41.เติมเต็มความรู้ ฝึกฝนทักษะ เพื่องาน Bereavement care (ตอนจบ)


เรียนรู้หลักกล่าวให้คำปรึกษา

เรียนรู้หลักกล่าวให้คำปรึกษา คือบทเรียนรู้ที่จะได้เรียนรู้ในบทต่อไป grief counseling คือ การให้คำปรึกษาเเด่ผู้สูญเสีย เมื่อมีการสูญเสีย ความเศร้าก็ย่อมตามมา ก่อนหน้านี้วิถีปกติคือ มีวิถีของเรา มีความสัมพันธ์กับคนนั้นสิ่งนั้น มีคุณค่าของเราอยู่ในนั้น มีความสุข ความสงบระดับหนึ่ง เเต่เมื่อสูญเสียเเละไม่มีเขาเป็นอย่างไร ใจหาย เสียใจ ฉันเองก็ไม่เหมือนเดิม เกิดเป็นบาดเเผลขึ้นมาที่เรียกว่าบาดเเผลเเห่งความพลัดพราก เวลาผ่านไปจะสามารถเยียวยาบาดเเผลนี้ได้ เเต่กว่าที่เราจะยอมรับได้ เราต้องผ่านความเจ็บปวด ความเศร้า ความรู้สึกเเย่ รู้สึกผิด เเต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะยอมรับ เข้าใจ ปล่อยวาง

       ทีมสุขภาพมีหน้าที่อยู่เป็นเพื่อนตลอดเส้นทาง ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้ ช่วยให้เขาสัมผัสประสบการณ์ทั้งด้านบวกเเละด้านลบ

        ถ้าเเผลไม่หายประเมินว่าเกิดจากอะไร

        -  ยอมรับไม่ได้

       - คุณค่าความหมายของคนที่สูญเสีย

       - คาใจไม่ได้ขอโทษ

เป้าหมายสำคัญที่สุดคือให้เขายอมรับ เราจะ aproach อย่างไร ทำอย่างไรที่จะได้ยินจากปากผู้สูญเสียว่า "ฉันเยี่ยมมากที่ผ่านไปได้ "ทำให้เขาได้ทำสิ่งใหม่ที่ดี เชื่อมโยงกับชีวิต คือการกลับมาใช้ชีวิตในวิถีที่ปกติโดยปราศจากผู้ตาย

             1. พยาบาล เดินไปด้วยกัน ไปตามจังหวะของเขา ไม่เร่ง ไปดึง เป็นเพื่อรร่วมทางช่วยชี้นำ

เพราะเรารู้เส้นทางที่จะไป

             2. เวลาพูดคุยกับเขา น้ำเสียงไม่กระโชกโฮกฮาก สีหน้าเป็นมิตร ถ้านั่งไกล้ควรโน้มตัว  ภาษากายที่นุ่มนวล

             3. สร้างสัมพันธภาพ รู้จักเขา รู้จักเรา จริงใจ นิ่ง

             4. สำรวจผลกระทบที่เกิดจากการสูญเสีย ทำให้เขารู้สึกอะไรบ้าง เขาก็จะเข้าไปพบมัน ลองสำรวจทั้งด้านบวกเเละด้านลบ

                   - เขามีความหวังอะไร

                   - มีประเด็นอะไรที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเเปลง

                   - ช่วยเขาในการเชื่อมโยงกับคนที่จากไป เช่น เล่าความทรงจำที่ดีที่

มีต่อผู้จากไป

                   - ดูว่ามีเรื่องค้างคาใจอะไร อยากทำให้ผู้ตายเเล้วไม่ได้ทำมีมั๊ย ความโกรธ ความเกลียด  ควรจะช่วยจัดการให้หายไปในอากาศ

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ฉันได้เก็บเกี่ยวจากการเข้า workshop ในครั้งนี้เเละเมื่อนำมาผสมผสานกับสิ่งที่เราทำอยู่จึงคิดว่าใช่เลย  เเละการทำงาน palliative care คนที่อยู่ตรงจุดนี้ใช้พลังใจในการทำงานที่สูง เเละพลังใจถ้าใช้ไปนานๆเเล้วไม่มีการเติมเต็ม พลังนั้นอาจจะหมดได้เเล้วใครล่ะที่จะมาเติมพลังใจให้เรา อาจารย์บอกว่าก็เรานี่เเหละที่จะเติมพลังใจให้ตัวเอง

 

เพลงของฝากจากภูเขา พลังใจสำคัญ

 

เดี่ยวกีตาร์โดย..อาจารย์ปริชวันเดี่ยวไมโครโฟนโดยอาจารย์ นวนันท์

ประสานเสียงโดยพวกเราผู้เข้าอบรมทั้งหมด

 

 

ขุมพลังใจของเราที่เราสร้างมันเเละเติมเต็มได้ตามที่เราต้องการ

มณฑลเเห่งพลังรู้ทางสร้างได้

สัมผัสด้วยใจ เล่าสู่กันฟัง เป็นการปิดการอบรมในครั้งนี้ด้วยความประทับใจ

 

หมายเลขบันทึก: 288883เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เสียดาย อ ศรีเวียงชวนเข้าร่วมด้วย แต่ติดธุระ มาตามอ่านจ๊ะ

P ดีมากๆเลยค่ะพี่เเก้ว กุ้งคิดว่าตัวเองโชคดีมากที่ได้เข้า workshop นี้เพราะกุ้งเองทำตรงนี้อยู่เเล้ว ความรู้ที่ได้รับก็ผสมผสานกับที่เรามีอยู่เเละต่อยอดในการให้การช่วยเหลือกลุ่มสูญเสียต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท