กฏหมายการสมรส


บทเรียนสำเร็จรูป

             เล่มที่  5

  <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p>


บทเรียนสำเร็จรูป

วิชา  สังคมศึกษา  ส41101

สาระที่  2  หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม 

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

หน่วยที่ 3  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง

เรื่อง กฎหมายการสมรส

 

 

  

 

 

 


นางพัชรินทร์    โพธิราชา

ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ

 

 

 

โรงเรียนหนองหานวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

*******************************

การสมรส

               

                การสมรสเป็นการตกลงของชายหญิงในอันที่จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา 

การสมรสก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันเป็นครอบครัว

 ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างสามีภริยา 

บิดามารดาและบุตรซึ่งถือว่าเป็น

สถาบันที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคม

 

1.  เงื่อนไขของการสมรส

กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขในการสมรสไว้หลายกรณีดังนี้  คือ

                1.  การสมรสจะทำได้ในระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น  ชายที่แปลงเพศไม่ถือว่าเป็นหญิง

จะสมรสกันไม่ได้  และจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ  17  ปีบริบูรณ์  แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร  ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้

                เหตุที่กฎหมายต้องกำหนดเงื่อนไขในเรื่องอายุไว้  ก็เพราะกฎหมายคำนึงว่า  บุคคลควรจะมีความเป็นผู้ใหญ่มาเพียงพอที่จะรับผิดชอบต่อครอบครัวได้เสียก่อน  จึงสมควรจะสมรสได้

                2.  หากผู้เยาว์จะทำการสมรส  ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลดังต่อไปนี้เสียก่อน  คือ

                                1.  บิดาและมารดา  ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา

                                2.  บิดาหรือมารดาในกรณีที่มารดาหรือบิดาตาย  หรือถูกถอนอำนาจปกครอง  หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม  หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้

                                3.  ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม

                                4.  ผู้ปกครอง  ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม ข้อ1  ข้อ 2 

และ ข้อ  3  หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

                การให้ความยินยอมให้ทำการสมรส  ทำได้โดย

1.       ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส

2.       ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม  โดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย

และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม

3.       ถ้ามีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน

ก็ได้ความยินยอมนั้นเมื่อให้แล้วถอนไม่ได้

3.  การสมรสจะกระทำมิได้  ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต  หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ

โดยสภาพของบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถนั้น  ไม่สามารถจะรับผิดชอบต่อครอบครัวได้  กฎหมายจึงห้ามมิให้สมรส

4.  ชายหรือหญิงนั้นต้องไม่ใช่ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป  หรือลงมา  หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา

ความเป็นญาติตามเงื่อนไขในข้อนี้  ให้พิจารณาตามหลักผู้ร่วมสายเลือด  โดยไม่ต้องคำนึงว่า

จะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  ที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในข้อนี้  เพราะเป็นเหตุผลทางการแพทย์ว่า  การสมรสของบุคคลซึ่งสืบสายเลือดเดียวกันจะมีผลทำให้เด็กที่คลอดออกมามีความ

ไม่ปกติทางสมองได้ ประกอบกับเป็นการขัดต่อสามัญสำนึกและศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย

5.  ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

เหตุผลสำคัญที่กฎหมายห้ามผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมสมรสกันนั้น  เพราะเป็นการขัดต่อความรู้สึกนึกคิดในทางศีลธรรม  สังคม  ประเพณี

6.  ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่มิได้

เหตุผลที่กฎหมายห้ามไว้เพราะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี

ของประชาชน  อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บุคคลแย่งสามีหรือภริยาของผู้อื่นอีกด้วย  ทำให้ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในครอบครัวต้องร้าวฉานได้

7.  หญิงที่สามีตาย   หรือการสมรสสิ้นสุดลง  จะสมรสใหม่ไม่ได้จนกว่าความตายหรือ

การสิ้นสุดแห่งการสมรสนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า  310  วัน

เหตุผลที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในข้อนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาความยุ่งยากเกี่ยวกับเด็กที่อาจจะคลอดออกมาว่าเป็นบุตรของสามีคนใด  แต่หากรอจนพ้นระยะเวลา  310  วันไปแล้วย่อม

ไม่มีปัญหานี้แต่อย่างใด

-----------------------------------------------

 

หมายเลขบันทึก: 290307เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท