ทำอะไร จึงเพิ่ม-ลด CO2 ได้เท่าไร


เพิ่ม-ลด CO2 ไปเท่าไร

        ผมสนใจเรื่องการลดโลกร้อน  เคยอ่านวารสารบนเครื่องบิน(ชื่ออะไรแล้ว? จำไม่ได้)  มีครอบครัวหนึ่งเขาตั้งเป้าว่าจะช่วยลดโลกร้อน โดยการพยายามลดการปล่อยก๊าซ CO2 เขาจึงพยายามเปลี่ยนวิถีชีวิตจากปกติให้มีส่วนในการ ลดการปล่อย CO2 หรือลดการใช้พลังงานที่เป็นผลผลิตจาก  COหรือการปลูกต้นไม้เป็นการการทำลาย CO2 เป็นต้น  เคยอ่านพบว่าแต่ละกิจกรรมสามารถหยุดการเพิ่ม CO2 ได้เท่าไร    ผมอยากหาข้อมูลว่าแต่ละพฤติกรรมของมนุษย์ สามารถลดการเพิ่มของ CO2 หรือการทำลาย CO2 ได้เท่าไร  เช่น

     1) การขับรถใช้น้ำมันดีเซล 1 ลิตร  สร้าง  CO2 ขึ้นบนโลกไปเท่าไร

     2) การใช้ไฟฟ้า 1 ยูนิต  สร้าง  CO2 ขึ้นบนโลกไปเท่าไร

     3) การเผาขยะ-ใบไม้เศษไม้  สร้าง  CO2 ขึ้นบนโลกไปเท่าไร

     4) การปลูกต้นไม้  ช่วยทำลาย  CO2 ออกจากบรรยากาศไปเท่าไร

     5) การใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ถุงพลาสติค  ส่งเสริมการสร้าง  CO2 ขึ้นบนโลกไปเท่าไร

ใครมีข้อมูลเหล่านี้ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 289087เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ไปค้นหามาจากงานวิจัยของ “อารักษ์ จันทุมา” นักวิชาการศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง ซึ่งทำไว้เมื่อปี 2546 ช่วยชี้ให้เห็นว่า ยางพาราพันธุ์ RIM600 ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะใน “โครงการยางล้านไร่” มีความสามารถกักเก็บสารคาร์บอนปริมาณสารคาร์บอนได้ 8.32, 11.46, 15.44, และ 22.39 เมตริกตันต่อไร่ เมื่อต้นยางอายุ 9 ปี 12 ปี 18 ปี และ25 ปีตามลำดับ ที่มา : http://www.pandintong.com/ViewContent.php?ContentID=4243

วันที่ 5 มกราคม เข้าไปค้นหาจนเจอครับ เขาเรียก cabon footprint เป็นเว็บไซต์ที่คำนวณการใช้คาร์บอนของแต่ละคน สามารถคำนวณเป็นองค์กรได้ รู้สึกทำเป็นธุกิจด้วย แต่ผมสมัครสมาชิกใช้ฟรี เพื่อต้องการรู้ว่าในวิถีชีวิตประจำวันสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ไปเท่าไร หากจะลด ต้องลดกิจกรรมอะไรบ้าง มีการให้ตั้งเป้าหมายด้วยครับ นี่เป็น footprint ของผมครับ

กำลังทำรายงานเรื่องพลังงานใหม่กับอุสาหกรรมขนส่ง โดยต้องเปรียบเทียบและวัดค่าCo2 emission ได้

แล้วตกลงเจอวิธีการคำนวณไหมครับ ผมก็กำลังหาอยู่เหมือนกัลล์ ที่เว็บไซต์ด้านบนเขาไม่ได้บอกวิธีการคำนวณครับ(Proces) แต่ให้ป้อน Input เมื่อเสร็จก็จะได้ Output เป็นรอยเท้าโตๆ อย่างที่เห็น ซึ่งหมายความว่าผมทำให้เกิดคาร์บอนมากกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั้งประเทศไงครับ

ทำไงดีครับ ปริมาณการใช้ CO2 ของผมยังสูงอยู่ครับ  ลดไม่ลงเลย มีกิจกรรมที่ทำให้เกิด CO2 สูงอยู่ 2 กิจกรรม คือวิถีชีวิตประจำวันทั่วๆไป

ปัญหาปริมาณคาร์บอนที่ยังสูงอยู่เกิดจากการโดยสารเครื่องบิน  ลองดูข้อมูลจากภาพล่างนี้ครับ ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาผมเดินทาง 2 ทริบ เอง  ไปเกาหลีเมือเดือน มี.ค. และไปอุบลเมื่อเดือน กพ. 53 ใช้คาร์บอนไปตั้งเยอะ

กับอีกอย่างการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดคาร์บอนสูงพอๆกัน  ดูจากภาพล่างครับ ใช้คาร์บอนไปตั้ง 1.45 ตัน ครับ

ทำให้การใช้คาร์บอนของผมรวม 3.78 ตัน ในเวลานี้ หากคำนวณต่อปีจะเท่ากับ 9.23 ตันต่อปี ซึ่งค่าเฉลี่ยของประเทศไทย ซึ่งอยู่ที่ 4.28 ตันต่อปี สูงกว่าประมาณ 2 เท่าเศษ

      สรุปได้ว่า ต้องงดการโดยสารเครื่องบินและเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่อีกเยอะ

 

  • Your footprint is 3.78 metric tons, which equates to 9.23 metric tons per year
  • The average footprint for people in Thailand is 4.28 metric tons
  • พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท