เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา


มาตรฐานการศึกษา

                                     

        เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา  แนวทางการพัฒนาโรงเรียน สู่ความเป็นเลิศด้านคุณภาพในทุกมิติ

        ขณะนี้  กลุ่มพัฒนาคุณภาพการจัดการมัธยมศึกษาตอนปลาย  สำนักงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กำลังดำเนินการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษาฯ  พ.ศ. 2552  เพื่อให้โรงเรียนได้ใช้เป็นคู่มือประเมินความจำเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ  ซึ่งจะช่วยให้โรงเรียนได้ประเมินตนเองเพื่อช่วยในการบริหารจัดการได้อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพโดยปัญหาต่างๆ  ที่มีอยู่ในโรงเรียน จะได้ดำเนินการวางแผนและแก้ไขได้ตรงจุด

       และเชื่อว่าข้อมูลที่ได้จากการประเมินทั้งการประเมินตนเองและคณะกรรมการที่สำนักงาน  การมัธยมศึกษาตอนปลาย   และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ตั้งขึ้น จะได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการสนับสนุนใช้โรงเรียนพัฒนาไปสู่มาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตรงกับสภาพความจำเป็นและความต้องการของโรงเรียน

                ผมได้เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการยกร่างเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษาในครั้งนี้  เห็นว่า กรอบการประเมินนี้ ครอบคลุมการกิจการบริหารงานในโรงเรียนทั้ง 4  ด้าน คือ

1.       การบริหารงานวิชาการ

2.       การบริหารงานบุคคล

3.       การบริหารงบประมาณ

4.       การบริหารทั่วไป

โดยภารกิจการประเมิน  มีทั้งสิ้น  8  เรื่อง ได้แก่

1.       งานแผนงานและการประกันคุณภาพ

2.       งานวิชาการ

3.       งานบุคคล

4.       งานกิจการนักเรียน

5.       งานธุรการ

6.       งานการเงิน+พัสดุ

7.       งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม

8.       งานชุมชนและภาคีเครือข่ายฯ

  

ในเรื่องของการประเมินนั้น  คณะทำงานฯ ได้วางการประเมินเป็น  3  ระดับ  คือ

                ระดับที่ 1   มองภาพรวมทั้งระบบโรงเรียน  (Whole  School  Approach)   โดยครอบคลุมภารกิจในโรงเรียน ที่ควรปฏิบัติ  8  ด้าน

                ระดับที่  2  มองภาพข้อกำหนดแต่ละด้าน  ให้ครอบคลุมวงจรคุณภาพ  PDCA

                ระดับที่  3  มองแนวทางการประเมินและการให้ระดับการปฏิบัติงาน

                ซึ่งเชื่อว่ามีการประเมินเกิดขึ้นในปีงบประมาณ  2553 (เริ่ม  1  ตุลาคม  2552 ) นี้สำนักงานการมัธยมศึกษาตอนปลายและกลุ่มส่งเสริมประสิทธิภาพมัธยมศึกษาตอนปลายทุกจังหวัด  จะมีโรงเรียนมัธยมศึกษาคุณภาพเกิดขึ้นอีกมากมายและจะมีวิธีปฏิบัติที่ดี  (Best  Practices) เกิดขึ้นภายในโรงเรียนอีกไม่น้อยเช่นกัน

                ผมหวังว่า  เอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2552  นี้จะเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการจัดการระดับมัธยมศึกษาต่อไป

                และเมื่อดำเนินการเรื่องนี้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ทราบว่า  ทาง ส.ม.ป/สพฐ. กำลังทำเอกสารคู่มือการจัดการห้องเรียนคุณภาพ  ในแนวทางการจัดห้องเรียนสู่มาตรฐานสากล  “World  Class”  ซึ่งจะนำให้โรงเรียนมีแนวทางการพัฒนาโรงเรียนให้ทัดเทียมกับนานาชาติในโอกาสต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 288482เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณเช่นเดียวกันที่ได้แจ้งข่าวความเคลื่อนไหว คงจะทำให้การดำเนินงานบริหารจัดการโรงเรียนมีเป้าหมาย ตัวบ่งชี้ชัดเจนในด้านคุณภาพ

การศึกษาไทย ก็คงจะมีแต่มัธยมเท่านั้นหรือที่จะยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทยได้ แต่ความจริงแล้ว รัฐบาลจะต้องสร้างฐานการศึกษาโดยเฉพาะในระดับประถมหรือขยายโอกาสให้มีความมั่นคง เพราะมัธยมปลายส่วนใหญ่ก็มีมาตรฐานอยู่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท