องค์การบริหารส่วนจังหวัด


องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัด และพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ยังทับซ้อนกับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ด้วย (นอกจากรุงเทพมหานคร)

 

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรูปแบบการปกครอง ส่วนท้องถิ่นอีกรูปแบบหนึ่ง   ซึ่งพัฒนามาจากการจัดระเบียบเทศบาล  ตามพระราชบัญญัติในปี พ.ศ. 2476 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7    โดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรก   มีลักษณะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่กรมการจังหวัด   เป็นองค์กรที่แยกมาจากราชการส่วนภูมิภาค  แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล  เมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาจังหวัด ในปี พ.ศ. 2481   โดยมีจุดมุ่งหมายแยกสภาจังหวัด ออกจากพระราชบัญญัติการจัดระเบียบเทศบาล   ให้มีกฎหมายเกี่ยวกับสภาจังหวัดโดยเฉพาะส่วนอำนาจหน้าที่ก็ยังคงไว้เหมือนเดิมทุกประการ   คือทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่กรมการจังหวัด ดังต่อไปนี้

1.ให้คำปรึกษาในกิจการที่กรมการจังหวัดร้องขอ

2.ตรวจรายงานเรื่องงบประมาณที่ทางจังหวัดตั้งขึ้น

3.แบ่งสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาลให้แก่เทศบาลต่าง ๆภายในจังหวัด

4.สวบสวนการคลังทางจังหวัดตามระเบียบของกฎกระทรวงกำหนดไว้

5.  ให้คำปรึกษาและเสนอข้อแนะนำต่อกรมการจังหวัดในกิจการจังหวัด ดังนี้

   การเก็บภาษีอากรโดยตรง         การกสิกรรมและการขนส่ง
   การประถมศึกษาและอาชีวศึกษา    การจัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ
   การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
   การเปลี่ยนแปลงเขตหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และเขตเทศบาล
   การป้องกันโรค  การบำบัดโรค  การจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล 

       ในปี พ.ศ. 2495  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน   กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ  และรับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวงต่าง ๆ  ทำให้อำนาจหน้าที่ของกรมการจังหวัดเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด   สภาจังหวัดจึงมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
        ในปี พ.ศ. 2498  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด ซึ่งกำหนดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สภาจังหวัดเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกจากราชการบริหารส่วนภูมิภาค  มีอำนาจหารายได้และดำเนินกิจการด้วยตนเองได้  ในปี พ.ศ. 2515   มีประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่  218  ของจอมพลถนอม กิตติขจร  ลงวันที่  29 กันยายน พ.ศ. 2515   กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง  จนถึงปัจจุบัน
นี้

 

      ความหมายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัด  และพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ยังทับซ้อนกับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ด้วย (นอกจากรุงเทพมหานคร)

 

     สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น  จำนวนสมาชิกให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัด ดังนี้

     ราษฎรไม่เกินห้าแสนคน  ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ 24 คน

     ราษฎรเกินห้าแสนคน แต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน  ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ 30 คน

     ราษฎรเกินหนึ่งล้านคน  แต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ 36 คน

     ราษฎรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคน แต่ไม่เกินสองล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ 42 คน

     ราษฎรเกินสองล้านคนขึ้นไป ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ 48 คน

     ในอำเภอหนึ่ง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด อย่างน้อย 1 คน ส่วนจะมีจำนวนเท่าใดนั้น  ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรของอำเภอนั้น

     สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง

     อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

     สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน : รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 คน  ซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลือกจากสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด : ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

การพ้นตำแหน่งจากการเป็นสมาชิกสภา อบจ.            

1. ดำรงตำแหน่งครบตามกำหนด คือ 4 ปี  (แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่านายกอบจ.ซึ่งได้รับเลือกขึ้นใหม่เข้ารับทำหน้าที่)
2. ตาย
3. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานสภา อบจ.
4. ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนแล้วสั่งออก เมื่อปรากฎว่าขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.
5. รัฐมนตรีมหาดไทยสั่งให้ออกเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งสอบสวนแล้ว ปรากฎว่าผู้บริหาร อบจ. มีส่วนได้เสียในสัญญาสัมปทานที่ทำกับ อบจ.
6. สภาอบจ. มีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนสมาชิก อบจ. โดยเห็นว่าประพฤติเสื่อมเสีย หรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่สภา

 

 อำนาจหน้าที่ของสภา อบจ.

          อำนาจหน้าที่ของสภา อบจ. มีลักษณะคล้ายกับหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร คือมีอำนาจหน้าที่ เสนอร่างข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อพิจารณา และมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติของฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยเฉพาะร่างข้อบัญญัติงบประมาณร่างจ่ายประจำปี หรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายเพิ่มเติม การลงมติของสภา อบจ. จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้ ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับมติสภา

     สภา อบจ มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการเลือก ผู้บริหาร อบจ. คือนายก อบจ. และรองนายก อบจ. ในกรณีที่นายก อบจ. ต้องพ้นตำแหน่งเพราะ ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ตกไป สภา อบจ. ต้องเลือกนายก อบจ คนใหม่เข้ามารับตำแหน่งแทนคนเก่า ภายในเวลา 15 วัน

 

ตารางแสดงการพิจารณาของสภาอบจ. สัมพันธ์กับการพิจารณาของผู้ว่าราชการจังหวัด
เรื่องข้อบัญญัติรายจ่ายงบประมาณประจำปี หรือข้อบัญญัติรายจ่ายเพิ่มเติม

 

ความเห็นของ

สภาอบจ.

ความเห็นของ

ผู้ว่าราชการจังหวัด

ผล ที่มีต่อข้อบัญญัติ

เห็นชอบด้วย

เห็นชอบด้วย

นำไปประกาศ ณที่ทำการ อบจ. และกรมการปกครอง

ไม่เห็นชอบด้วย

ไม่เห็นชอบด้วย

ตกไป (ผู้บริหาร อบจ. ต้องพ้นจากตำแหน่ง)

ไม่เห็นชอบด้วย

เห็นชอบด้วย

สภา อบจ. พิจารณาใหม่ภายใน 30 วัน ต้องยืนยันในมติเดิม ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ ร่างฯ จึงตกไป

เห็นชอบด้วย

ไม่เห็นชอบด้วย

         

     การปกครองตนเองขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบ อบจ. ก็ยังมีผู้ว่าราชการเป็นพี่เลี้ยงคอยควบคุม แต่ไม่มีอำนาจเด็ดขาด ในกรณีที่สภามีความเห็นขัดแย้ง  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเพียงพี่เลี้ยงที่ราชการส่วนกลางส่งมาคอยช่วยเหลือ ดูแล ประสานงานกับราชการส่วนกลาง

 

รายได้ของ อบจ.

1.) รายได้จากภาษี อากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต

     1.1 ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์ และผลประโยชน์อันเกิดจากการฆ่าสัตว์ ในพื้นที่เขตจังหวัดที่อยู่นอกเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เมื่อ อบจ. มีรายได้ตามที่จัดเก็บ ต้องจัดสรรรายได้ให้กับ อบต.ในเขตพื้นที่ของจังหวัด

     1.2. จังหวัดต้องจัดสรรภาษีค่าธรรมเนียมรถยนต์ และล้อเลื่อน ให้แก่ อบจ
             1.2.1   จังหวัดต้องจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ให้แก่ อบจ.ร้อยละ 5 ของภาษีที่จัดเก็บได้
            1.2.2   ค่าภาคหลวงแร่  ค่าภาคหลวงน้ำมันปิโตรเลี่ยม   อบจ.ได้รับการจัดสรรตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
            1.2.3   อบจ. มีอำนาจออกข้อบัญญัติ  เก็บภาษีบำรุง อบจ.  จากสถานค้าปลีกน้ำมันเบ็นซิน  น้ำมันดีเซล   ก๊าซปิโตรเลี่ยม ไม่เกินลิตรละ 5 สตางค์   เก็บค่าธรรมเนียมโรงแรมตามจำนวนผู้พัก   ในอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
            1.2.4   อบจ. มีอำนาจออกข้อบัญญัติ  เก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10   ของภาษีธุรกิจเฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา  

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันตามกฎหมาย

2.) รายได้จาก ค่าปรับ

3.) รายได้จากทรัพย์สินของ อบจ.

4.)รายได้จากสาธารณูปโภคของ อบจ.

5.) รายได้จากการพาณิชย์ของ อบจ.

6.) รายได้จากเงินกู้

7.)รายได้จากเงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให้

8.)รายได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

รายจ่ายของ อบจ.

1.เงินเดือน
2. ค่าจ้าง
3. เงินตอบแทนอื่นๆ
4.  ค่าใช้สอย
5.  ค่าวัสดุ

6. ค่าครุภัณฑ์
7. ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ
8.  เงินอุดหนุนองค์กรอื่น
9. รายจ่ายตามข้อผูกพันตามระเบียบของมหาดไทยกำหนดไว้

     การจัดทำงบประมาณของ อบจ. ให้ทำเป็นข้อบัญญัติ ถ้าจัดทำไม่ทันปีงบประมาณใหม่ให้ใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วไปพลางก่อน

 

หมวด 3
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มาตรา 35 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

               มาตรา 35/1 บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย
               (1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
               (2) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
               (3) ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทํากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

               มาตรา 35/2 ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดํารงตําแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
               ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดํารงตําแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดํารงตําแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดํารงตําแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตําแหน่ง

               มาตรา 35/3 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายได้ตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
               (1) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสี่สิบแปดคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสี่คน
               (2) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสามสิบหกคนหรือสี่สิบสองคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสามคน
               (3) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยี่สิบสี่คนหรือสามสิบคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสองคน
               นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จํานวนรวมกันไม่เกินห้าคน
               รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 35/1

               มาตรา 35/4 ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               กรณีที่ไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดถูกยุบตามมาตรา 22 วรรคหก หากมีกรณีที่สําคัญและจําเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สําคัญของราชการหรือราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะดําเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จําเป็นก็ได้ เมื่อได้มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว  ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               การประชุมเพื่อแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้กระทําโดยเปิดเผย โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องจัดทํานโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรแจกให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกคนที่มาประชุมด้วย
               หากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทํานโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกคนภายในเจ็ดวัน โดยให้นําวิธีการแจ้งคําสั่งทางปกครองเป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว
               ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทํารายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประจําทุกปี
               คําแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย ให้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย

               มาตรา 35/5 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
               (1) กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบาย
               (2) สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
               (3) แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               (4) วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
               (5) รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               (6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น

               มาตรา 36 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
               (1) ถึงคราวออกตามวาระ
               (2) ตาย
               (3) ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
               (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 35/1
               (5) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา 44/3 (1) หรือ (2)
               (6) รัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 44/3 (3) มาตรา 55 วรรคห้า
หรือมาตรา 79
               (7) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
               (8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีจํานวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียงเห็นว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่สมควรดํารงตําแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

                                                                หมวด 4
                       อํานาจหน้า

หมายเลขบันทึก: 291393เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท