R2R..แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียน


ในที่สุดก็ทำสำเร็จ

จากบันทึก R2R..ทำไม่ยากอย่างที่คิด เราได้รับทุน R2R จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

วันนี้พวกเรามาร่วมสรุปบทเรียนจากการทำวิจัย

 1.   โครงการลดอุบัติการณ์การบริหารยาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด

ลักษณะของผลงาน 

เป็นงานประจำ พัฒนาให้เป็นงานวิจัย (R2R) โดยเริ่ม วิเคราะห์อุบัติการณ์การบริหารยาที่เกิดในหอผู้ป่วย พบว่าส่วนใหญ่เกิดจาก ไม่มีการตรวจสอบซ้ำทุกขั้นตอน การระบุชื่อยาไม่ชัดเจน  ทีมวิจัยจึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหอผู้ป่วย  โดยการทบทวนความรู้และแนวทางการเตรียมยาตามมาตรฐานของงานบริการพยาบาลให้แก่พยาบาลทุกคน  จัดทำแนวทางการบริหารยาและจัดทำสติกเกอร์สำหรับติดกระบอกยาและขวดยาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการให้ยาและหลักการใช้สติกเกอร์ยา และดำเนินการตามแผน และมีการติดตามประเมินผลลัพธ์

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 

ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคน รวมทั้งบุคลากรในหอผู้ป่วย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำ เพื่อทำเป็นงานวิจัย ทีมวิจัยมีความมุ่งมั่นในการทำงานและมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ประเภท 3 R2R จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นประจำปี 2551  ทำให้ทีมงานมีความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ผู้บริหารคอยดูแลให้กำลังใจ ให้คำแนะนำและช่วยแก้ปัญหาในทุกกระบวนการทำงาน

ผลสัมฤทธิ์  : งานเห็นผล คนเป็นสุข  ผลลัพธ์ในการดำเนินการ พยาบาลสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการให้ยาในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด ร้อยละ  96.30 และจากการติดตามอุบัติการณ์การให้ยา พบร้อยละ 0.081 อยู่ในระดับ Near missในระดับB (เตรียมยาผิดขนาดแต่สามารถตรวจสอบได้ก่อนจะให้ผู้ป่วย)  นอกจากนี้ ยังได้นวัตกรรม คือ จัดพิมพ์สติกเกอร์ยาที่ใช้บ่อยและได้มาตรฐานตาม ASTM( The American Society for Testing and Materials)  มาใช้ในหอผู้ป่วย สามารถลดเวลาในการคัดลอกคำสั่งของแพทย์ ได้  จากเดิมใช้เวลารับคำสั่งแพทย์ Caseละ 30 นาที  เหลือCase ละ  15  นาที  ทำให้พยาบาลมีเวลาในการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง (Bed side nursing care)  และให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ได้มากขึ้น ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจที่ได้รับความสนใจและเอาใจใส่มากขึ้น  บุคลากรก็มีความสุขในการทำงานเพราะทำให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ไม่มีอุบัติการณ์ที่เป็นอันตรายของการให้ยา สามารถตรวจสอบได้ง่าย ทำให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอีกด้วย

 

ความภาคภูมิใจ  ทีมวิจัยรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถทำงานประจำที่เราทำทุกวันให้เป็นงานวิจัยได้ ทำให้ผลงานของเราส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม และทำให้พวกเราทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

..................

 

2. โครงการลดอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด

กำลังสรุปผล

 

จัดทำป้าย 3 แบบ

  • เสี่ยงน้อย สีเขียว
  • เสี่ยงปานกลาง สีเหลือง
  • เสี่ยงมาก สีแดง

ปรับแบบประเมินใหม่ อีกครั้ง เพื่อให้ประเมินได้ตรงมากขึ้น

 

หลังจากนั้นพวกเราถ่ายภาพ กับโลห์ที่ได้รางวัล CoP_IV Chemotherapy ก่อนจะฉลองด้วยการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 289133เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชื่นชมเป็นกำลังใจในความสำเร็จ ม่อนมาขอบพระคุณในความปรารถนาดีที่มอบให้ และนำความเป็นสิริมงคลมาฝากจากวัดแค ครับ โชคดี

นายประจักษ์~natadee

ขอบพระคุณนะคะ จะนำไปบอกน้องๆที่ทำงาน จะได้มีพลังสร้างสรรค์งานต่อไปค่ะ

โครงการ UM

สรุปผลส่งมี One stop service,

I/O,

การคืนยาลดค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000บาทต่อปี

น้องพัชรี นำเสนอสรุปผล UM ด้วย เรื่อง การลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการบันทึกน้ำเข้า น้ำออกของผู้ป่วย (Intake-Output)

ขอชื่นชมด้วยคนนะคะ

ขอให้กำลังใจคนทำงานหนักอย่างพวกเรา

แล้วยังรังสรรสิ่งดีๆ

เสน่ของการทำงานคุณภาพคือความภาคภูมิใจ

พี่แก้วว่ามั๊ยคะ

ชื่นชมในความสำเร็จ และความตั้งใจถึงงานจะหนักแต่ก็ไม่ทิ้งการพัฒนาจนเป็นประโยชน์

 คุณนาง...มณีวรรณ

น้องๆและพี่พี่ช่วยกันทำงาน เพื่อผู้ป่วยและองค์กร ทำให้ผลัพธ์ที่ได้ คือ ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการค่ะ

  • เห็นดีด้วยครับพี่แก้ว
  • ที่ทีมพี่แก้วทำวิจัย R2R
  • ขอแสดงความยินดีกับทุน R2R ของมหาวิทยาลัยด้วยครับ

ดร ขจิต ฝอยทอง

น้องๆทุกคนช่วยกัน ทำให้ทุกคนมีความสุข และทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยอีกด้วยค่ะ

ชื่อผลงาน    โครงการลดอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด

เจ้าของผลงาน  นางสาวพัชรี ประสมพืช* นางสาวณัฏฐ์ชญา ไชยวงษ์  นางสาวณัฐยา จันสมคอย       สังกัดหน่วยงาน หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5 จ   งานบริการพยาบาล   คณะแพทยศาสตร์  โทร 043363468-9 email [email protected]

ประเภทผลงาน

¨ ผลงานด้านเทคโนโลยี (IT)  และการบริหารจัดการ                ¨ ผลงานด้านบริหารจัดการองค์การที่ดี

¨ ผลงานด้านบริการนักศึกษาและการจัดการเรียนการสอน       / ¨ ผลงานด้านการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

¨ ผลงานด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนานวัตกรรม       ¨ ผลงานด้านอื่นๆ โปรดระบุ........................................                                       

ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน

การให้ยาเคมีบำบัด ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะอ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังได้รับยานอนหลับและสารน้ำ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม สถิติในปี พ.ศ.  2551 เกิดอุบัติการณ์ จำนวน 6 ครั้ง และในเดือนมกราคม - พฤษภาคม พ.ศ.  2552   เกิดอุบัติการณ์ จำนวน 3 ครั้ง ดังนั้นหอผู้ป่วยจึงได้จัดทำโครงการพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย (Routine to Research) เพื่อหาแนวทางลดอุบัติการณ์ในการพลัดตกหกล้มดังกล่าว

 

ลักษณะของผลงาน 

เป็นงานประจำ พัฒนาให้เป็นงานวิจัย (R2R) โดยเริ่มวิเคราะห์อุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มที่เกิดกับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ  เมื่อได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำมากขึ้นและได้รับยานอนหลับก่อนนอน หรือทุก 12 ชั่วโมงตามแผนการรักษา ทำให้มีอาการง่วงซึม มึนงง ขณะเดียวกันผู้ป่วยจะต้องเข้าห้องน้ำบ่อย พยาบาลแนะนำให้ปัสสาวะที่เตียง โดยเจ้าหน้าที่หรือญาติจะช่วยดูแล แต่ผู้ป่วยส่วนมากต้องการเข้าห้องน้ำเอง  ระหว่างลงจากเตียงจะมีอาการหน้ามืด ทำให้พลัดตกหกล้มได้ง่าย ทีมวิจัยจึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหอผู้ป่วย  โดยการทบทวนความรู้และแนวทางการพลัดตกหกล้มให้แก่พยาบาลทุกคน  จัดทำแบบประเมินการพลัดตกหกล้ม พัฒนาแนวทางการป้องกันพลัดตกหกล้มและจัดทำป้ายแขวนป้องกันพลัดตกหกล้มสำหรับแขวนปลายเตียง  และป้ายขนาดเล็กสำหรับติดที่แฟ้มที่ใช้สังเกตอาการผู้ป่วย เพื่อสื่อสารให้พยาบาลเฝ้าระวัง   ทีมผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มและการใช้ป้ายเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และช่วยเหลือกิจกรรมผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยต้องการเข้าห้องน้ำ จะเน้นให้เจ้าหน้าที่หรือญาติพาเดินหรือเข็นโดยรถเข็นไปห้องน้ำและให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  ดำเนินการตามแผน และมีการติดตามประเมินผลลัพธ์

 

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 

ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยทุกคน รวมทั้งบุคลากรในหอผู้ป่วย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำ เพื่อทำเป็นงานวิจัย ทีมวิจัยมีความมุ่งมั่นในการทำงานและมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย ประเภท 3 R2R จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นประจำปี 2551  ทำให้ทีมงานมีความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ผู้บริหารคอยดูแลให้กำลังใจ ให้คำแนะนำและร่วมกันแก้ปัญหาในทุกกระบวนการทำงาน

 

ผลสัมฤทธิ์  :

ผลลัพธ์ในการดำเนินการ จากการประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดพบว่า มีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงพลัดตกหกล้มระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ร้อยละ 15.73, 32.58 , 50.56 ตามลำดับ พยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ ร้อยละ 89.77 และหลังนำแนวปฏิบัติการพยาบาลมาใช้  พบว่า อุบัติการณ์การเกิดพลัดตกหกล้ม พบร้อยละ 1.14 (จำนวน 1 คน)  หลังเกิดอุบัติการณ์ ทีมวิจัยได้มาวิเคราะห์ปัญหาเนื่องจาก ผู้ป่วยต้องรักษาในโรงพยาบาลนานและมีปัญหาเม็ดเลือดต่ำ ทำให้เหนื่อยอ่อนเพลีย พยาบาลแนะนำให้พักบนเตียงและช่วยทำกิจกรรมให้บนเตียง แต่ผู้ป่วยต้องการเดินออกกำลังกายและคิดว่าตนเองทำได้ จึงเกิดหน้ามืดเป็นลมระหว่างเดิน ทีมวิจัยจึงมาร่วมหาแนวทางแก้ไขร่วมกันโดย  วิธีการให้ข้อมูลต้องเน้นถึงกิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำได้และบุคลากรจะต้องคอยดูแลให้ความช่วยเหลือการทำกิจกรรม ทีมวิจัยได้วิเคราะห์แบบประเมินผู้ป่วยใหม่เพื่อให้สามารถประเมินได้อย่างครอบคลุมและจัดทำป้าย 3 แบบ ซึ่งเป็นนวัตกรรม คือ  ป้ายระมัดระวังพลัดตกหกล้ม สำหรับแขวนไว้ที่    หัวเตียงของผู้ป่วยทุกเตียงซึ่งแยกระดับตามความเสี่ยง คือ ระดับความเสี่ยงน้อย ระดับความเสี่ยงปานกลาง ระดับความเสี่ยงมาก เป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง ตามลำดับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รวมทั้งญาติและตัวผู้ป่วยเองตระหนักถึงการระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ 

 

ความภาคภูมิใจ 

ทีมวิจัยรู้สึกภาคภูมิใจที่สามารถทำงานประจำที่เราทำทุกวันให้เป็นงานวิจัยได้ บุคลากรร่วมมือร่วมใจในการทำงาน  ทำให้ผลงานของเราส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ และทำให้พวกเราทำงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท