โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

ลูกเราสมาธิสั้นหรือเปล่า ? ... ครูสุภาภรณ์


เด็กซนเป็นเด็กฉลาด

ลูกเรา...

...สมาธิสั้นหรือเปล่า ?

 

 

        ที่โบราณท่านว่า เด็กซนเป็นเด็กฉลาดนั้น  อาจจริงในส่วนหนึ่ง   เพราะเด็กฉลาดมักกระตือรือร้น

ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา   แต่ถ้าซนมากไปในแบบที่ว่าชอบริเริ่มแต่ไม่สานต่อ   อย่างเล่นจิกซอว์

อยู่ดีๆ พอผีเสื้อบินผ่านหน้าก็ลุกขึ้นวิ่งตามไปโดยไม่กลับมาใส่ใจงานที่ค้างไว้อีก   อย่างนี้อาจเข้าข่ายสมาธิสั้นได้

...จะยิ่งเห็นชัดเจนเมื่อลูกขึ้นชั้นประถมที่เริ่มมีการบ้านต้องรับผิดชอบชัดเจนขึ้น

 

ลองมาเช็กดูว่า ลูกคุณมีอาการแบบนี้หรือเปล่า

กลุ่มอาการขาดสมาธิ

1. ไม่สามารถจำรายละเอียดของงานได้ จึงทำงานผิดพลาดบ่อยๆ

2. ไม่มีสมาธิกับงานหรือการเล่น

3. ไม่สนใจฟังเวลามีคนพูดด้วย

4. ไม่สามารถทำตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ

5. ทำงานไม่เป็นระเบียบ จัดลำดับความสำคัญไม่ได้

6. มักหลีกเลี่ยงการทำงานหรือเล่นในสิ่งที่ยาก และต้องใช้ความคิด

7. ทำของใช้ส่วนตัวหายบ่อยๆ

8. วอกแวกตามสิ่งกระตุ้นภายนอกง่ายๆ

9. ลืมกิจวิตรประจำวันที่ต้องทำอยู่เสมอ

 

       กลุ่มอาการซุกซน ไม่อยู่นิ่ง

1. ยุกยิก ขยับตัวหรือมือหรือขาไปมา อยู่ไม่เป็นสุข

2. นั่งอยู่กับที่ไม่ได้นาน จะต้องลุกเดินไปมาอยู่เรื่อยๆ

3. ชอบวิ่ง ปีนป่ายสิ่งต่างๆ จนเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

4. เล่นหรือทำกิจกรรมเงียบๆ ไม่ค่อยได้

5. ต้องเคลื่อนไหวตลอด ยั้งตัวเองไม่อยู่

6. พูดไม่หยุด

7. พูดโพล่งออกไปก่อนคนจะถามเสร็จ หรือชอบพูดทะลุกลางปล้อง

8. รอคอยไม่เป็น ไม่อดทนในการเข้าคิว

9. ชอบขัดจังหวะ พูดแทรกขณะที่คนอื่นกำลังคุยกันหรือแย่งเพื่อนเล่น

 

        หากลูกมีอาการในแต่ละกลุ่ม 6 อย่างขึ้นไป ติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน และเกิดขึ้นอย่างน้อย 

2 แห่ง คือที่บ้านและโรงเรียนแล้วล่ะก็ ลูกคุณอาจเป็นโรคสมาธิสั้น ควรพาไปพบแพทย์

เพื่อตรวจให้แน่ชัด

         มีเหมือนกันที่สงสัยว่าลูกจะเป็นสมาธิสั้น อย่างเช่นเล่นอะไรอยู่ได้ไม่นาน เดี๋ยวก็เปลี่ยนไปเล่นอย่างอื่น เมื่อไปพบแพทย์กลับเจอสาเหตุที่แท้จริงว่า เป็นเพราะในห้องมีของเล่นมากเกินไป พอเอาของเล่นไปเก็บบ้าง ลูกก็อยู่กับของเล่นแต่ละชิ้นได้นานขึ้น จึงได้รู้ว่าลูกไม่ได้เป็นสมาธิสั้น

 

                                              

        อย่างไรก็ตาม โรคสมาธิสั้นไม่ใช่สิ่งเลวร้าย ผลที่เกิดจากพฤติกรรมต่างหากที่เป็นปัญหา...

 

        ...เมื่ออยู่ในห้องเรียน ต้อม มักวอกแวก ไม่สนใจบทเรียน ชอบมองไปที่ประตู บ่อยครั้งที่พูดมาก หรือพูดโพล่งเวลาที่ครูสอน ก่อกวนความสงบในชั้นเรียน และไม่อยู่นิ่ง ทำให้ต้อมมีปัญหาการเรียน และทำงานไม่เสร็จทันส่งครู

 

         ...ในวันหยุด เพื่อนๆ ของดาวจะชวนกันมาเล่นกระโดดยางกัน แรกๆ ดาวก็ได้เล่นด้วย แต่เมื่ออาทิตย์ก่อนดาวโมโหที่เล่นแพ้ จึงพานไปตัดหนังยางขาด เพื่อนๆ จึงไม่ยอมให้เล่นด้วยอีกเลย

         ...เต้ย โดยครูดุบ่อยที่ไม่ยอมทำการบ้านมาส่ง เป็นตัวแถมทุกครั้งที่มีงานกลุ่ม เพราะเขาไม่มีอะไรดีซักอย่าง

 

        ทั้งต้อม ดาว และเต้ย ล้วนได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้น โดยต้อมมีปัญหาการเรียน ดาวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ และเต้ยที่จมอยู่กับความล้มเหลวของตัวเอง ซึ่งล้วนบั่นทอนความภาคภูมิใจในตัวลูกให้หมดไปทุกวัน หากไม่ได้รับการแก้ไข เขาจะอยู่ในสังคมได้ลำบาก และเติบโตอย่างไม่มีความสุข

 

        ดังนั้นพ่อแม่ คนในครอบครัวและคุณครูต้องร่วมกันแก้ไข เพื่อว่าเมื่ออาการสมาธิสั้นเริ่มลดลงตอนโตขึ้น เขาจะยังเหลือความภาคภูมิใจในวัยเด็กให้นึกถึงได้

                                                                                                             

        การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือ การรักษาทางยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม เรื่องทางยานั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหมอ ส่วนเรื่องการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และคุณครู สามารถช่วยกันได้ค่ะ

 

        เช่นเรารู้ว่าเขาไวต่อสิ่งเร้าก็ควรจัดการให้เขาอยู่ห่างสิ่งรบกวน บอกเล่าให้คุณครูเข้าใจในอาการของลูกเรา และขอความช่วยเหลือจากคุณครูด้วย อย่างเช่น ขอให้ลูกมานั่งข้างหน้าห่างจากประตูหรือหน้าต่าง ให้นั่งข้างๆ เพื่อนที่ตั้งใจเรียน

        ส่วนที่บ้าน จัดสิ่งแวดล้อมที่ไม่กระตุ้นให้เขาวอกแวก เช่น จัดบ้านให้สงบเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ให้ลูกทำการบ้านหน้าทีวี โต๊ะก็ไม่ควรมีลวดลาย หรือมีของเล่นวางอยู่ใกล้ๆ การออกคำสั่ง ต้อง

สบตาลูก อธิบายชัดเจน ให้งานทีละอย่าง ถามให้แน่ใจว่าลูกเข้าใจแล้วจริงๆ ไม่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวใส่ลูก เมื่อต้องพูดซ้ำหลายรอบ ฝึกวินัยให้ลูกอย่างง่ายๆ หลีกเลี่ยงกฎกติกาที่ซับซ้อนเกินไป กระตุ้นให้ลูกมองเห็นข้อดีในตัวเอง และสนับสนุนในสิ่งที่เขาทำได้ดี เพราะเมื่อได้ทำในสิ่งที่ชอบ เขาจะอยู่กับสิ่งนั้นได้นานขึ้น เป็นต้น ซึ่งการรักษานี้ ทุกฝ่ายต้องใจเย็นๆ แล้วผลที่ได้จะคุ้มค่าแห่งการรอคอยค่ะ

 

        นอกจากนี้ยังมีข่าวดีว่า ร้อยละ 30 ของเด็กสมาธิสั้น อาการจะหายไปเมื่อพ้นวัยรุ่น ดังนั้นรีบรักษาเร็วเท่าไหร่ โอกาสหายย่อมมีมากเท่านั้น

        ส่วนข่าวร้าย... ร้อยละ 40 พบอาการจนถึงผู้ใหญ่ จะมีในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงหุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ   ...จนอาจถึงขั้นคว้าปืนมายิงคนเพียงเพราะขับรถปาดหน้ากันอย่างในข่าวก็ได้

 

                  

 

  • ครูสุภาภรณ์ พลเจริญชัย       P 
  • ข้อมูลจาก 

    http://www.elib-online.com/doctors48/child_autistic003.html

       

    หมายเลขบันทึก: 290138เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)

    ลูกเรายังจำชื่อเพื่อนในห้องเรียน 35 คนไม่ได้หมด เพราะไม่ได้สนใจจำ และไม่รู้ว่าคุณครูที่เข้ามาสอนชื่ออะไร เพราะเป็นครูสอนพิเศษไม่ได้สอนประจำ

    อยากให้ครูทุกคนได้อ่านนะครับ เป็นความรู้ที่ใช้ในโรงเรียนได้ด้วย

    ผอ.ศักดิ์เดช

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท