การตั้งเมืองขุขันธ์ : เมืองขุขันธ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์(ตอนที่7)


เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เมืองขุขันธ์ครั้งสำคัญ

ปี  พ..๒๔๘๑   ซึ่งขณะนั้นจังหวัดขุขันธ์  มีหลวงศรีราชารักษา ( ผิว  ชาตรีรัฐ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัด   รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกา   เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอ   พุทธศักราช   2481   

ซึ่งขณะนั้นมีนายพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา  เป็นนายกรัฐมนตรี  เห็นว่า  จังหวัดขุขันธ์มีที่ทำการศาลากลางจังหวัดอยู่ที่อำเภอกลางศรีสะเกษ  แต่มิได้ชื่อว่า  ศรีสะเกษ  ซึ่งเป็นนามเมือง  จึงมีการนำเสนอ ต่อสภาผู้แทนราษฏร์ ขอเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง    ดังนี้

พระราชกฤษฎีกา  เปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอ    ปีพุทธศักราช  ๒๔๘๑

มาตรา  ๓  ให้เปลี่ยนนามจาก  "จังหวัดขุขันธ์เป็นนาม   "จังหวัดศรีสะเกษ "

มาตรา  ๔ ให้เปลี่ยนนามอำเภอต่อไปนี้เสียใหม่  คือ 

-          อำเภอศรีสะเกษ  เป็นอำเภอเมืองศรีสะเกษ  (อำเภอกลางศรีสะเกษ ใช่หรือไม่)

-          อำเภอห้วยเหนือ  เป็น  อำเภอขุขันธ์ 

-          อำเภอน้ำอ้อม  เป็นอำเภอกันทรลักษ์ 

-          อำเภอคง  เป็น  อำเภอราษีไศล 

  ทั้งนี้ เพื่ออนุรักษ์ชื่อเมืองเก่า  ซึ่งมีอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษไว้  หลังจากมีพระราชกฤษฏีกา

เปลี่ยนนามจังหวัดและมีการแยกเมืองใหญ่ออกเป็นหลายอำเภอดังที่กล่าวมาแล้ว  อำเภอขุขันธ์ จึงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่นั้นเป็นมา

 

หมายเลขบันทึก: 290488เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท