สารสนเทศ


ความรู้
สารสนเทศ

คำจำกัดความ "สารสนเทศ"

ในภาษาไทย คำว่า "ข้อมูลข่าวสาร" "สารนิเทศ" และ "สารสนเทศ" มีความหมายเดียวกัน และตรงกับคำว่า Information โดยความหมายของคำทั้งสาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. 2525 ยังไม่ได้เก็บ คงเก็บแต่ความหมายของ "ข้อมูล" ไว้ดังนี้

ข้อมูล น. ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นความจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ

สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ได้ให้ความหมายว่า

    • an information or being informed; esp., a telling or being told
    • news; word
    • knowledge acquired in any manner; facts; data
    • a person or agency answering questions as a service to others
    • any data stored in a computer

ความหมายข้างต้น ยังไม่ตรงกับความหมายที่ใช้ในวงการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศนัก

อย่างไรก็ตาม สามารถสรุปคุณลักษณะสำคัญของ สารสนเทศ ได้ 3 ประการ คือ

    • เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
    • มีรูปแบบที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้
    • มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงาน หรือตัดสินใจ

Information

การประมวลผลข้อมูล เช่น

    • การจัดเรียง เช่น เรียงชื่อพนักงานจาก ก ไปหา ฮ
    • การหาค่าเฉลี่ย เช่น หาค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของนักเรียน
    • การเปรียบเทียบ เช่น การนำคะแนนเฉลี่ยมาเปรียบเทียบระหว่างระหว่างสองกลุ่ม
    • การหาแนวโน้ม เช่น การนำคะแนนรวมของเด็กคนหนึ่ง มาพิจารณาตั้งแต่เรียน จนถึงชั้นปัจจุบัน ว่าพัฒนาการอย่างไร เป็นต้น

สำหรับ "ข้อมูล" ในทางปฏิบัติ คือ สิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฎการณ์ การกระทำ หรือลักษณะต่างๆ ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์ พืช แล้วบันทึกจดเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ หรือกล่าวได้ว่า ข้อมูล คือ สิ่งที่แสดง หรือเป็นตัวแทนของโลกนั่นเอง

                                                                                                                                                                              

 

ซิป วงจรรวม ไมโครโปรเซสเซอร์

ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ "คอมพิวเตอร์" และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือสื่อสารต่างๆ มีพัฒนาการ และความก้าวหน้าอย่างสูง ในปัจจุบัน มาจาก "การวิจัยค้นคว้าทางด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งเป็นความพยายามอย่างสูง ที่จะหาทางผลิตวงจรที่มีขนาดเล็ก โดยใช้วัสดุแบบใหม่ ที่ทำงานได้ทนทาน และเชื่อถือได้ ซึ่งเริ่มจากการลดขนาดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ๆ เช่น หลอดอิเล็กทรอน ที่มีขนาดใหญ่ และมีความร้อนสูง เป็น "ทรานซิสเตอร์" ในปี 1918 และพัฒนาเป็น "วงจรรวม" ในปี 1960

Chip

ทรานซิสเตอร์ และวงจรรวม ต้องอาศัยวัสดุสำคัญ ที่เรียกรวมๆ ว่า "สารกึ่งตัวนำ" อันเป็นสารที่มีคุณสมบัติกึ่งกลาง ระหว่างตัวนำไฟฟ้า เช่น ทองแดง กับฉนวนไฟฟ้า เช่น แก้ว สารกึ่งตัวนำนี้ จะถูกสั่ง เพื่อควบคุมให้มีคุณสมบัติกลับไปกลับมาระหว่าง การเป็นตัวนำไฟฟ้า กับฉนวนไฟฟ้า ด้วยคุณสมบัตินี้ ทำให้นำไปทำเป็นสวิตซ์ขนาดเล็ก สำหรับควบคุมกระแสไฟฟ้า และทำให้เกิดเป็นวงจรที่ซับซ้อนได้

Chip

                                                                                                                                                                              

ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-house

ระบบคลังข้อมูล หรือ Data Ware-house คือ ระบบการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ที่มีอยู่ในระบบปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร (มักเป็นองค์กรขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ เช่น กรมสรรพสากร) โดยข้อมูลเหล่านั้นมักเป็นข้อมูลกระจัดกระจาย ให้มารวมไว้เป็นศูนย์กลางข้อมูล ขององค์กร และสามารถเก็บข้อมูลย้อนหลังได้หลายๆ ปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) หรือใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยการวิเคราะห์ต้องทำได้แบบหลายมิติ (Multidimentsional Analysis) ตลอดจนการวิเคราะห์ทางธุรกิจ เช่น การพยากรณ์ (Forecasting), What-If Analysis, Data Mining เป็นต้น

องค์ประกอบสำคัญ

  • เครื่องมือในการดึงข้อมูล (Data Extract/Cleansing) จากแหล่งข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ระบบปฏิบัติการต่างๆ ขององค์กร เพื่อจัดสร้างคลังข้อมูล
  • เครื่องมือในการเข้าไปเรียกค้นข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (Front End Tool)
  • โครงสร้างของ Hardware Platform, Database, Networks, Implement Teams

สำหรับซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์ข้อมูล ที่ใช้งานในปัจจุบัน เรียกว่า ซอฟต์แวร์ระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบ On Line Analytical Processing (OLAP) ซึ่งปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือก OLAP ได้แก่

  • ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายมิติ (Multidimensional Analysis)
  • สถาปัตยกรรมแบบ Client/Server
  • ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล และความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ (Performance Data Access)
  • เครื่องมือในการพัฒนาระบบ (Application Development Tools)
  • การดึงข้อมูล (transformation) จากแหล่งต่างๆ เช่น ระบบคลังข้อมูล, Flat File, Spreadsheet
  • ความสามารถในการจัดลำดับชั้นของข้อมูล (Hierarchy)
  • เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Forecasting, Statistic, Data Mining

                                                                                                                                                                              

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2882เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2005 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท