พรสวรรค์
นางสาว พรสวรรค์ แต้ว สุรพรสถิตกุล

การวิเคราะห์บุคคล (Person Analysis)


การวิเคราะห์บุคคล

การวิเคราะห์บุคคล  (Person Analysis)

             การวิเคราะห์บุคคล (person Analysis)  มีวัตถุประสงค์สองประการ  คือ  ประการแรก  เพื่อประเมินว่าผู้ปฎิบัติแต่ละคนมีความรู้  ทักษะ  และความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอยู่ในระดับหนึ่ง ประการที่สอง  เพื่อกำหนดว่าผู้ปฏิบัติงานเหล่านั้น   จะต้องพัฒนาความรู้  ทักษะ  และความสามารถ  อะไร  จึงจะทำให้การทำงนของพวกเขาดีขึ้น  (McGehee & Thayer, 1961) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  การวิเคราะห์บุคคลจะทำให้ทราบว่า  ใครจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม แ ละการฝึกอบรมนั้นคืออะไร  ผลองการวิเคราะห์จะช่วยให้ข้อมูลซึ่งมีความสำคัญสำหรับการวางแผนการฝึกอบรม  ทั้งนี้เพราะการฝึกอบรมที่ดีจะต้องคำนึงถึงลักษณะของผู้รับการอบรม  และจัดวางหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับลักษณะเหล่านั้น  นอกจากนั้น  การวิเคราะห์บุคคลยังมีความสำคัญในแง่ที่ใช้เป็นการประเมิน  ความสามารถในการรับการฝึกอบรม  (trainability) ของผู้ปฏิบัติงาน  ซึ่งหมายถึง  ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้  ความรู้  ทักษะ ของพฤติกรรมซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้  ความสามารถในการรับการฝึกอบรมของบุคคลหนึ่ง ๆ เป็นผลรวมของความสามารถเฉพาะตัวและระดับแรงจูงใจของบุคคลนั้น

 

            โดยทั่วไปแล้ว  การวิเคราะห์บุคคลเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย  (diagnosis) กล่าวคือ  การวิเคราะห์จะไม่เป็นเพียงการค้นหาว่าพนักงานทำงานได้ดีเพียงไรเท่านั้น  แต่ยังมุ้งค้นหาต่อไปอีกด้วยว่าเพราะเหตุใดพนักงานจึงทำงานได้ดีเพียงระดับนั้น  การวิเคราะห์จะพยายามค้นหาคำตอบว่า  การปฏิบัติงานที่ใช้ไม่ได้นั้น  เป็นผลมาจากขาดความรู้ ทักษะ  ความสามารถ  หรือเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก  ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของพนักงาน

            ดังนั้น  การวิเคราะห์บุคคลจึงประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญสองประการ  ขั้นตอนแรก  คือ  การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  ถ้าผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคนอยู่ในขั้นดีอยู่แล้ว  การฝึกอบรมก็อาจมุ่งเน้นการพัฒนาให้พนักงานมีความทันสมัยในด้านต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา  แต่ถ้าผลการปฏิบัติงานยังต่ำกว่ามาตรฐาน  ขั้นตอนต่อมาก็คือ  การค้นหาสาเหตุของปัญหานั้น  และกำหนดว่า  พนักงานผู้นั้นจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้   ทักษะ  หรือความสามารถด้านใด

หมายเลขบันทึก: 288648เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2009 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งนะคะ

การพัฒนาองค์กรที่ดีต้องวิเคราะห์บุคลากรในองค์กร...พี่แต่วสร้างสรรค์งานดีแต๋ ๆ

ขอบคุณนะคะสำหรับบทความที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ขอบใจนะจ๊ะที่แวะมาเยี่ยมชม

เป้นหลักการวิเคราะห์บุคคลที่ดีค่ะ แต่ต้องยึดหลักความถูกต้องนะคะ เพราะเคยเจอแบบว่า

ฉันอยากให้........... ฉันก็ให้

ฉันพอใจอะไร.......... ฉันก็ทำ

จะกลับไปวิเคราะห์ตนเองดูนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท