ป่าไผ่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ


ไผ่ซาง...อัมตะเพลงดัง...ได้ดูต้นเสียที

         หลังจากได้ดูโรงงานทำไม้เส้นกันแล้ว ก็ให้อยากรู้นักว่าไม้ไผ่ที่ใช้ทำสารพัดผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันบ่อย ๆ ในการกินของเรามาจากไหน..

         และป่าที่เราจะไปดูก็เป็นป่านานาชาติ เป็นป่าไผ่แปลงใหญ่ที่สุดในประเทศ อาจจะหลาย ๆ ประเทศด้วยซ้ำ เพราะมีเนื้อที่ถึง 5,000 ไร่

เป็นป่าชุมชนที่ห้ามตัด แค่โขมยหน่อ ก็โดนปรับหน่อละ 5,000 โห...ชาวอีสานเห็นหน่อไผ่แล้วน้ำลายหก..แต่เห็นราคาปรับแล้ว..อดกลับไปกินที่บ้านดีกว่า..ฮิฮิ..

ไผ่ซาง..ลำใหญ่ หน่อสีแดง ใหญ่...อายุ 3 ก็แปรรูปได้ ไม้แข็ง...แต่ไม่ค่อยเหนียว..

เครือข่ายป่านานาชาติมาดูงานแปลงนี้เป็นประจำ แต่คนไทยอาจยังไม่รู้มากนัก...เป็นธรรมดาของคนไทยเนาะ..^^

ชาวบ้านจะสงวนป่าไว้ 2,800 ไร่ ที่เหลือสามารถตัดไม้ได้ตามสดวก ยกเว้นหน่อ..ห้ามเด็ดขาด..

เจอล้อ..เกวียน นึกว่าหายไปจากประเทศไทยแล้ว ต่างตื่นเต้นลงไป สร้างภาพกันใหญ่

นับดูไม้บนเกวียน วันนี้ที่จะได้ค่าเหนื่อยเกือบพัน เจ้าของนะครับ..ไม่ใช่ตัวที่เทียมเกวียน ฮิฮิ

แปลงไผ่..ป่าไผ่..อยู่เลยนาข้าวไปลิบ ๆ สุดสายตา โห ก็ ตั้ง 5,000 ไร่เนาะ

เขาไปดูใกล้ ๆ

ปล่อยเกษตรเข้าป่า..ไม่อยากกลับออกมาง่าย ๆ แล้วครับ....

เริ่มนึกถึงที่ดินที่บ้าน..นึกถึงกลุ่มเกษตรกรที่หนองคาย น่าจะได้มาดูเพื่อนำไปเป็นต้นแบบต่อบ้าง

นี่ครับ..ร่องรอยของหนอนไม้ไผ่....ผ่าดูเจอแน่ ๆ พ่อหลวงบอก   แต่ห้ามผ่า ฮิฮิ งานนี้..โลละ 400 บาท อด..

แต่นี่ไม่หวง...เห็นไผ่..เยอะมากเลย....จำได้ว่าเคยทานสมัยเด็ก ๆ

หอมมาก ๆ เก็บง่าย...

นี่ดอกอะไร จำชื่อไม่ได้แล้ว..คนเหนือช่วยหน่อยครับ...

จำได้แต่ว่า ดอกบานเป็นสีม่วง..ให้นึ่งกับข้าวเหนียวให้กลายเป็นข้าวก่ำ..ทำไมไม่ปลูกข้าวก่ำเลยละ..^^

เป็นไงครับ..อยากปลูกไผ่ซางแล้วยังเอ่ย..หรือจะตั้งโรงงานไม้เส้น ที่มีเสียงดัง ตังค์ ๆ ๆ ๆ ๆ ดี ฮิฮิ..

ภาพเยอะมาก..เอาขึ้นไม่ทัน..เวลาขึ้นก็จำกัด...แค่นี้ก่อนนะครับ..เตรียมตัวไปชะโงกดูงานวันที่ 3  ต่อ..(ที่เล่ามานี่แค่วันแรกนะครับ..)

หมายเลขบันทึก: 289240เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

กอไผ่มาแย้วววววววววววววววววววววววววว

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อย ตั้งใจ มาชม ป่าไผ่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แล้ว ร้อง อ๋อ !!!! แล้วค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ว้าว พี่ชายจ๋า วิวป่าไผ่ ได้ใจมากๆค่ะ สวรรค์บนดินแต้ๆ เลยนาย

เห็นป้ายมิแปลกใจ เมื่อคืนอ่านเรื่องแล้วสงสัยว่า โหตั้งห้าพันไร่ การจัดการจะเป็นอย่างไรหนอ ที่แท้ก็ FAO องค์กรระดับโลกของยูเอ็นสนับสนุนนี่เอง

เดินทางปลอดภัย ชะโงกงานสุขใจ น้องจะรอชม ขอบคุณค่ะ

 

 

  • กอไผ่มาแล้วเหรอ..
  • นึกว่าเป็นกอตะกู อิอิ..
  • ดีใจจังน้องกอมาแล้ว..เมื่อวานปวดตับมาก ทั้งท้องฟ้าแจ่ม ๆ ทั้งดอยหลวงเชียงดาว  อันดับสามของประเทศ แหลงประลองกำลังของชายหนุ่ม..
  • ตามมา ๆ บันทึกต่อไป
  • น้องปูตื่นเช้าด้วย ^^
  • แถมจะทำพี่ชายตกรถ..ฮิอิ
  • แต่อยากตอบนะ..ให้เพื่อน ๆ คอยหน่อยก็ได้เนาะ..
  • เดียวตามดูดอบหลวงเชียงดาวนะจ๊ะ สุด ๆ
  • ตั้งใจมาชมกอไผ่ค่ะ ชอบดูมาก เวลามองดูกอไผ่ นึกถึงความสามัคคีค่ะ
  • ที่สำคัญ ชอบทานหน่อไม้นึ่งกับน้ำพริกแจ่วค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ

น่าสนใจนะคะปลูกป่าไผ่

ให้เกษตรเข้าป่าชะโงกดูงาน

เดินทางปลอดภัยนะคะ

ที่เคยพบเห็นบ่อยๆ ไผ่ตง  ไผ่เหลือง ไผ่ซางไม่ค่อยพบ แต่เคยได้ยินบ่อยๆ  ขอบพระคุณ โชคดีครับ

ดิฉันคงอยู่ใกล้แถวนี้ไม่ได้หรอกค่ะ..หน่อไม้สูญพัน์หมด..ต้องถูกปรับแน่ๆ

บรรยากาศธรรมชาติๆ สวย สดชื่น ชอบมากๆๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับบ ท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด

ไผ่จากที่นี่ส่งไปทำค่ายผู้อพยพที่ สบเมย และแม่สะเรียง ปีละหลายแสนเล่ม ไม่แน่ใจว่าจะสมบูรณ์เหมือนที่ท่านว่าไปอีกกี่ปี....น่าเสียดายจริงหากหายไป

P Sila Phu-Chaya
  • ตั้งใจมาชมกอไผ่ค่ะ ชอบดูมาก เวลามองดูกอไผ่ นึกถึงความสามัคคีค่ะ
  • ที่สำคัญ ชอบทานหน่อไม้นึ่งกับน้ำพริกแจ่วค่ะ
  • ขอบพระคุณมากค่ะ
  • เข้าใจมองนะครับ..กอไผ่..สามัคคี..ถ้าขึ้นลำเดียวโด่เด่..คงล้มฟาดดินนานแล้วนะครับ..^^
P ครูอ้อย แซ่เฮ

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อย ตั้งใจ มาชม ป่าไผ่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แล้ว ร้อง อ๋อ !!!! แล้วค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • ฮิฮิ..พี่ครูอ้อยมาตั้งนาน..ลืมเห็น..ขออภัย..ร้องอ๋อ..แปลว่าไรครับ

P ประกาย~natachoei ที่~natadee
น่าสนใจนะคะปลูกป่าไผ่

ให้เกษตรเข้าป่าชะโงกดูงาน

เดินทางปลอดภัยนะคะ

  • นั่นนะสิครับ..ถ้าไม่กลัวคนตัดหน่อ..น่าปลูกครับ..น่าสน ๆ
  • ขอบคุณครับที่เป็นห่วง
P นายประจักษ์~natadee
ที่เคยพบเห็นบ่อยๆ ไผ่ตง  ไผ่เหลือง ไผ่ซางไม่ค่อยพบ แต่เคยได้ยินบ่อยๆ  ขอบพระคุณ โชคดีครับ

โอ้..ป่าซาง..ดินแดนความหลัง..ฮิฮิ..เกิดไม่ทัน..จำได้แค่นี้ครับ..555

ดิฉันคงอยู่ใกล้แถวนี้ไม่ได้หรอกค่ะ..หน่อไม้สูญพัน์หมด..ต้องถูกปรับแน่ๆ

บรรยากาศธรรมชาติๆ สวย สดชื่น ชอบมากๆๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • 555 เหมือนกันเลยครับ...
  • ยังพูดกันเลยว่าวัฒนธรรมการกินที่แตกต่าง ทำให้การจัดการป่าแตกต่างกันไปด้วย...
  • อยากให้มีป่าไผ่ที่อีสาน แต่ต้องต้านกระแสการกินหน่อ..
  • สงสัยต้องปลูกให้เขากินหน่อฟรีสักแปลง..อีกแปลงไม่ให้กิน..^^

สวัสดีครับบ ท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด

ไผ่จากที่นี่ส่งไปทำค่ายผู้อพยพที่ สบเมย และแม่สะเรียง ปีละหลายแสนเล่ม ไม่แน่ใจว่าจะสมบูรณ์เหมือนที่ท่านว่าไปอีกกี่ปี....น่าเสียดายจริงหากหายไป

  • สวัสดีครับท่านเจษฏา
  • ประเด็นนี้ละครับที่ทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาพิทักป่าของเขาเอง...จนเกิดป่าอนุรักษ์ 2,800 ไร่ และป่าที่ตัดลำโตได้ แต่กินหน่อไม่ได้ รวมกว่า 5,000 ไร่ ปัจจุบันมีป่าไผ่ปลูกอีกครับ...คงจะอยู่ตัวแล้วครับ...
  • นายทุนจากที่อื่นมาชื้อล้างกอ..คงลำบากแล้วครับ..
  • ขอบคุณครับ

ชอบเรื่องไผ่อยู่เหมือนกัน

นายภูวศิลป์ ปู่ดำ

อยากทราบว่าป่าไผ่นี้อยู่ที่ไหนครับผม รบกวนสอบถามหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท