วิจัยหน้าเดียว


ทักษะการคำนวณวิชาฟิสิกส์

ชื่องานวิจัย    การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดทักษะการคำนวณในการเรียนวิชาฟิสิกส์

 

ผู้วิจัย             นางหัทยา ท่าห้อง ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                     โรงเรียนราชวินิต มัธยม

วิชา               ฟิสิกส์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ปีที่วิจัย          2551

                      การช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดทักษะการคำนวณในการเรียนวิชาฟิสิกส์

 

สภาพปัญหา  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6, 5/7,5/8 ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ คำนวณโจทย์ปัญหา เมื่อให้

                       แบบฝึกหัดโจทย์ปัญหาจะไม่ทำด้วยตนเอง จะลอกมาส่ง

สาเหตุปัญหา

                        นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาวิชาฟิสิกส์ได้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                        เพื่อช่วยให้นักเรียนส่วนใหญ่ฝึกคิดคำนวณโจทย์ปัญหาเรื่อง คลื่นกล  

ขอบเขตการวิจัย

                        1.เนื้อหาที่ทำวิจัยคือวิชา ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง คลื่นกล

                       2.กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6, 5/7,5/8ปีการศึกษา 2551 จำนวน 120 คน

                       3.ระยะเวลาวันที่ 8 พฤศจิกายน-30 ธันวาคม 2551

วิธีดำเนินการวิจัย

                      1.แจ้งนักเรียนให้ทราบวิธีการวัดผลประเมินผลเพิ่มเติมจากการแจ้งเมื่อวัดเปิดภาคเรียน                                        

                      ที่ 2/2551 คือให้คะแนนโบนัสสำหรับคนที่ขยันและฝึกคิดคำนวณด้วยตนเองพร้อมทั้งนำเสนอ

                      ผลการ คำนวณได้โดยให้นักเรียนทุกคนศึกษาจากเอกสารเสริมประสบการณ์ 1-6 ให้นักเรียน

                       ลงทะเบียนจองโจทย์เสริมประสบการณ์ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์หน้าชั้นเรียนล่วงหน้า เพื่อนำไป           

                       ฝึกคิดวิเคราะห์

                      2.นักเรียนออกมาแสดงวิธีเฉลยโจทย์ปัญหาบนกระดานดำ ตามลำดับข้อและชุดของเอกสาร

                      เสริมประสบการณ์ 

                      3.เมื่อทำถูกต้องจะได้คะแนนพิเศษ 1 คะแนน เพื่อนำไปรวมกับคะแนนรวมทั้งหมดก่อนการ

                      ตัดสินผลการเรียน

สรุปผลการวิจัย

                     นักเรียนส่วนใหญ่กระตือรือร้นในการลงทะเบียนจองแก้โจทย์ปัญหา เมื่อนักเรียนมาเฉลยโจทย์  

                     ปัญหา นักเรียนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน ฟังการอธิบาย และซักถามผู้เฉลย ทำให้บรรยากาศใน

                     การเรียนสนุกสนาน                    

หลักฐานอ้างอิง

                  1.เอกสารเสริมประสบการณ์ 1-6 เรื่อง คลื่นกล

                  2.แบบบันทึกคะแนนพิเศษ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะการคำนวณ
หมายเลขบันทึก: 291322เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณมากครับ
  • ผมสนใจ วิจัยในชั้นเรียนมากเลยครับ

ปัญหาที่เกิดนักเรียน ส่วนใหญ่นร. เขาจะมีอคติและไม่ชอบเพราะเคยได้ยินมาว่า ฟิสิกส์ยากมาก

นั้นเป็นส่วนให้นร.เกลียดและไม่ตั้งใจเรียน

ในเมื่อนร. ซึ่งปิดกั้นการรับรู้ เลยทำให้นร.เรียนอ่่อน

แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวนักเรียนอย่างเดียว

อาจารย์ที่สอนมีส่วนมากด้วย ต้องให้อาจารย์สอนเป็นศิสป์กว่าศาสตร์

นร จะได้สนุกการวิชา

ปัญหาดังกล่าวเป็นกับนักเรียนทุกคนในปัจจุบันที่เมื่อเห็นตัวเลขจะปฏิเสธที่จะรับรู้ และคิดว่าตัวเองทำไม่ได้

จึงทำให้ครูส่วนมากหยุดที่จะให้ความรู้เด็กเมื่อเจอพฤติกรรมของนักเรียนดังกล่าว โดยส่วนตัวก็สอนฟิสิกส์ วันแรกที่สอนนักเรียน

นักเรียนไม่สนใจเราเลย แต่มีจุดหนึ่งที่ได้เก็บมาใช้ก็คือทำนักเรียนรักเราชอบเราเสียก่อน พร้อมๆกับให้เขารักวิชาฟิสิกส์ด้วย

การสอนจะต้องให้กำลังใจนร.ตลอดว่าไม่ต้องซีเรียส เรียนเรื่อยๆเดี๋ยวก็ได้เองแหละ และก็ต้องตอบทุกคำถามที่นักเรียนมาถาม

เดินดูนักเรียนแต่ละคนว่า ทำได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ต้องอธิบายเด็กตอนนั้นเลย โดยที่ไม่ต้องไปถามว่าเค้าเข้าใจไหม เพราะธรรมชาติของคนมักนึกคำถามไม่ออก เราต้องแนะเรื่อยๆ เขาก็จะค่อยๆคุยกับเรา ตอนนี้ก็รู้สึกว่านักเรียนตอบรับดี อยากเรียน ทักทายครูไม่ว่าจะเจอที่ไหน เวลาสอนแต่ละคาบต้องมีเป้าหมายว่าจะสอนอะไรแล้วนักเรียนต้องได้อะไรพยายามให้นักเรียนประมาณ 90%ได้จะดีมากเลย

ขอfull text ของอาจารย์หน่อยครับส่งมาทางe-mailเลยครับขอจอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ

  • สวัสดีครับ คุณครู
  • ยินดีทีได้รู้จักครับ

ขอบคุณมากครับ

ผมสนใจเกียวกับสาเหตุที่นักศึกษาแก้โจทย์ไม่ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท