nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

โควต้าวิทยฐานะ


ผูู้้ประเมิน (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ประเมินจาก คุณภาพของผลงานที่ผู้ขอแต่ละท่านได้ตั้งใจและบรรจงทำกันอย่างสุดฝีมือ สุดชีวิต หากพิจารณาแล้วว่า ผลงานมีคุณภาพถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ให้ผ่านได้แน่นอน แต่ถ้ามีคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ต้องแสดงความเสียใจที่จะตัดสินว่าไม่ให้ผ่านการประเมิน

            ผมมักจะได้ยินคำถามจากเพื่อน ๆ ครู กทม. (ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร) ว่าการประเมินผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับ หรือขอเลื่อนวิทยฐานะในปัจจุบันนั้น มีกำหนดไหมว่าแต่ละรอบจะให้กี่คน หรือกำหนดจำนวนคนผ่านไว้เท่าไร ?...  แล้วเงินจะมีพอสำหรับกี่คน  ซึ่งฟังแล้วเหมือนเพื่อนครูเหล่านั้นจะรับรู้มาว่า กทม. นั้นได้กำหนดโควตาของผู้ที่จะผ่านการประเมินไว้หรือจะให้ผ่านได้ตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้แล้ว....

            ความจริงที่อยากให้ ขรก.ครู กทม. ทุกคนได้เข้าใจให้ตรงกัน คือ การประเมินผลงานแต่ละครั้ง (ทั้งครั้งที่ขอเป็นอาจารย์ 3 เชิงประจักษ์) รวมถึงการขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ ที่กำหนดดำเนินการอยู่ในขณะนี้นั้น กทม.  กก. หรือ สนศ.  มิได้กำหนดจำนวนของผู้ที่จะผ่านไว้ มิได้มีโควตาใด ๆ    หากแต่การประเมินผลงานในตำแหน่งครู รอง ผอ.  ผอ.  ศึกษานิเทศก์ ในวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  เชี่ยวชาญ  เชี่ยวชายพิเศษ นั้น  ผู้ประเมิน (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ประเมินจาก คุณภาพของผลงานที่ผู้ขอแต่ละท่านได้ตั้งใจและบรรจงทำกันอย่างสุดฝีมือ สุดชีวิต  หากพิจารณาแล้วว่า ผลงานมีคุณภาพถึงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ให้ผ่านได้แน่นอน  แต่ถ้ามีคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ต้องแสดงความเสียใจที่จะตัดสินว่าไม่ให้ผ่านการประเมิน  และในส่วนของตัวผู้ขอรับการประเมินเองก็สามารถส่งผลงานเพื่อขอประเมินได้อีก...

            เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้แล้ว หวังว่า คุณครู กทม. ทุกท่าน คงจะเบาใจ และหมดกังวลในสิ่งที่ถูกปลูกฝังให้คับข้องใจมานานสองนานแล้ว และขอให้คิดที่จะปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงานและผลงานทางวิชาการให้ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเยาวชนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนั่นก็หมายถึงผลพลอยได้ที่จะทำให้มีโอกาสผ่านการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะต่อไป.

หมายเลขบันทึก: 290414เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ในส่วนข้าราชการครูสังกัดสพฐ. การส่งผลงาน ซึ่งอนุมัติโดย อกคศ.หรือกคศ. ก็มีข้อสงสัย คล้ายๆอย่างนี้ เช่นกันครับ
  • การประเมินแต่ละครั้ง ข้าราชการครูสังกัดกทม. มีเปอร์เซนต์ที่ผ่านสูงมั้ยครับ
  • ขอบคุณความรู้ที่มีประโยชน์ สำหรับเพื่อนครูครับ

สวัสดีครับ อ.

  • เท่าที่ผมสังเกต (เห็นส่วนตัว) ในส่วนที่รับผิดชอบอยู่ โอกาสการผ่านการประเมิน หรือโอกาสการได้ปรับปรุงผลงานมีมากขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ มากครับ
  • ป็นกำลังใจให้คุณครูทุกคน ทั้งที่สังกัด กทม. หรือสังกัดอื่น ขอให้มีความตั้งใจที่จะสอนนักเรียน และมีความจริงจังในการทำผลงาน ทำด้วยสติ มีกระบวนการคิดและวิธีการที่ถูกต้อง ผมคิดว่าคงไม่ยากเกินไปสำหรับการผ่านการประเมินแน่ ๆ ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท