Rain
นางสาว วารุณี จิรัญเวทย์

การเรียนรู้แบบ Brain-Based Learning (BBL)


ไม่มีคำว่าสาย ถ้าคิดจะเริ่มต้น

               เป็นการนำความรู้   ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองไปใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์แต่ละช่วงวัย

                สมองมนุษย์เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์ต้องใช้ในการเรียนรู้  ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล   เซลล์สมองจะถูกสร้างตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ 3-6 เดือนแรก   จนถึง1เดือนก่อนคลอด   ช่วงนี้สมองบางส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกทำลายไปซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า  พรุนนิ่ง (Pruniny)” และจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเด็กเล็กและช่วงวัยรุ่น    ทั้งนี้หลักการพัฒนาเซลล์สมองขึ้นอยู่กับ  2 ส่วน คือ

1.ธรรมชาติที่ได้รับมาจากบรรพบุรุษได้แก่  พันธุกรรม

2.สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น  อาหาร  อารมณ์  การฝึกฝนใช้สมอง

จากการศึกษานักวิจัยพบว่าสมองมนุษย์นั้นยิ่งใช้มากก็ยิ่งแข็งแรก   และหากส่วนไหน

โดยเชื่อว่าพื้นฐานมนุษย์ทุกคนมีศักยภาพความเฉลียวฉลาด   ที่สำคัญมี  8 อย่างสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสภาพการพัฒนาตั้งแต่เด็กเล็กจนเป็นผู้ใหญ่   ได้แก่

1.การเคลื่อนไหวและทำหน้าที่ของร่างกาย

2.ภาษาและการสื่อสาร

3.การคำนวณและตรรกะ

4.มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากสิ่งที่มองเห็น

5.ดนตรีและจังหวะ

6.การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม

7.การรู้จักตนเอง

8.ปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นการเลี้ยงดูอบรมเด็กอย่างมีทิศทางจึงเป็นสำคัญ  ซึ่งต้องมีการฝึกฝนที่พอเหมาะตามศักยภาพและระบบการทำงานของสมอง  นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระยะที่สมองพัฒนาเต็มที่  จะช่วยให้โอกาสทองของการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัยที่เปิดรับการเรียนรู้อย่างสูงสุด  และสิ่งที่สำคัญยิ่ง

ต่อกระบวนการเรียนรู้แบบ BBL  คือ การเข้าใจถึงความแตกต่างของสมองแต่ละคนที่มีลักษณะเฉพาะตัว

สมองมนุษย์ถูกออกแบบมาเพื่อการเรียนรู้  ไม่มีมนุษย์คนใดที่มีสมองปกติจะไม่สามารถเรียนรู้ได้หรือเรียกง่าย ๆ ว่า โง่มาแต่กำเนิด  เพียงแต่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้จะดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่รอบตัว  และช่วงที่สำคัญที่สุดของพัฒนาการพื้นฐานทางสมองมนุษย์  คือ ช่วงปฐมวัยจนถึงก่อนวัยรุ่นช่วงต้น อายุระหว่าง 0-10 ปี

นักการศึกษาพบว่าสมองมนุษย์สามารถทำงานพร้อมกัน  8 ระบบในลักษณะกระจายตัวเชื่อมดังนั้น  สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้ภาษา  สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณและตรรกะ  สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง  ระยะและมิติ  รวมถึงสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับดนตรีและจังหวะ  สามารถทำงานและพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน  ซึ่งจะลบล้างความเชื่อเดิมที่ว่าสมองมนุษย์ทำงานแบบแยกส่วน

ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานสมองตามแนวใหม่นี้ คือกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ที่ได้รับการยกระดับและให้ความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  เช่นเดียวกันประเทศไทยโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ   จึงได้มอบภาระหน้าที่หลักให้กับสถาบันวิทยาการการเรียนรู้(สวร.)เป็นองค์การมหาชน  สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี  เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง BRAIN-BASE LEARNING โดยการศึกษาศักยภาพของสมองของเด็กแต่ละวัย   และนำผลการศึกษาที่ได้มาประมวลเป็นองค์ความรู้ที่จะขยายขอบข่ายการทำงานแบบบูรณาการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

แนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING

สำหรับโรงเรียน

1.จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ  กระตุ้นการเรียนรู้  เช่น อุปกรณ์ที่มีสี รูปทรง สถาปัตยกรรม สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง(ไม่ใช่ครูออกแบบให้) เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความเป็นเจ้าของ

2.สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน  เช่นที่ว่าง ๆ สำหรับกลุ่มเล็ก  ซุ้มไม้ 

โต๊ะหินอ่อนใต้ต้นไม้  ปรับที่ว่างเป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์  จัดสถานที่ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม

3.จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน  มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า  ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์

4.ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรียนที่ไหนก็ได้  เช่น บริเวณเฉลียง  ทางเชื่อมระหว่างตึก  สถานที่สาธารณะ

5.เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย  ลดความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนเมือง

6.จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง  สี  แสง ช่อง  รู

7.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายจะกระตุ้นการทำงานของสมอง  เช่น  เวทีจัดนิทรรศการซึ่งควรเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ

8.จัดให้มีวัสดุต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้  พัฒนาการต่าง ๆของร่างกาย  มากมายหลากหลายและสามารถนำมาจัดทำสื่อประกอบการเรียนรู้ที่มีความคิดใหม่ ๆ โดยมีลักษณะบูรณาการไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ  เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่หลากหลาย

9.กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น  เหมาะสมกับสมองของแต่ละคนและสภาวะที่

เปลี่ยนแปลงไป

10.จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

11.จัดให้มีที่ส่วนตัว  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน  จัดสถานที่

ส่วนตัวของตนและสามารถแสดงความคิด  สร้างสรรค์ของตนได้อย่างอิสระ

12.ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด สนามเด็กเล่นในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและทำให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต  นำเทคโนโลยี 

การเรียนทางไกล   ชุมชน  ภาคธุรกิจ  บ้าน  ต้องนำเข้ามามีส่วนและเป็นทางเลือกในการเรียนรู้

                สำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัย   ซึ่งถือว่าเป็นช่วงแรกของการเรียนรู้ทุกโรงเรียนสามารถทำแนวทางการจัดกระบวนการและสื่อการเรียนรู้แบบ BRAIN-BASE LEARNING

ไปปรับใช้เตรียมการได้  จะเห็นว่าแนวทางหลายอย่างปฐมวัยจัดอยู่แล้ว  คือ 6 กิจกรรมหลักในกิจกรรมประจำวัน  ส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว  ซึ่งผู้บริหาร  ครู  ผู้สอนควรส่งเสริมและเน้นให้จริงจัง  เพราะเป็นนโยบายระดับชาติ

                การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ BBL

1.จัดตกต่างห้องเรียนให้มีสีเขียว  เหลือง  เป็นส่วนใหญ่

2.ห้องเรียนและบริเวณรอบๆห้องเรียนมีต้นไม้ร่มรื่น

3.จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมกัน  กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

4.จัดให้มีสถานที่  อุปกรณ์ต่าง ๆอยู่ในสภาพปลอดภัย

5.จัดให้มีการเรียนรู้จากของจริง  ประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาททั้ง 5

(การมองเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การได้ชิม  การสัมผัส)

6.จัดให้เด็กได้ฟังเพลงกล่อมเด็ก  เพลงคลาสสิค  ฟังนิทาน  อ่านหนังสือให้เด็กฟัง

7.จัดให้เด็กได้เล่น  ฝึกกับเครื่องเล่นที่มีเสียงดนตรี  อย่างสม่ำเสมอ

8.จัดให้เด็กได้สัมผัสกับศิลปะ

9.จัดให้มีของเล่นที่มีรูปทรง  สี  อย่างหลากหลาย

10.จัดให้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายทุกวัน

11.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เช่น  การจัดห้องเรียน  จัดนิทรรศการ ฯลฯ

12.การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อยๆจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง

13.จัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย  ยืดหยุ่นตามความแตกต่างของผู้เรียน  ยาก  ง่าย ตามสภาพของผู้เรียน

14.จัดให้มีที่เก็บอุปกรณ์และผลงานเป็นส่วนตัวของเด็กแต่ละคน

15.จัดให้มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน  เช่น เชิญเป็นวิทยากร  ร่วมกิจกรรมวันสำคัญของชุมชน ฯลฯ

        วางแผนใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้หลากหลาย

                พึงระลึกไว้เสมอว่า  การเข้าใจเรื่องสมอง  การพัฒนาสมองถูกจังหวะวิธี  ครู ผู้ปกครอง

ที่เข้าใจเด็กมีส่วนช่วยเด็ก  ให้มีศักยภาพ  มีความสามารถอย่างที่ควรจะเป็น  ปัจจัยที่ช่วยพัฒนาสมอง คือ       

1.ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด  อบอุ่นกับผู้เลี้ยงดู

2.สิ่งแวดล้อมที่มีคนพูดคุยด้วย

3.มีโอกาสได้เล่น

4.มีการกระตุ้นการเรียนรู้ที่เหมาะสม

                สำหรับการจัดการศึกษาของประเทศไทย  เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ  ต้องให้ความตระหนักและสนใจในเรื่องการทำงานของสมองให้มากยิ่งขึ้น  เพราะที่ผ่านมาการจัดการศึกษาหรือการจัดกระบวนการเรียนรู้ไม่สอดคล้อง  และที่สำคัญยังตรงกันข้ามเป็นปฏิปักษ์ต่อกลไกการทำงานของสมอง  ตารางต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบความขัดแย้งระหว่างโครงสร้างและทำงานของสมองและการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 291337เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท