โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ)
โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ) เทศบาลนครนคราชสีมา

ทำอย่างไร ... ห่างไกล สมองเสื่อม ♥♥♥ ครูเกษร


การทำงานของสมอง มีความสลับซับซ้อนและสมบูรณ์แบบ ยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์

♥ ทำอย่างไร ...

ห่างไกล สมองเสื่อม

 

     สมอง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญยิ่งของเรา ว่ากันว่าการทำงานของสมองนั้น  มีความสลับซับซ้อนและสมบูรณ์แบบยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์เสียอีก และหน้าที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง  ก็คือ  การบันทึกความจำ 

   ความจำ   เริ่มต้นด้วยกระบวนการ ที่สมองรับรู้ข้อมูลจากสิ่งเร้าทั้งหลาย   และกลั่นกรองส่วนสำคัญ   เพื่อเก็บบันทึกในสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง  และสามารถดึงเอาสิ่งที่บันทึกไว้   ออกมาใช้ได้เมื่อต้องการ   

ซึ่งความทรงจำแบ่งได้เป็น   3 ประเภท คือ

 

 

1.      ความจำทันที  (immediate memory)   หมายถึง  ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า  โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ  ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที

 

2.      ความจำระยะสั้น (short-term memory)  หมายถึง  ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที

         และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน

 

3.      ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึง  ความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจาก

        ความจำระยะสั้น  มาเป็นความจำระยะยาว   ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้

 

 

          เมื่ออายุมากขึ้น  สมองก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น   เช่น  อาการหลงลืมเป็นครั้งคราว  ซึ่งเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า   กระบวนการความจำในร่างกายมนุษย์ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้นเรื่อย ๆ   แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ   ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง

          อย่างไรก็ตาม  
ความเครียด  ถือได้ว่าเป็นศัตรูร้ายของอาการหลงลืมเช่นกัน  เพราะยิ่งเครียดมากเท่าไหร่   อาการหลงลืมก็จะทวีคูณขึ้นเท่านั้น   ส่วนภาวะสมองเสื่อมนั้น ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งไม่ใช่ภาวะปกติของ    ผู้สูงอายุ     ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักมีอาการหลงลืม  นึกคำพูดไม่ออก หลงทาง  และบุคลิกภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิม จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนเดิม  ซี่งสาเหตุหลักของโรคสมองเสื่อมก็คือ   โรคอัลไซเมอร์ และโรคหลอดเลือดสมอง 

 

                                                 

 

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายสมองเสื่อม .....ต้องระวังค่ะ !

 

 

1.      งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด

2.      ระวังเรื่องการใช้ยา ไม่ควรรับประทานยาสุ่มสี่สุ่มห้า ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาทุกครั้ง และควรนำยาที่ท่านรับประทานเป็นประจำ ไปให้แพทย์ดูด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาซ้ำซ้อน

3.      ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนศีรษะ

4.      สำหรับผู้สูงอายุที่เดินลำบากควรมีคนดูแล เช่น เวลาเข้าห้องน้ำควรมีคนไปเป็นเพื่อน  เพราะอาจเกิดการหกล้มในห้องน้ำได้

5.      เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ  ควรหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี  และไม่ควรลืมเจาะเลือด  เพื่อตรวจหาเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง

6.      หมั่นไปตรวจความดันเลือดสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด หากพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง ก็ต้องปฏิบัติตนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพราะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อมได้

7.      หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ จะต้องระมัดระวังไม่ให้หักโหมจนเกินไป  เพราะแทนที่จะเกิดประโยชน์อาจทำให้เกิดโทษได้

8.      หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียด   เช่น   อ่านหนังสือ ฟังเพลง           ดูโทรทัศน์    หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามสมควร

9.      เมื่อสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการหลงๆ ลืมๆ มากผิดปกติ หรือมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่น่าสงสัยก็ควรรีบไปพบประสาทแพทย์   หรือแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุทันที

 

เทคนิคและวิธีพัฒนาความจำ

  1. พยายามตั้งสมาธิเมื่อปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
  2. พยายามนึกสร้างภาพในใจเมื่อต้องจดจำสิ่งหนึ่งสิ่งใด และถ้าภาพประทับใจ ก็ยิ่งทำให้จดจำ

         ได้ง่ายขึ้น

     3.  เลือกจำเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

     4.  ควรมีสมุดบันทึกพกติดตัวตลอดเวลา   เพื่อใช้จดข้อมูลต่าง ๆ กันลืม

     5.  พยายามจัดหมวดหมู่สิ่งของไว้เป็นพวก ๆ   เก็บเป็นที่เป็นทาง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน

          และไม่สับสน

     6.  ทำทุกเรื่องด้วยสติ  และรอบคอบ   ถ้าไม่แน่ใจก็ตรวจทานอีกครั้ง  เพื่อป้องกันความผิดพลาด

     7.  พยายามลดความตึงเครียด  เช่น  หางานอดิเรกทำในยามว่าง, ออกกำลังกายนั่งสมาธิ เป็นต้น

                                                      

           สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมเป็นประจำ  ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนเกินไป  เพราะอาการหลงลืมเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ  และท่านอาจไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมก็ได้  ส่วนผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อม  หรือสงสัยว่ากำลังจะมีอาการ  ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุด   เพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที

                                                                ......ครูเกษร  จิตรสุข

                                          

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.yourhealthyguide.com/article/ao-alzheimer-prevent-2.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 289157เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

   เป็นความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ ดิฉันเองก็ขี้หลงขี้ลืมเ

ป็นประจำ  กลัว ๆ อยู่

ก็กลัวเหมืนกันคะ เรื่องความจำเสื่อม  แต่ก่อนที่จะเสื่อม กลัวหลงลืมมาก่อนคะ ไม่รู้จะเป็นอย่างไร เมื่อถึงตอนนั้น

สำหรับดิฉันคิดว่าการ หัดคิด เป็นการฝึกสมอง สมองจะได้ไม่เสื่อมเร็ว ก็ไม่รู้ว่าความคิดนี้  คิดถูกต้องหรือเปล่าคะ

ขอบคุณความรู้ ที่สรรหามาให้รู้คะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท