบคนไม่มีปัญญา

ประชาธิปไตยมีหลายแบบ แบบโจรก็มี แบบบัณฑิตก็มี ขึ้นอยู่กับว่าสมาชิกในสังคมมีปัญญาเพียงใด

มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า

"คนเขลาอ่อนปัญญามาประชุมกันมากมายเกินพัน พวกเขาได้แต่คร่ำครวญรำพัน ต่อว่ากัน ปัญหาก็แก้ไม่ได้ แต่บัณฑิตเพียงผู้เดียวเข้ามา เขารู้จักใช้ปัญญา พาคนทั้งพันผ่านพ้นปัญหาไปได้"

สวัสดีครับคุณหนานเกียรติ

ขอบคุณครับที่เข้ามาแสดงความเห็น คือ ดังที่ผมได้กล่าวไว้ในบันทึกนะครับ ผมฟังมาจากนักวิจัยด้านนี้เขาอีกทีน่ะครับ เขาทำเกี่ยวกับตะวันออกกลาง เพราะฉะนั้น ศาสนาที่เขาพูดถึงย่อมไม่ใช่พุทธศาสนา

ผมต้องขออธิบายความคิดผมเพิ่มเติมหน่อยนะครับ เพราะเหมือนคุณจะเข้าใจผมผิดอยู่นิดหน่อย คำว่าประชาธิปไตย ผมไม่ได้หมายถึง conventional wisdom (สิ่งที่ถูกเชื่อต่อกันมา) นะครับ ตัวอย่างโลกแบนของคุณเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า conventional wisdom ไม่จำเ็ป็นต้องถูกต้องเสมอ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยที่ผมอ้างถึงนะครับ ประชาธิปไตยที่ผมหมายถึง หมายถึงระบอบการปกครองประเทศที่ประชาชนเท่าเทียมกันน่ะครับ

ผมเห็นด้วยกับคุณที่ว่าปัญญาเป็นส่วนช่วยให้เกิดประชาธิปไตยคุณภาพ แต่หากสังคมมีปัญญาแต่ขาด "การเคารพสิทธิ" ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระบอบนี้ ก็ทำให้เกิดเป็นประชาธิปไตยล้มเหลวได้เช่นกันครับ เช่น ประชาธิปไตยที่มาพร้อมกับรัฐประหารแบบเรื้อรัง (เช่นบ้านเรา) เกิดจากความที่คนไม่รักและเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นครับ

ขอบคุณที่เข้ามาออกความเห็นครับ

ประชาธิปไตยที่มาพร้อมกับรัฐประหารแบบเรื้อรัง (เช่นบ้านเรา) เกิดจากความที่คนไม่รักและเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นครับ

ผมเห็นด้วยครับ และ ขอแตกความเห็นออกไปว่า

เพราะสิทธิของตนเอง ไม่เท่าเทียมกันในสังคม ก็เลยต้องขายสิทธิ์ เพื่อนำมาจุนเจือชีวิตครับ

แต่ก็นั่นแหละครับ ประเทศอินเดียที่เขายากจน เขายังไม่ขายสิทธิ์เลยครับ

(อาจจะออกนอกเรื่องไปบ้างนะครับ ต้องขออภัย พอดีมันแตกประเด็นออกมา)

คุณ small man ครับ

ไม่ได้นอกเรื่องหรอกนะครับ :) ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจครับ

การขายสิทธิอาจจะมีอยู่ทุกที่นะครับ ผมว่าอินเดียก็(อาจจะ)มีเหมือนกัน ผมไม่ค่อยได้สนใจข่าวของอินเดียนักครับเลยไม่รู้ แต่เรื่องการซื้อเสียงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาตั้งแต่สมัย Roman Empire มา่แล้วครับ บางคนถึงกับให้ความเห็นว่าการซื้อเสียงเป็นเหตุผลหลักของการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน (ขนาดนั้น) ผมไม่รู้จริงเท็จเพราะผมไม่เคยอ่านประวัติครับ

ผมว่า มันมีสองตัวทำลายของประชาธิปไตยน่ะครับ ก็คือ การไม่เคารพสิทธิตน = ขายสิทธิ และ การไม่เคารพสิทธิผู้อื่น = ปิดถนน, ปิดสนามบิน กดดันรัฐบาล ถ้าประเทศไหนที่มีอย่างเดียวแต่ไม่มีอีกอย่าง ยังพอถูไถไปรอด แต่บังเอิญบ้านเรามีทั้งสองอย่างเสียด้วยครับ เลยเละเทะกันไปหมด

ขอบคุณครับ

ประชาธิปไตยกับศาสนา ผมว่าถ้าบุคคลโดยเฉพาะคนไทยนับถือศาสนาพุทธและเรียนรู้กับคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ต้องมากหรอกครับ แค่เรื่องน้ำอย่างเดียวแก่นก็คือ ไม่ว่าสีใดมาจากที่ใดเมื่อไหลรวมในภาชนะลักษณะเดียวกันน้ำจากทุกที่ก็เท่ากันหมด รู้จักสิทธิและหน้าที่ ไม่ละเมิดสิทธิผู้ใด ประชาธิปไตยกับศาสนาคงเจริญรุ่งเรือง

หมายเหตุ แต่ทุกคนต้องรู้จักและเข้าใจความหมายของสิทธิก่อน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คนชายแดน

"รู้จักสิทธิและหน้าที่ ไม่ละเมิดสิทธิผู้ใด ประชาธิปไตยกับศาสนาคงเจริญรุ่งเรือง"

เห็นด้วยมากๆครับ

สวัสดีครับ

คำว่าศาสนาเป็นคำที่คลุมเครือครับ แต่หลายคนคิดว่าเข้าใจแล้ว

สิ่งแรกก็คือศาสนาแตกต่างจากลัทธิความเชื่ออย่างไร?

สิ่งที่สองก็คืศาสนาในภาษาไทยเป็นอันเดียวกันกับ religion ในภาษาอังกฤษหรือเปล่า

ในการวิจัยสิ่งใดเราควรจำทำความชัดเจนในคำที่ใช้ก่อนครับ

คุณปริญญามีคำตอบอย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท