rattikarn


บัณฑิตอาสาสมัคร

สวัสดีค่ะ วันนี้รู้สึกดีใจมากเลยนะค่ะ ที่ได้เขียนบล็อกอีกครั้งหลังจากที่ไม่ได้เขียน ไม่ได้เปิดดูซะนาน คิดว่าวันนี้เปิดดูแล้วน่าจะเขียนอะไรสักหน่อย ก็ได้มีโอกาสอ่านเรื่องจิตอาสาที่ไม่เป็นทางการ  อ่านแล้วรู้สึกว่าในสังคมของเรายังมีคนดีที่มีน้ำใจกันอยู่

จิตอาสา  คือ จิตที่กว้างใหญ่มุ่งหมายเข้าช่วยเหลือผู้อื่น

อาสาสมัคร คือ การเลือกกระทำสิ่งต่างๆที่เห็นว่าควรกระทำและเป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ไม่หวังผลตอบแทน และไม่ใช่ภาระที่ต้แงการทำหน้าที่

ท่านเคยได้ยินสำนักบัณฑิตอาสาสมัครไหม???

 

หรือ  ประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร)
ป.บัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร)

บัณฑิตอาสาสมัครเป็นหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เวลาเรียน 1 ปี การเรียนแบ่งเป็น เรียนในห้องเรียน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ปฎิบัติงานภาคสนาม เป็นเวลา 7 เดือน โดย 1 คน 1 หมู่บ้านเพื่อเป็นลูกเป็นหลาน ทำงานตามภาระงานที่ตนได้รับมอบหมาย เช่น ทำงานเป็นครูอาสา ทำงานร่วมกับสอนามัย  ทำงานร่วมกับองค์กรเอกชน  ศึกษาชุมชน และนำข้อมูลเหล่านั้นกลับมาเขียนสารนิพนธ์อีก 2 เดือน เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์กับหมู่บ้าน   เพื่อการเรียนรู้สังคมจากสภาพความเป็นจริงและเพื่อเป็นฐานในการศึกษา วิเคราะห์ และทำความเข้าใจสังคมชนบทไทย ศึกษาแนวคิดการพัฒนาชนบท รวมตลอดถึงการเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ชุมชน และฝึกปฏิบัติงานในชุมชน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) ให้เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและวิธีการศึกษาและการพัฒนา โดยเน้นชุมชนชนบท และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ตลอดจนมีความสามารถที่จะทำงานประสานร่วมกับชาวบ้านและหน่วยงานพัฒนาต่างๆ

  2. ส่งเสริมให้บัณฑิตอาสาสมัคร เป็นผู้มีความหนักแน่น อดทน รู้จักเสียสละ มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความคิดริเริ่มที่จะบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์

ระยะเวลาศึกษา

            ตลอดหลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ไม่เกิน 3 ภาคการศึกษาปกติ ต่อเนื่องกัน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร

คุณสมบัติผู้สำเร็จการศึกษา

  1. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์และชีวิตความเป็นอยู่ในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นชนบทไทย

  2. มีความสามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตอยู่ในส่วนภูมิภาคและชนบทไทย

  3. มีความสามารถในการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน

  4. มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ที่มีโครงการ ด้านงานพัฒนา

  5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่นทุกระดับ

  6. มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในการทำงานด้านการพัฒนา และงานเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม

โครงสร้างหลักสูตร

การศึกษางานรายวิชา (14 หน่วยกิต)

การปฏิบัติงานภาคสนาม (8 หน่วยกิต)

บอ.510 จิตวิทยาสังคม
บอ.511 การศึกษาวิจัยทางสังคม
บอ.512 เทคนิคการทำงานในชนบท
บอ.520 ความรู้ว่าด้วยสังคมไทย
บอ.521 การพัฒนาชนบทไทย

บอ.530 การปฏิบัติงานสนาม

สารนิพนธ์ (6 หน่วยกิต)

บอ.540 สารนิพนธ์

อาจารย์ผู้สอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัสวดี หุ่นพยนต์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศุภรัตน์ รัตนมุขย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์
อาจารย์ ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์
อาจารย์ประเสริฐ แรงกล้า

 

http://www.gvc.tu.ac.th/th/graduate_diploma_program.htm

อยากให้ลองเข้าไปดูนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 289208เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2009 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท