Why Women Cry : ตลอดชีวิตนี้ผู้หญิงต้องเสียน้ำตาสะสม ๑๖ เดือน หรือกว่า ๑๒,๐๐๐ ชั่วโมง


Why Women Cry : We discovered in one of our recent polls that emotional women will spend 1.3 YEARS of their life crying. (www.thebabywebsite.com)


เมื่อสักครู่นี้ เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ พบหัวข้อข่าวน่าสนใจว่า

ตลอดชีวิตนี้นารีเสียน้ำตาสะสม 16 เดือน
 
เนื้อข่าวระบุว่า นี่อาจเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า ตลอดชั่วชีวิตผู้หญิงร้องไห้รวมเวลาสะสมได้เฉลี่ย ๑๖ เดือน

 การสำรวจความคิดเห็นผู้หญิง ๓,๐๐๐ คนที่จัดทำโดย www.TheBabyWebsite.com ยังพบว่าหลังจากอายุ ๑๙ ปี ผู้หญิงยังร้องไห้สัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง ๑๔ นาที


ภาพจาก http://www.thebabywebsite.com/article.1988.Why_Women_Cry.htm


ในช่วงปีแรกหลังลืมตาดูโลก ทารกเพศหญิงน้ำตาร่วงกันวันละสามชั่วโมง เมื่ออยากเปลี่ยนผ้าอ้อม หิว หรืออยากให้คนมาเล่นด้วย

ระหว่างอายุ ๑-๓ ขวบ เด็กหญิงจะร้องไห้วันละ ๒ ชั่วโมง ๑๕ นาที สาเหตุใหญ่คือหกล้ม เพลีย และผู้ใหญ่ห้ามไม่ให้ซน

เมื่อเป็นวัยรุ่น เด็กหญิงต้องเสียน้ำตาเฉลี่ยสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง ๑๓ นาที หลักๆ เนื่องจากฮอร์โมน ทะเลาะกับเพื่อน ถูกแฟนทิ้ง และถูกกักบริเวณ

เมื่ออายุระหว่าง ๑๙-๒๕ ปี แค่หนังซาบซึ้งสะเทือนอารมณ์ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้สาวๆ ต้องหาทิชชู่มาซับน้ำตา เช่นเดียวกับการตัดสินใจไม่ได้เด็ดขาดกับเรื่องราวความสัมพันธ์ระยะยาว และการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

หลังวัยเบญจเพส สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้หญิงน้ำตาตกมากที่สุดมาจากเรื่องราวทางอารมณ์ล้วนๆ เช่น การทะเลาะกับแฟน ได้ยินข่าวร้ายของคนอื่น และรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนแรง

ทั้งหมดนี้ทำให้ตลอดชีวิตผู้หญิงต้องร้องไห้รวมเป็นเวลาทั้งสิ้นกว่า ๑๒,๐๐๐ ชั่วโมงโดยเฉลี่ย

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กเล็กร้องไห้เพราะหกล้ม แต่งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงโตแล้ว ผู้หญิงเราก็ยังไม่เลิกร้องไห้ และหนึ่งในสาเหตุที่พบทั่วไปทั้งในวัยผู้ใหญ่และวัยทารกคือ ความเหนื่อยล้า

แต่ในวัยผู้ใหญ่ มีปัญหาอื่นๆ ที่หนักหนากว่า เป็นต้นว่าเรามีแนวโน้มจะเสียน้ำตาให้กับสิ่งต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น รวมถึงสิ่งที่มีผลต่อเราโดยตรง เช่น ข่าวร้าย เรื่องเกี่ยวกับพ่อแม่ และข่าวที่มีประเด็นน่าเป็นห่วง แคทรีน ครอว์ฟอร์ด จากเดอะ เบบี้ เว็บไซต์ บอก


ภาพจาก http://www.thebabywebsite.com/article.1988.Why_Women_Cry.htm

 

เมื่อกล่าวโดยสรุป ต่อไปนี้คือ Top 5 ของการหลั่งน้ำตาในแต่ละช่วงวัยครับ

สาเหตุหลักที่ทำให้เสียน้ำตาเมื่ออายุ ๐-๑ ปี
- หิว
- เหนื่อยล้า
- เป็นวิธีเดียวในการสื่อสาร
- ไม่สบายตัวอยากเปลี่ยนผ้าอ้อม
- ไม่สบาย
     
สาเหตุหลักที่ทำให้เสียน้ำตาเมื่ออายุ ๑-๓ ปี
- ทำตัวเองเจ็บ
- เหนื่อยล้า
- หกล้ม
- อยากได้บางอย่าง
- ผู้ใหญ่บอกให้เลิกซน
     
สาเหตุหลักที่ทำให้เสียน้ำตาเมื่ออายุ ๔-๑๒ ปี
- ผู้ใหญ่บอกให้เลิกซน
- ทำตัวเองเจ็บ
- ไม่สบาย
- เหนื่อยล้า
- ทะเลาะกับเพื่อน
      
สาเหตุหลักที่ทำให้เสียน้ำตาเมื่ออายุ ๑๓-๑๘ ปี
- ฮอร์โมน
- ทะเลาะกับเพื่อน
- ถูกแฟนทิ้ง
- ถูกกักบริเวณ
- พบคนที่น่ากลัว
      
สาเหตุหลักที่ทำให้เสียน้ำตาเมื่ออายุ ๑๙-๒๕ ปี
- หนังซาบซึ้งสะเทือนอารมณ์
- ถูกแฟนทิ้ง
- สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
- ตัดสินใจไม่ได้เรื่องความสัมพันธ์ระยะยาว
- มีลูก
     
สาเหตุหลักที่ทำให้เสียน้ำตาเมื่ออายุ ๒๖ ปีขึ้นไป
- หนังซาบซึ้งสะเทือนอารมณ์
- ทะเลาะกับแฟน
- สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
- เหนื่อยล้า
- ได้รับรู้ข่าวร้ายของคนอื่น

 

เห็นข้อมูลอย่างนี้แล้ว ผมเข้าใจว่าแต่ละกลุ่มที่เกี่ยวข้องคงได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ตามสมควร
นักธุรกิจ/การตลาด ก็อาจเห็นช่องทางทำมาหากินในแต่ละช่วงวัย
นักจิตวิทยา/สังคมสงเคราะห์/ให้คำปรึกษา ก็อาจพัฒนาเครื่องมือให้เหมาะควรกับแต่ละช่วงวัย
คุณผู้ชาย ก็อาจมีส่วนในการดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยลดปริมาณชั่วโมงและน้ำตาของหญิง (ใกล้ตัวลงด้วย)

นักสิทธิสตรี/ป้องกันและยุติความรุนแรงกับหญิงและเด็ก ก็อาจพิจารณาถึงกระบวนการในการป้องกันและลดจำนวนชั่วโมงของการร้องไห้

ฯลฯ

โดยส่วนตัวแล้ว พอได้ข้อมูลนี้แล้ว ก็ทำให้หวนคิดถึงหนังสือ ปรัชญาอินเดียสังเขป = Outlines of Indian Philosophy โดย เอ็ม หิริยัยยะ แปลโดย วิจิตร เกิดวิสิษฐ์ เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาในรายวิชาปรัชญาอินเดีย ในหนังสือเล่มนี้ มีข้อความที่จดจำมาโดยตลอดทำนองว่า  ถ้านับแต่เมื่อโลกนี้ถือกำเนิด เราอาจเห็นปริมาณน้ำตาได้มากกว่าน้ำในมหาสมุทร...


ผมได้ A เชียวนะครับวิชานี้ ไม่ได้โม้
(ฮา)


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- เว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9520000093224
- Why Women Cry : http://www.thebabywebsite.com/article.1988.Why_Women_Cry.htm

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 288393เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท