โครงการสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา


โครงการประชุมสัมมนา ลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อสวัสดิการภาคประชาชน จ.สงขลา            จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัด วันจันทร์ ที่ 22 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา

ผู้เข้าร่วมประชุม คือ เครือข่ายกองทุนสัจจะวันละบาทของจังหวัดสงขลา สมาชิก สจ. อบต.อบจ. จังหวัดสงขลา หน่วยการจัดการความรู้ ผู้ช่วยวิจัย และทีมวิจัยจาก ตำบลกะหรอ จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมสังเกตการณ์ จำนวน 11คน

เวลา 09.30 น. พิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง บทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กับโครงการสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน โดย นายก นวพล บุญญามณี โดยท่านได้เน้น ให้ชุมชนต้องรู้จักช่วยเหลือตนเองก่อน ยืนอยู่บนขาของตนเองให้ได้ ก่อนที่จะยื่นมือไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่น เพราะว่าไม่มีใครที่จะรู้ปัญหาได้ดีเท่ากับตัวชุมชนเอง และภาครัฐก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาให้ได้ทุกเรื่อง ฉะนั้นชุมชนเองจะต้องหันหน้าเข้าหากันร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้

หลังจากนั้นก็เปิดโอกาสให้ สจ. ในแต่ละ อ. ของจังหวัดสงขลาที่เข้าร่วมว่าเห็นด้วยกับโครงการนี้และจะให้การสนับสนุน ทุกท่านก็เห็นด้วยกับโครงการนี้

ครูชบ ได้พูดกฎเกณฑ์ ของหมู่บ้านที่จะได้รับเงินสมทบ หมู่บ้านละ 100,000 บาท คือ ต้องตั้งกองทุนมาแล้ว 6 เดือน เงินต้องเป็นของประชาชนจริง ๆ และเป็นส่วนของท้องถิ่น

พักรับปประทานอาหารเที่ยง

ภาคบ่ายเป็นการเสวนาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการแนวคิดสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาคือ

1.คุณสินทบ นายก อบต. ตำบลท่าข้ามท่านได้พูดถึง จุดเริ่มต้นของกองทุนสัจจะวันละบาท ปัจจุบันคนเห็นแก่ตัวเพิ่มมากขึ้นและมีการรวมตัวกันน้อยลง รายจ่ายของคนในชุมชนมากกว่ารายได้ เป็นสังคมบริโภคนิยม หลังจากนั้นก็ได้คิดว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีสวัสดิการ รู้จักการออม ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการประชาสัมพันธ์ และบอกผลประโยชน์ ออมครบ 180 วัน จะมีสวัสดิการอะไรบ้าง เริ่มต้นที่ครอบครัวของตัวเองก่อน ให้เล็งเห็นประโยชน์ของ เงิน 1 บาท จากนั้นก็ขยายไปสู่คนในชุมชน

ท่านได้พูดถึง จุดเริ่มต้นของกองทุนสัจจะวันละบาท ปัจจุบันคนเห็นแก่ตัวเพิ่มมากขึ้นและมีการรวมตัวกันน้อยลง รายจ่ายของคนในชุมชนมากกว่ารายได้ เป็นสังคมบริโภคนิยม หลังจากนั้นก็ได้คิดว่าจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีสวัสดิการ รู้จักการออม ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการประชาสัมพันธ์ และบอกผลประโยชน์ ออมครบ 180 วัน จะมีสวัสดิการอะไรบ้าง เริ่มต้นที่ครอบครัวของตัวเองก่อน ให้เล็งเห็นประโยชน์ของ เงิน 1 บาท จากนั้นก็ขยายไปสู่คนในชุมชน

2.คุณอภิญญา ได้พูดถึงกองทุนสัจจะวันละบาท เป็นกองทุนที่เกิดจากการนำเงินจากการลดรายจ่ายจากค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย และกองทุนนี้ไม่มีการกู้แต่จะเป็นการให้ยืมไปทำธุรกิจในครัวเรือน และจะต้องมีส่วนลด ให้กับสมาชิกด้วย เช่นถ้าขายอยู่ 20 บาท ถ้าสมาชิกไปชื้อต้องขายในราคา 19 บาท และเงินที่ได้จากการสนับสนุนของ พอช. 100,000 บาท มาแยกส่วนไม่นำไปรวมกับเงินของชาวบ้าน และต้องชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่าย เพราะว่าทางการจะมาตรวจว่าเงินที่ได้ไปนำไปใช้ทำอะไรบ้าง

ได้พูดถึงกองทุนสัจจะวันละบาท เป็นกองทุนที่เกิดจากการนำเงินจากการลดรายจ่ายจากค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย และกองทุนนี้ไม่มีการกู้แต่จะเป็นการให้ยืมไปทำธุรกิจในครัวเรือน และจะต้องมีส่วนลด ให้กับสมาชิกด้วย เช่นถ้าขายอยู่ 20 บาท ถ้าสมาชิกไปชื้อต้องขายในราคา 19 บาท และเงินที่ได้จากการสนับสนุนของ พอช. 100,000 บาท มาแยกส่วนไม่นำไปรวมกับเงินของชาวบ้าน และต้องชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่าย เพราะว่าทางการจะมาตรวจว่าเงินที่ได้ไปนำไปใช้ทำอะไรบ้าง

3.คุณสำราญ รองประธาน ตำบลทุ่งหวัง ตอนนี้กองทุนสัจจะวันละบาทเปิดทำการมา 8 เดือนแล้วเกิดจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้เชิญกลุ่มต่างๆ ของตำบล เข้าร่วมเป็นตัวแทนฟังรายละเอียด กองทุนสัจจะวันละบาท และเกิดความสนใจ กลับไปประชุมนอกรอบ 2-3 ครั้ง วางแผนว่าจะหาสมาชิกได้อย่างไร ช่วงแรกเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน ใช้วิธีการเล่าสู่กันฟังถ่ายเอกสารรายละเอียดแจกตามหมู่บ้านและผ่านทางวิทยุกระจายเสียงของหมู่บ้าน รุ่นแรก ในเดือนธันวาคม มีสมาชิก 1,468 คน จาก 8 หมู่บ้าน

ตอนนี้กองทุนสัจจะวันละบาทเปิดทำการมา 8 เดือนแล้วเกิดจากกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้เชิญกลุ่มต่างๆ ของตำบล เข้าร่วมเป็นตัวแทนฟังรายละเอียด กองทุนสัจจะวันละบาท และเกิดความสนใจ กลับไปประชุมนอกรอบ 2-3 ครั้ง วางแผนว่าจะหาสมาชิกได้อย่างไร ช่วงแรกเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 1 คน ใช้วิธีการเล่าสู่กันฟังถ่ายเอกสารรายละเอียดแจกตามหมู่บ้านและผ่านทางวิทยุกระจายเสียงของหมู่บ้าน รุ่นแรก ในเดือนธันวาคม มีสมาชิก 1,468 คน จาก 8 หมู่บ้าน

4.คุณโมกขศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดให้การสนับสนุน และให้ภาคประชาชนเป็นคนทำ โดยจังหวัดสงขลามี ตำบลนำร่อง 2 ตำบล คือ ตำบลคลองเปี๋ย และตำบลน้ำขาว ซึ่ง 2 ตำบลนี้เปรียบเสมือนหัวรถไฟ คือ ถ้าหัวขบวนไปทางไหนก็ต้องไปทางนั้น หรือว่าได้รับงบสนับสนุนอะไรก็ต้องได้เหมือนกัน สงขลา มี 124 ตำบล 22 เทศบาล ตอนนี้มีกองทุนสัจจะวันละบาทแล้ว 53 ตำบล และจะขยายต่อไปในจังหวัดสงขลา และทั่วประเทศ

ผู้ว่าราชการจังหวัดให้การสนับสนุน และให้ภาคประชาชนเป็นคนทำ โดยจังหวัดสงขลามี ตำบลนำร่อง 2 ตำบล คือ ตำบลคลองเปี๋ย และตำบลน้ำขาว ซึ่ง 2 ตำบลนี้เปรียบเสมือนหัวรถไฟ คือ ถ้าหัวขบวนไปทางไหนก็ต้องไปทางนั้น หรือว่าได้รับงบสนับสนุนอะไรก็ต้องได้เหมือนกัน สงขลา มี 124 ตำบล 22 เทศบาล ตอนนี้มีกองทุนสัจจะวันละบาทแล้ว 53 ตำบล และจะขยายต่อไปในจังหวัดสงขลา และทั่วประเทศ

และในระดับชาติ ถ้าชาวบ้านออมวันละ 1 บาท รัฐบาลจะอุดหนุนให้ 1 บาท อบจ. อีก 1 บาท อบต.และ เทศบาล อีก 1 บาท

5.อ.สุกัญญา ท่านได้พูดเกี่ยวกับ ความเป็นผู้นำ ของครูชบ

ท่านได้พูดเกี่ยวกับ ความเป็นผู้นำ ของครูชบ

1.ผู้นำสำคัญ มีบารมี มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ พัฒนาคน ลดรายจ่ายเพื่อการออม

2.สวัสดิการทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้ มีการเกื้อกูลกัน และเป็นการให้ส่วนกลางและย้อนกลับมาหาตัวเอง

3.มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ถ้าทำบาทเดียวได้ หลายบาทก็คงจะตามมา

4.คิดว่าจะช่วยเหลือคน และช่วยให้ครอบครัวอบอุ่น

5.คิดว่ายั่งยืน เมื่อเรายืนด้วยตัวเราเองได้แล้ว ก็จะมีคนอื่นมาสนับสนุนอีก

6.เกิดการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการกลุ่ม โครงสร้างที่ครูชบวางไว้ หัวใจอยู่ที่ตำบล

หลังจากนั้นก็ได้เชิญ คุณพัชรี ทีมวิจัยจากกะหรอ ขึ้นไปพูดแสดงความคิดเห็น และกล่าวปิดประชุม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2905เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2005 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทีมกะหรอไปกันหลายคน ตอนนั่งรถทั้งขาไปและขากลับได้คุยกันถึงแนวทางพัฒนาเครือข่ายหรือประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรบ้าง และจะกลับมาทำอะไรต่อไปครับ

ได้ข่าวว่าประชุมประจำเดือนนี้ของเครือข่าย จะหยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุย และอาจมีข่าวดีก็ได้ค่ะ  ติดตามหลัง 28/8/48 น่ะค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท