39.เติมเต็มความรู้ ฝึกฝนทักษะ เพื่องาน Bereavement care (ตอนที่1)


workshop Bereavement Counseling and team empowerment

เมื่อวันที่ 13 -14  สิงหาคม ที่ผ่านมาฉันมีโอกาสได้เข้าร่วมอบรม workshop Bereavement Counseling  and team empowermentจัดขึ้นโดย เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในภาคอีสานซึ่งมีท่านอาจารย์ รศ.พญ.ศรีเวียงเป็นประธาน  โดยงานที่ทำอยู่ปัจจุบันก็ทำหน้าที่ให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สูญเสียจึงคิดว่าการได้เข้าอบรมในครั้งนี้ถือเป็นการต่อยอดความรู้เเละฝึกฝนทักษะเพื่อพัฒนาตัวเองให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น

          วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ในครั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจผลกระทบจากการสูญเสียต่อครอบครัวเเละพัฒนาการสื่อสารเเละการให้คำปรึกษา ที่สำคัญเพื่อให้เราซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือครอบครัวสูญเสียทบทวนประสบการณ์ภายในตนเองจากการทำงานเพื่อการตระหนักรู้ ยอมรับเเละสามารถเสริมพลังใจให้กับตนเองเเละเพื่อนร่วมงานอันจะส่งผลเชิงบวกต่อการสื่อสารเเละการดูแลผู้ป่วย วิทยากรได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์พญ. ปริชวัน จันทร์ศิริ จากหน่วยจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลจุฬาฯ เเละอาจารย์นวนันท์ จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะเเพทย์ของเรานี่เอง

       การอบรมไม่ใช่เป็นการนั่งฟัง lecture เเต่เป็นการชวนคิด ชวนวิเคราะห์ เรียนรู้ผ่านตัวผู้คน ผ่านเพื่อนผู้เข้าอบรมด้วยกันเเละผสมผสานความรู้ที่เรามีอยู่เดิม  วันเเรกของกิจกรรมมีหัวข้อที่เราจะเรียนรู้ดังนี้

  • พบหน้าทักทายรู้จักผู้คน

  • เชื่อมโยงเห็นผลจากการสูญเสีย

  • เเลกเปลี่ยนประสบการณ์มองผ่านได้คิด

  • เส้นทางชีวิต

  • ลิขิตจากใจ

  • อ่านเล่าเข้าใจ

  • ปันให้กันเรียน

จากซ้าย พี่คำหยาด วิทยากร อ. ปริชวัน และฉัน

หัวข้อเเรก พบหน้าทายทักรู้จักผู้คน เราได้ทำอะไร อาจารย์ให้ทุกคนหลับตาพร้อมจินตนาการไปถึงที่ที่เราปรารถนา ที่ที่เราอยากจะไปหรือจะเป็นที่ที่เรารู้สึกว่าที่ตรงนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเราจะเป็นที่ที่มีอยู่จริงหรือเป้นจินตนาการก็ได้ เมื่อนึกได้เเล้วให้ทุกคนลืมตาพร้อมกับ วาดภาพที่เราคิดว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยนั้น

ทุกคนต่างขมีขมันสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ตัวเอง

 

พยาบาลน้องใหม่เอี่ยมอ่องจาก ward ฉันเอง น้องกุ๊ก

น้องใหม่ น้องเเนน น้องก้อย

 

พื้นที่ปลอดภัยของฉัน

เมื่อทุกคนวาดภาพเสร็จเเล้วอาจารย์ให้เรา share ว่าที่ตัวเองวาดคืออะไรฉันจึงลุกขึ้นเเละเล่าว่าที่ที่ตัวเองชอบมากที่สุดคือชอบดูพระอาทิตย์ตกดินและที่ที่มีเเต่ความเป็นธรรมชาติมีต้นไม้สีเขียว จึงนึกถึงวังน้ำเขียวเพราะพึ่งไปมาเเละอยากไปอีกอยากไปดูพระอาทิตย์ตกดินที่ผาเก็บตะวันพร้อมหน้าครอบครัว

 

 

 

 

     อาจารย์บอกให้ทุกคนเพ่งมองไปที่ภาพเเล้วให้ใส่ตัวเองลงไปตรงนั้นฉันจึงใส่รูปหัวใจลงไปเพราะถ้าเปรียบตัวเองจะเป็นคนที่ทำอะไรด้วยใจเเละทุ่มเททั้งใจกับสิ่งที่ทำในทุกเรื่องโดยเฉพาะเรื่องที่เราถนัดเเละมีใจรักที่อยากจะทำงานนั้น ผลของงานก็จะออกมาดี อาจารย์ถามว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไร  ฉันตอบว่ารู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากที่ได้เข้าอบรมในครั้งนี้เพราะจะได้นำความรู้ไปต่อยอดเเละพัฒนางาน การดูแลครอบครัวสูญเสียที่ทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

      เเละเมื่อถามทุกคนว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อเพ่งมองภาพที่ตัวเองวาด ต่างก็ตอบ ว่ารู้สึกผ่อนคลาย สบาย โล่ง ปลอดภัย เปิดใจ  อยากพักผ่อน  บางท่านพื้นที่ปลอดภัยคือบ้านในฝัน บ้านในอนาคตมีภาพ พ่อเเม่ลูก บางท่านวาดภาพท้องทุ่งนาที่ตัวเองเคยอยู่ในวัยเด็ก บางท่านก็วาดภาพบ้านในปัจจุบันมีต้นไม้ในบ้าน มีภาพตัวเองอาบน้ำอย่างมีความสุข

       สรุปบทเรียนรู้เเรก อาจารย์บอกว่าภาพของเเต่ละคนมีทั้งปัจจุบัน อดีต เเละอนาคต ทุกอย่างล้วนมีอิทธิพลกับเรา ณ เวลานี้ ขอให้เก็บภาพติดตัวไว้ตลอดการอบรม 2 วันนี้เพราะเราจะได้ใช้ตลอดการอบรมเพราะนี่คือการเตรียมตัวเองให้มั่นคง stabilize คือการดึงเอาขุมพลังหลายอย่างที่มั่นคงที่เราสร้างมันขึ้นมาเองเพื่อช่วยให้เรานั้นหนักเเน่นเมื่อต้องเจอกับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาในชีวิตไม่ว่าจะดีหรือร้าย

บทเรียนรู้ที่ 2 เชื่อมโยงเห็นผลจากการสูญเสีย ผู้ดูแลจะต้องทราบว่าการรับรู้และเข้าใจความตายของเด็กเเต่ละวัยคืออะไร

เด็กวัยทารก มีปฏิกิริยาต่อความตายคือการตอบสนองของร่างกายทุกส่วนที่มี

เเต่จะไม่ใช้คำพูด เเต่จะร้อง

เด็กวัยอนุบาล เข้าใจว่าความตายเป็นเพียงการนอนหลับ

เด็กวัยเรียน เริ่มเข้าใจความตายเเละรู้ว่าตัวเองต้องตายในวันหนึ่ง 10ขวบจะ

ชัดเจนมากขึ้น

เด็กวัยรุ่น เข้าใจความตายเหมือนผู้ใหญ่เเล้ว

สำหรับเราเมื่อพูดถึงความตายเเต่ละคนคิดอย่างไร ทุกคนที่เข้าอบรมก็ช่วยกันบอกเล่าความรู้สึกที่มีต่อความตาย

    สูญเสีย  หมดลมหายใจ เปลี่ยนที่อยู่ใหม่  โอกาสในการพัฒนาจิต

    ทุกคนต้องตาย  กลัว  พลัดพราก  อนาคตยังมาไม่ถึง  ไม่อยากให้มาถึง

ความเจ็บป่วยมีผลกระทบต่อใครบ้างมีผลกระทบต่อทั้ง ครอบครัว ลูกป่วยพ่อเเม่ทุกข์ ผู้รักษา ความสูญเสียมี ผลกระทบต่อใครบ้างนอกจากเป็นความสูญเสียของครอบครัวเเล้วก็เป็นความสูญเสียของทีมผู้ดูแลเช่นกัน

grief proces ที่อลิซาเบซ คูเบอร์ลอสได้กล่าวไว้มี 5 ขั้น

     1. shock ตกใจ ไม่เชื่อ เป็นกลไกหนึ่งที่เขาใช้ป้องกันตนเอง

     2. Anger โกรธตัวเอง โกรธทีมผู้รักษาเเละรู้สึกผิด guilt

     3. bargain ต่อรอง

     4. Depress ซึมเศร้า

     5. Acceptance ยอมรับ

ทั้ง 5 process อาจไม่ได้เกิดตามลำดับ 1 2 3 4  5เเต่อาจาจเกิดกลับไปกลับมาหรือเกิดพร้อมกัน หรือเกิดทีละ process ค่ะซึ่งดูแล้วเเต่ละ process คือการที่ผู้สูญเสียค่อยๆไต่บันไดลงมาเเละระหว่างทางที่ไต่ลงมาเพื่อให้ถึงจุดยอมรับได้นั้นก็มีการผ่อนพักตร์ ค่อยๆก้าวช้าๆไม่เร่งกระบวนการเราในฐานะทีมการดูแลเราทำอะไร เราก็เป็นมิตรกับเขา อยู่กับเขา เป็นเพื่อนเดินทางเเละยอมรับในทุก process ที่เขายังไม่สามารถผ่านได้ เราต้องอยู่เคียงข้างเขา

บทเรียนรู้ที่ 3 แลกเปลี่ยนประสบการณ์มองผ่านได้คิด บทนี้เป็นการเล่าเรื่องประสบการณ์ของผู้เข้าอบรมที่เคยได้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมา ครูพรครูโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตเด็กป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งอยู่ในทีมเดียวกัน ขอเล่าเรื่องคนไข้เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งอาย 19 ปีเเต่เขาต้องมาป่วยด้วยโรคมะเร็งรักษาอยู่ 6 ปีโรคกำเริบเเละเข้าสู่ระยะสุดท้าย ในช่วงท้ายเขาจะเป็นเด็กที่ค่อนข้างเก็บตัว เเละจะเล่าความรู้สึกทุกอย่างให้ครูพรฟังว่าเขารู้สึกอย่างไรในตอนนี้วันที่มาฟังข่าวร้ายมาคนเดียวเเม่ก็ไม่ได้มาด้วยความรู้สึกเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังจะตายนั้นมันสุดจะบรรยาย ส่วนเเม่ในช่วงท้ายก็พยายามทำอย่างดีที่สุด เเต่เมื่อเห้นลูกทรมานมากเเล้วก็คิดว่าลูกน่าจะตายซะ จะได้หมดทุกข์ ไม่ทรมานพูดไปเเล้วตัวเองก็รู้สึกผิด อาจารย์วิเคราะห์ได้ดังนี้

สิ่งที่เราค้นพบจากเด็กคนนี้ คือคนที่ไกล้ตายรู้สึกอย่างไร

โดยเฉพาะเขาเป็นเด็กผู้ชายวัยรุ่น

 

 ความรู้สึกของเเม่ผู้ที่กำลังสูญเสีย

จบบทเรียนภาคเช้าพักทานอาหารกลางวัน

เเล้วมาดูบทเรียนต่อไปในภาคบ่ายนะคะในบันทึกต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 287451เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2009 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาเติมพลังค่ะ

เป็นบทความที่ให้ทั้งความรู้ และข้อคิด

ขอบคุณค่ะ

มาเยี่ยม มาชม

และมาพัฒนาจิตค่ะ(โอกาสในการพัฒนาจิต)

โชคดีค่ะ

  • Bereavement counseling
  • ต้องใช้ทักษะขั้นสูง ซึ่งต้อง well trained, need practice จึงจะทำได้ดี
  • และจะยั่งยืนหากทำด้วยใจมิใช่เพียงแค่หน้าที่
  • YOU HAVE DONE ALL the best ค่ะ

มาติดตามอ่าน

นะคะ พี่ไก่เริ่มจะเข้าใจงานของกุ้งแล้วนะคะหลังจากที่มีผู้ป่วย H1N1 เสียชีวิต

สวัสดีค่ะ

อ่านและคิดตามไป 

รู้สึกเศร้าๆค่ะ

สวัสดีครับคุณสุธีรา

ความเห็นผมคิดว่า bereavement เป็น healing process อย่างหนึ่งของมนุษย์ บางคนแผลก็หายดี บางทีก้มีแผลเป้น บางคนเป้นแผลติดเชื้อเรื้อรัง...แต่แน่ๆ การเตรียม-ดูแลผุ้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี...มีผลต่อ bereavement ในทางที่ดี (ผลย่อมมีเหตุปัจจัย)

P ขอบคุณพี่ครูต้อยที่เเวะมาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีพี่ครูจิ๋วค่ะ ขอบคุณที่มาพัฒนาจิตด้วยกันค่ะ

P ขอบคุณพี่เกศค่ะสำหรับกำลังใจเเละทุกสิ่งอย่าง

ขอบคุณค่ะพี่ไก่งาน bereavement ทำได้ทุกพื้นที่ที่มีความสูญเสียค่ะ

ชัดเจนถูกต้องเลยค่ะคุณหมอโรจน์ ขอบคุณนะคะ

 "ความเห็นผมคิดว่า bereavement เป็น healing process อย่างหนึ่งของมนุษย์ บางคนแผลก็หายดี บางทีก็มีแผลเป็น บางคนเป็นแผลติดเชื้อเรื้อรัง...แต่แน่ๆ การเตรียม-ดูแลผุ้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี...มีผลต่อ bereavement ในทางที่ดี (ผลย่อมมีเหตุปัจจัย)"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท