สมรรถภาพทางกายกับชีวิตประจำวัน


มนุษย์มีการใช้กล้ามเนื้อและพลังงานในร่างกายลดปริมาณลงมาก ทำให้สมรรถภาพทางกายลดลงเป็นผลทำให้ความแข็งแรงและความต้านทานโรคลดลง

ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ของมนุษย์มากยิ่งขึ้น มนุษย์พยายามค้นหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่การดำเนินชีวิต ในขณะเดียวกันสิ่งที่มนุษย์พยายามพัฒนานั่นส่งผลให้ มนุษย์มีการใช้กล้ามเนื้อและพลังงานในร่างกายลดปริมาณลงมาก ทำให้สมรรถภาพทางกายลดลงเป็นผลทำให้ความแข็งแรงและความต้านทานโรคลดลง ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบหายใจและการไหลเวียนโลหิต ความแคล่วคล่องว่องไว และความอ่อนตัวของคนไทย เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน และค่าเฉลี่ยของต่างประเทศ จะแตกต่างกันตามวัย คือ ในวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยชรา ค่าเฉลี่ยจะค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และต่ำกว่าชาวญี่ปุ่นและสวีเดนอย่างเห็นได้ชัด จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นกีฬา ในปี พ..2530 พบว่า ประชากรช่วงอายุ 6 – 24 ปี จะมีการออกกำลังกายและเล่นกีฬาถึง 88 % ส่วนประชากรช่วงอายุ 25 ปีขึ้นไป มีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพียง 12 % เท่านั้น (อาจจะเป็นสถิติเก่าแต่แนวโน้มในปัจจุบันก็ยังเป็นในทำนองนี้ไม่แตกต่างกันมากนัก)

แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมสมรรถภาพของประชาชนไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ยังขาดการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ดังนั้นจึงต้องมีการรณรงค์ และพัฒนาสุขภาวะ ของประชาชนชาวไทยอย่างเร่งด่วน ด้วยการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา เพื่อเพิ่มสมรรถนะของร่างกายให้มีประสิทธิภาพ ต่อไปได้อย่างดีในภาวะที่สิ่งแวดล้อมของโลกกำลังมีปัญหา ซึ่งนำพาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องมีเกราะป้องกันตัวให้มีภูมิคุ้มกันด้วยการทำให้ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง เพราะโรคต่าง ๆ ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ ฉะนั้นมนุษย์เราก็ต้องพัฒนาตนเองให้เหนือกว่าให้จงได้

หมายเลขบันทึก: 287859เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 05:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ เป็นประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท